Page 66 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 66

คู่มือปฏิบัติการ  65



            จากส�านักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร อย่างไรก็ตามยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในด้านต่างๆ เนื่องจาก
            ยังติดขัดในเรื่องระบบการอนุมัติงบประมาณตามระเบียบทางราชการ  ด้วยภาระค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมาก
            โดยประมาณเกือบหนึ่งล้านบาทต่อเดือนโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน หรือหน่วยงานภาครัฐ
            ใดๆ เรื่องนี้จึงนับเป็นเรื่องที่ส�าคัญ และสมควรได้รับการสนันสนุนจากหน่วยงานที่ตระหนักถึงคุณค่าและต้องการ

            สนับสนุน เพื่อให้เกิดการขยายผลในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป


                               อัตราค่าใช้จ่าย ของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยด้านมะเร็ง
                                      อโรคยศาล วัดค�าประมง ปี พ.ศ. 2557 – 2559


                    รายการ              ปี 2557           ปี 2558             ปี 2559              รวม

                ค่าใช้จ่ายทั้งหมด    17,461,515        10,710,546         11,354,601         39,526,662



                               ตารางที่ 3. ข้อมูลจากอโรคยศาลวัดค�าประมง 16 พฤษภาคม 2560


            (3) การเข้าถึงยา วัสดุอุปกรณ์และบริการที่จ�าเป็น (Access to Essential Medicine)
                    ส�าหรับยาแผนปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของยาแก้ปวดชนิดเสพติดซึ่งจ�าเป็นจะต้องสั่งจ่ายยา
            โดยแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น ท�าให้การเข้าถึงยาของผู้ป่วยค่อนข้างยาก อย่างไรก็ดีเนื่องจากหลวงตามีแนวทางการ
            ดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยการใช้ยาแบบพอเพียงเท่าที่จ�าเป็น และการจัดการอาการที่ใช้ทั้งยาสมุนไพรและ

            การจัดการอาการโดยไม่ใช้ยา เช่น การฝึกท�าสมาธิ การสวดมนต์ ดนตรีบ�าบัด เป็นต้น ท�าให้การเข้าถึงยาแก้ปวด
            ชนิดเสพติดจึงไม่ได้เป็นปัญหาต่ออโรคยศาลวัดค�าประมง  ซึ่งยาสมุนไพรที่ใช้มาจากการจัดซื้อทั้งจากภายในประเทศ
            และจากประเทศเพื่อนบ้าน และมีการพัฒนาการปลูกสมุนไพรภายในบริเวณวัดค�าประมง เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตยา
            สมุนไพรต่อไป
                    ด้านวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ได้รับการสนับสนุนมาจากการบริจาคหรือจัดซื้อหาเอง
            โดยใช้เงินจากการบริจาคเพียงเท่านั้น ยังไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยราชการใดๆ โดยจากการสัมภาษณ์
            เจ้าหน้าที่ดูแลด้านยาสมุนไพร กล่าวถึงปริมาณสมุนไพรที่ต้องใชในปริมาณมากว่า “ที่วัดใช้ยา ปีละประมาณ 3-4 พันห่อ
            เฉลี่ยเดือนละประมาณ 200-300 ห่อ ไม่ใช่แค่ยานี้อย่างเดียวนะ ต้องมียาอื่นๆ ด้วย” (คุณพัดนี ลุนจักร เจ้าหน้าที่
            ดูแลยาสมุนไพรและความเรียบร้อยทั่วไป 6 มิถุนายน 2558)

                    ในส่วนการเข้าถึงบริการ นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ได้แสดงความเห็นว่า  “การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
            ท่อน�้าดีระยะสุดท้ายโมเดลวัดค�าประมงเป็นรูปแบบที่เป็นประโยชน์ ท�าให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลโดยไม่ถูกทอดทิ้งจาก
            ระบบบริการสุขภาพ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าส�าหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งท่อน�้าดี หรือมะเร็งประเภทอื่น
            หรือผู้ป่วยที่มีความเจ็บไข้ได้ป่วยโรคอื่นๆ ในปัจจุบันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือระบบการประกันสุขภาพ
            ระบบอื่น รวมทั้งระบบบริการสุขภาพที่เรามีอยู่ ในเรื่องของการดูแลประคับประคองแบบที่หลวงตาได้ท�า เป็นส่วนที่
            ยังขาดอยู่ในโครงสร้างของระบบหลักประกัน...การที่มีผู้ป่วยมาจากทั่วทุกสารทิศ แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ของเขาเอง
            ในบริเวณใกล้บ้าน ภูมิล�าเนาของเขา ยังไม่มีบริการดูแลแบบนี้รองรับ ท�าให้ผู้ป่วยต้องพากันไปที่วัดค�าประมง ผมจึง

            เล็งเห็นว่าตรงนี้เป็นรูปแบบที่เป็นประโยชน์ เป็นต้นแบบที่พัฒนาขึ้นมา ที่น่าจะน�าไปขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ในทุก
            ภูมิภาคทั่วประเทศ” (นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผู้อ�านวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย 4 กันยายน 2560)


            (4) วิชาการและระบบสารสนเทศ (Health information System)
                    ระบบข้อมูลสารสนเทศของโมเดลวัดค�าประมงมีระบบข้อมูลระดับปฏิบัติการ ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการ
            การให้บริการในหน่วยงานของตน และเป็นแหล่งข้อมูลของหน่วยบริการอื่น เช่น ส�านักงานสาธารณสุขจังหวัด
            กรม กองในกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71