Page 71 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 71

70       คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)



            สถานที่ให้เหล่าจิตอาสาได้ใช้ศักยภาพความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ น�ามาซึ่งความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วม
            ของตนเองและพัฒนาเพิ่มพูนความเชี่ยวชาญขึ้นไปอีกเป็นล�าดับ
                    ทั้งนี้บุคคลที่เป็นเครือข่ายจิตอาสาส่วนหนึ่งก็คือตัวผู้ป่วยเองหรือญาติ เมื่อมีสุขภาพที่แข็งแรงดีขึ้นผู้ป่วย
            หลายต่อหลายคนกลับมาท�าหน้าที่เป็นจิตอาสาที่วัดค�าประมง เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การเผชิญหน้ากับมะเร็งและ

            ก้าวข้ามช่วงวิกฤตหนึ่งของชีวิตมาอย่างเข้มแข็งได้อย่างไร ส่วนญาติผู้ป่วยในระหว่างที่ร่วมดูแลผู้ป่วยต่างก็ยินดี
            ที่จะท�าหน้าที่เป็นจิตอาสาช่วยงานต่างๆ ที่ตนพอท�าได้อย่างพร้อมเพรียง และแม้เมื่อเดินทางกลับภูมิล�าเนาก็ยังคง
            กลับมาเยี่ยมเยียนอโรคยศาลวัดค�าประมง เพื่อบ�าเพ็ญบุญและเป็นจิตอาสาตามวาระและโอกาส นอกจากนี้จิตอาสา
            เหล่านี้ได้ช่วยประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลของวัดค�าประมงให้กับผู้ที่สนใจหรือผู้ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ จากผลการ
            ศึกษาวิจัยประสบการณ์ของจิตอาสา ผู้ป่วยและญาติจากการได้เข้ามาอยู่ในชุมชนอโรคยศาลวัดค�าประมง ต่างสะท้อน
            ให้เห็นตรงกันว่าบรรยากาศที่ค�าประมงเป็นชุมชนแห่งการเยียวยาและเติบโต ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และจิตอาสา เรียนรู้
            ที่จะยอมรับและขอบคุณต่อมะเร็งที่เป็นปัจจัยเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน สู่การใช้ชีวิตที่มีความหมาย
            มากยิ่งขึ้น และตระหนักเห็นถึงอะไรที่เป็นคุณค่าแท้และคุณค่าเทียมในการใช้ชีวิต ให้ความส�าคัญกับคุณภาพชีวิต
            (Quality of Life) การใช้ชีวิตด้วยทางสายกลาง มีสติ และไม่ประมาท รวมถึงการค้นหาคุณค่าและความหมาย

            ที่แท้จริงของชีวิต  (Meaning  of  Life)  ตลอดจนการเรียนรู้ที่จะเผชิญความตายอย่างสงบและเป็นการตายดี
            (Good Death) (Suk-erb, 2014; วิไลลักษณ์ ตันติตระกูล, 2552)


                    (3) การสร้างความร่วมมือเครือข่ายจิตอาสาและความเข้มแข็งเครือข่ายชุมชน
                    การสร้างความร่วมมือเครือข่ายจิตอาสาและความเข้มแข็งเครือข่ายชุมชนตามโมเดลวัดค�าประมง แบ่งได้
            2 ลักษณะคือ 1) การเชื่อมโยงความร่วมมือภายใน  (Internal Model)  และ 2)  การเชื่อมโยงความร่วมมือภายนอก

            (External Model)
                    1. การเชื่อมโยงความร่วมมือภายใน (Internal Model) โมเดลวัดค�าประมงเป็นชุมชนแห่งการเยียวยา
            (Healing Community) ในการยกระดับจิตใจของทุกคนที่มีส่วนร่วมในชุมชนให้มีการเรียนรู้และเติบโตแบบองค์รวม
            ก่อให้เกิดความร่วมมือเครือข่ายจิตจิตอาสาและความเข้มแข็งเครือข่ายชุมชน โดยมีองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ ดังนี้
                       1) การสร้างศรัทธาด้วยการท�างานด้วยใจ  เป็นผู้เสียสละและเป็นผู้ให้อย่างไม่มีเงื่อนไข  โดยมี
            หลวงตา ปพนพัชร์ จิรธัมโม เป็นแรงบันดาลใจในการท�าความดี ผลงานที่เห็นเป็นรูปธรรมท�าให้เกิดจิตอาสาและ
            เครือข่ายความร่วมมือต่างๆ เข้ามาช่วยในการด�าเนินงานหลายด้าน เช่น ด้านการบริการ ด้านวิชาการ งานวิจัย การ
            บริจาคสนับสนุนทางด้านทุนทรัพย์และสิ่งของอุปโภค บริโภคเพื่อใช้ในการด�าเนินงาน เมื่อผู้มาเยี่ยมเยือนได้สัมผัส
            วิถีชีวิตในอโรคยศาล ได้เห็นการปฏิบัติตนของผู้ป่วยเมื่อต้องเผชิญความทุกข์ยากจากโรคภัย การดูแลและร่วมฟันฝ่า

            วิกฤตจากทั้งญาติผู้ป่วยและญาติ เกิดความเห็นอกเห็นใจ ประทับใจ ยิ่งได้รับรู้และสัมผัสการด�าเนินงานอย่างทุ่มเท
            ขององค์หลวงตา และการขับเคลื่อนของจิตอาสาที่ใช้ใจน�าทางและท�าความดีให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การเข้าร่วม
            ท�ากิจกรรมอาสาต่างๆ ได้ก่อให้เกิดความปีติ เบิกบานใจ เกิดคุณค่าและพัฒนาจิตวิญญาณ ส่งผลต่อความศรัทธา
            และแรงบันดาลใจในการท�าคุณความดียิ่งๆขึ้นไป
                      2) ความรักความเมตตา เป็นสิ่งที่หลวงตา จิตอาสาและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ได้มอบให้กับผู้ป่วย รวมถึง
            ญาติและผู้ป่วยมอบให้กัน ในฐานะเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
                      3) การไม่มีเงื่อนไข คือความเป็นอิสระในการท�าความดี ทุกคน ทุกเชื้อชาติ ศาสนา สามารถใช้ความรู้

            ความสามารถที่มีน�ามาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยไม่มีสิ่งตอบแทน ที่เป็นผลประโยชน์แอบแฝง ในการ
            ช่วยเหลือนั้น
                      4) ความปลอดภัยทางจิตวิญญาณ เป็นความโล่ง โปร่ง สบาย ไม่ต้องวิตกกังวล ไม่มีการต�าหนิ ดุด่า
            บีบบังคับใดๆ  ไม่มีค่าใช้จ่ายให้กังวล  รวมถึงหากผู้ป่วยเสียชีวิตลง  ก็สามารถที่จะจัดการศพโดยไม่ต้องเสีย
            ค่าใช้จ่าย ดังคติของวัดค�าประมง “อยู่สบาย ตายสงบ งบไม่เสีย”
                      5) เครือข่ายอาสาสมัคร กลุ่มคนทุกระดับ ทุกอาชีพ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา ที่มีอุดมการณ์ในการท�าความดี
            โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และเห็นชัดเจนว่าผู้ป่วยได้รับผลประโยชน์ชัดเจน จึงท�าให้จิตอาสาหลั่งไหลเข้ามาเป็น
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76