Page 70 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 70
คู่มือปฏิบัติการ 69
(2) การเชื่อมโยงความร่วมมือกับครอบครัว
รูปแบบการดูแลผู้ป่วยของอโรคยศาลวัดค�าประมงให้ความส�าคัญกับผู้ป่วยและสถาบันครอบครัว โดยก�าหนด
ให้ต้องมีสมาชิกครอบครัวอย่างน้อย 1 คน มาช่วยดูแลผู้ป่วยตลอดระยะเวลาที่พักรักษาตัวโดยไม่ต้องกังวลเรื่อง
ค่าใช้จ่าย การที่ผู้ป่วยต้องมาพักรักษาตัวที่วัดเป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์จนกระทั่งผ่านพิธีการต้มยาหม้อแรก
และญาติสามารถพักอยู่ดูแลผู้ป่วยดังเช่นอยู่บ้านของตนเอง ท�าให้ผู้ป่วยและญาติเกิดการปรับตัวต่อโรคและบรรยากาศ
สิ่งแวดล้อม ได้เรียนรู้วิธีการรักษาและแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม รวมถึงได้รับการสนับสนุนทางสังคมจาก
ครอบครัวผู้ป่วยคนอื่นๆ ซึ่งเอื้ออ�านวยให้เกิดความอบอุ่นในจิตใจผู้ป่วยเองและสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวด้วย
ผู้ป่วยรับรู้ได้ว่ามีบุคคลในครอบครัวอยู่เคียงข้างคอยเอาใจใส่ดูแลและพร้อมเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยไปด้วยกัน
บรรยากาศธรรมชาติในชุมชนอโรคยศาลวัดค�าประมง
ในเนื้อที่ที่พักส�าหรับผู้ป่วยและญาติมีเรือนไม้ กุฏิหลังเล็กๆ บ้านดิน และอาคารเป็นหลังๆ ตั้งเรียงราย
แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ ให้ความร่มรื่น ผู้ป่วยและญาติสามารถพักอาศัยได้อย่างเป็นสัดส่วน ส่วนหนึ่งของบ้านพักเป็น
อาคารปลูกสร้างโดยความประสงค์ของผู้ป่วยและญาติที่ต้องการสร้างทั้งเพื่อพักอาศัยระหว่างการรักษา หรือสร้าง
เพื่อถวายให้วัดเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ในการพักรักษาของผู้ป่วยและญาติคนอื่นๆ ตลอดจนจิตอาสา ทั้งเป็นการ
สร้างเหมือนอนุสรณ์แด่ผู้ป่วยด้วย บริเวณวัดมีความกว้างขวาง มีต้นไม้และสระน�้าให้ความร่มเย็น มีที่นั่งใต้ร่มไม้
ที่ให้ความร่มรื่นและเป็นสถานที่ที่ผู้ป่วยและญาติสามารถออกมาพักผ่อนเปลี่ยนอิริยาบถ และสามารถเดินไปมาหาสู่
กันได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ภายในบริเวณวัด นับแต่ทางเข้าวัดที่แวดล้อมด้วยผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ยังมีอ่างเก็บน�้าที่
มีปริมาณน�้าพอเพียงไว้ส�าหรับใช้ในวัด มีหอพระ โบสถ์และที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (ภายหลังได้มีโบสถ์คริสต์
ตั้งอยู่ด้านในตามความประสงค์ของผู้ป่วยชาวคริสต์) โรงต้มยา โรงอบสมุนไพร สถานที่ปลูกสมุนไพร ร้านกาแฟ
จิตอาสา สถานที่ท�านา ปลูกผักปลอดสารพิษ คอกวัวที่มีผู้ไถ่ชีวิตมาถวายวัด จึงเห็นได้ว่าสภาพบรรยากาศภายในวัด
มีความแตกต่างจากบรรยากาศในโรงพยาบาล ดังนั้นจึงเป็นบรรยากาศที่มีความเป็นธรรมชาติและผ่อนคลาย ดังที่
หลวงตาพระอาจารย์ปพนพัชร์ ได้เคยเรียกชุมชนอโรคยศาลว่า “มะเร็ง วิลล่าร์ สปา แอนด์ รีสอร์ต” ตามสโลแกน
ที่วา “อยู่สบาย ตายสงบ งบไม่เสีย”
ชุมชนแห่งการเยียวยาและเติบโต
อโรคยศาลเป็นลักษณะชุมชนที่มีความโอบเอื้ออารีซึ่งกันและกัน ผู้ป่วยที่มาพักอาศัยรักษาตัวอยู่ในชุมชน
อโรคยศาลวัดค�าประมง ต่างก็มีลักษณะร่วมกันคือ ต่างก็ได้รับความทุกข์จากโรคภัยคือมะเร็งเช่นเดียวกัน น�าไปสู่
พื้นฐานที่เอื้อให้ผู้ป่วยมองตารู้ใจ เข้าอกเข้าใจถึงสภาพจิตใจของกันและกัน เสมือนดั่งคนที่ลงเรือล�าเดียวกันเผชิญ
โชคชะตาเช่นเดียวกัน ดังนั้นบรรยากาศที่เกิดขึ้นในชุมชนจึงเป็นลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย เอื้อเฟื้อแบ่งปัน ทั้งด้านวัตถุ
ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการยังชีวิตความเป็นอยู่ และการแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์แนวทางการดูแลตนเอง
ในการรับมือกับมะเร็ง อันได้แก่ แนวทางการปฏิบัติตน วิธีการบริโภคยาและสมุนไพร อาหารที่เหมาะกับโรค และ
ข้อพึงระวังเกี่ยวกับอาหารแสลงต่างๆ การบริหารร่างกายและจิตใจ รวมทั้งวิธีรับมือกับความเจ็บปวดวิธีต่างๆ ตลอด
จนการสร้างขวัญก�าลังใจให้ตนเองและญาติมิตรและเพื่อนร่วมชุมชน บรรยากาศการพักเพื่อรักษาตัวจึงเป็นบรรยากาศ
ของกัลยาณมิตรที่มีแต่การสนับสนุนและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
จากการที่หลวงตา ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถร่วมโครงการเป็นจิตอาสาอย่างน้อยปีละ 1 วัน
ได้เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่ประสงค์จะอุทิศก�าลังกาย ใจ สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และพบได้ว่าจิตอาสา
ที่หลั่งไหลมา มาจากทุกสาขาอาชีพและภูมิหลังที่มา โดยมีแหล่งยึดเหนี่ยวใจส�าคัญคืออุดมการณ์ของหลวงตา
ที่จะฉุดช่วยมนุษยชาติให้ได้ยกระดับจิตใจพ้นทุกข์ภัยจากโรคมะเร็ง ทั้งนี้นอกจากจิตอาสาที่มาจากชุมชนใกล้เคียง
ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณวัด แพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ตลอดจน
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทุกสาขาอาชีพ หลั่งไหลมาเยี่ยมเยียนและเป็นจิตอาสาตามก�าลังความสามารถของตน
เช่น การนวดผ่อนคลายความเครียด โยคะ หัวเราะบ�าบัด ศิลปะบ�าบัด ธรรมานามัย กิจกรรมบ�าบัด และอื่นๆ สิ่ง
เหล่านี้จึงเป็นอีกหนึ่งอัตลักษณ์ของค�าประมง คือนอกจากสถานที่เอื้อต่อการเยียวยา (Healing Community) ยังเป็น