Page 69 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 69
68 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
2.3 ความเชื่อมโยงชุมชน (Community Model)
แนวคิดจิตอาสาและการพัฒนาระบบอาสาสมัครเครือข่ายการดูแลโดยชุมชน
จิตอาสาเป็นเอกลักษณ์ของโมเดลวัดค�าประมง โดยเปิดกว้างรับบุคคลและภาคส่วนที่หลากหลายมา
มีส่วนร่วมในการสนับสนุนและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งและญาติผู้ดูแล ด้วยเมตตาจิตที่มีต่อผู้ป่วยผู้ทุกข์ยาก
หลวงตาท่านจึงอนุเคราะห์ให้ผู้ป่วยสามารถพักรักษาตนเองและปฏิบัติธรรมอยู่ในวัด โดยก�าหนดให้มีสมาชิก
ในครอบครัวมาช่วยดูแลด้วย ซึ่งเป็นกุศโลบายที่แยบคายที่สร้างความอบอุ่นเข้มแข็งให้กับทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยด้วย
เมื่อมีจ�านวนผู้ป่วยมากขึ้นหลวงตาได้มีวิสัยทัศน์ที่จะเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่ปรารถนาจะท�าความดี
ช่วยเหลือผู้ป่วยจึงได้ก่อตั้งอโรคยศาล หรือ สถานอภิบาลพักฟื้นผู้ป่วยด้วยสมุนไพรตามธรรมชาติจนกว่าอาการของ
ผู้ป่วยจะทุเลาหรือหมดสิ้นไปด้วยวิถีแห่งธรรมะและธรรมชาติบ�าบัดหรือการแพทย์แบบองค์รวม (มูลนิธิอภิญญาณ
อโรคยศาล, 2551) และมีแนวคิดที่จะจัดท�าโครงการจิตอาสาอย่างน้อยปีละ 1 วัน นับแต่ปีพ.ศ. 2548 เป็นต้นมา
ด้วยท่านพิจารณาเห็นว่า “หลวงตาต้องการเห็นความเปลี่ยนทรรศนะที่ว่าชีวิตไม่ใช่ท�าเพื่อส่วนตัวและครอบครัว
เท่านั้น ควรท�าเพื่อคนอื่นบ้าง แม้ปีละวันเดียว ก็น่าจะท�าได้” จึงเกิดโครงการจิตอาสาเพียงปีละ 1 วัน
โดยท่านได้เปิดโอกาสให้จิตอาสาจากทุกสาขาอาชีพ หรือบุคคลที่มีความสามารถด้านใดด้านหนึ่ง หรือมีใจรัก เมตตา
ต่อเพื่อนมนุษย์มาร่วมสรรสร้างท�าความดีเป็นจิตอาสาได้อย่างหลากหลายรูปแบบตามความรู้ความสามารถของตน
ตามความสะดวกและความถนัด โดยปราศจากอคติและข้อจ�ากัดในเรื่อง เพศสภาพ วัยวุฒิ คุณวุฒิ เชื้อชาติ ศาสนา
ดังนั้นกิจกรรมจิตอาสาจึงเป็นศูนย์รวมของบุคคลจากหลากหลายอาชีพและภูมิหลังที่มา แต่มีจุดร่วมรวมกันคือ
ความศรัทธาในองค์หลวงตาและปณิธานท่าน นั่นคือ จิตใจที่ปรารถนาจะเสียสละช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากอย่างปราศจาก
เงื่อนไข (Suk-erb, 2014)
กระบวนการจิตอาสา จึงเป็นกระบวนการส�าคัญและเป็นอัตลักษณ์ในการดูแลผู้ป่วยโมเดลวัดค�าประมง
หลวงตาท่านให้ความส�าคัญกับจิตอาสามาก ที่จะต้องยืนหยัดอยู่บนการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์
(Humanized Care) โดยจิตอาสาประกอบด้วยบุคลากรทางด้านการแพทย์ พยาบาล สารธารณสุข หรือบุคคลจาก
หลายสาขาวิชาชีพ หรือแม้แต่ผู้ป่วยเองก็สามารถที่จะเป็นจิตอาสาดูแลผู้ป่วยด้วยกันได้ ตามเจตนารมณ์ที่มีหัวใจ
ที่พร้อมจะมอบความรักและความเมตตาให้กับผู้อื่นอย่างไม่หวังผลหรือสิ่งตอบแทนใดๆ (มูลนิธิอภิญญาณอโรคยศาล,
2551)
ความเชื่อมโยงความร่วมมือและการสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย ชุมชน จิตอาสาและครอบครัว
(1) ความร่วมมือกับโรงพยาบาล
อโรคยศาล วัดค�าประมงคงไว้ซึ่งเจตนารมณ์ที่จะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คิด
ค่าใช้จ่าย และการเปิดกว้างที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันทางการแพทย์ การศึกษา วิจัย และองค์กร
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการจัดการกับมะเร็งแบบองค์รวมแบบยั่งยืน
ทั้งระดับชุมชน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีกุศลเมตตาจิตที่จะมาช่วยเป็น
จิตอาสาตามความรู้ความสามารถของตนได้สามารถใช้ศักยภาพที่ตนมีในการสร้างคุณความดีแก่เพื่อนมนุษย์
อโรคยศาลวัดค�าประมงได้สร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาลในจังหวัดสกลนครทั้ง 17 แห่ง ได้มีการ
แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การน�านิสิต นักศึกษามาช่วยดูแลผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนการศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนา
สุขภาวะของผู้ป่วยและญาติแบบองค์รวม หากญาติและผู้ป่วยประสงค์ที่จะมีการรักษาต่อ หรือรักษาควบคู่ไปกับแพทย์
แผนปัจจุบัน มีการปรึกษากับสหวิชาชีพ และผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตนได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า
อโรคยศาลวัดค�าประมงมีการพัฒนาบริการจนเป็นเอกลักษณ์โดยไม่ได้แยกตัวออกจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน
หรือโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและทางเลือกอื่นๆ และได้เปิดโอกาสในการผนวกความเข้มแข็งในการให้บริการ
ด้วยการสร้างความร่วมมือกับสหวิชาชีพบนหลักมัชฌิมาปฏิปทาและเมตตาธรรมโดยยึดประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นส�าคัญ
นอกจากนี้ยังมีบุคลากรจากโรงพยาบาลและวงการสาธารณสุข ตลอดจนสถาบันการศึกษา การฝึกพัฒนาแพทย์และ
บุคลากรทางสาธารณสุขทั้งแผนปัจจุบัน แผนไทยและทางเลือก ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มาศึกษาดูงานและ
แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการวิจัยอย่างต่อเนื่อง