Page 73 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 73
72 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
วิธีการดูแลผู้ป่วยของโมเดลวัดค�าประมงมีเอกลักษณ์ กล่าวคือ
o แพทย์แผนปัจจุบันมุ่งที่จะลดความเจ็บปวดโดยดูแลด้านร่างกายเป็นหลัก ซึ่งถ้าผู้ป่วยตาย ถือว่า
การตายเป็นความความล้มเหลวทางการรักษา เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการรักษา คือ การช่วยชีวิต
o แต่โมเดลวัดค�าประมงมองว่าการตายอย่างสงบถือเป็นความส�าเร็จ เพราะจุดประสงค์ของการรักษา
คือ ไม่ฝืนหลักธรรมชาติ แต่ให้เป็นไปตามสภาพ โดยเน้นการดูแลด้านจิตใจและจิตวิญญาณก่อน
ร่างกาย โดยให้อยู่กับปัจจุบันอย่างดีที่สุด แต่ถ้าตายต้องตายอย่างสงบ ผู้ป่วยที่มาอโรคยศาล
วัดค�าประมงมีเป้าหมายคือ หวังจะรอดชีวิต แต่โดยกระบวนการของโมเดลวัดค�าประมง ช่วยรักษาใจ
ให้สามารถที่จะสร้างความเข้าใจและยอมรับด้วยปัญญาความจริงแท้ของชีวิต
ผลลัพธ์ในการรักษาของโมเดลวัดค�าประมง คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและการตายดี (Quality of Life
และ Good Death)
o นิยามค�าว่าตายดี (Good Death) ของหลวงตา แตกต่างจากแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะ หลวงตา
เน้นการยกระดับจิตของผู้ป่วยให้ยอมรับและสามารถปล่อยวางได้ เกิดผลทางจิตวิญญาณ
(Spiritual Result/Effect) ในขณะที่แผนปัจจุบัน Good Death เป็นแต่เพียงการตายอย่างไม่ทุรนทุราย
องค์ประกอบที่มีเอกลักษณ์แสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศของโมเดลวัดค�าประมง ประกอบด้วย
ด้านการบริการดูแลรักษา (Care Service Model), ด้านบริหารจัดการ (Management Model), และด้าน
ชุมชน (Community Model) ดังนี้
1. ด้านบริการดูแลรักษา (Care Service Model) โมเดลวัดค�าประมงมีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะ
สุดท้ายแบบประคับประคองโดยใช้การแพทย์ผสมผสานแบบบูรณาการเป็นองค์รวม (Integrative Holistic Care)
ได้แก่
o ด้านร่างกาย (Physical Dimension) ประกอบด้วย
การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine)
การแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine)
การแพทย์แบบผสมผสาน (Complimentary Medicine)
o ด้านจิตใจ (Psychological Dimension) ประกอบด้วย
กิจกรรมบ�าบัด เช่น หัวเราะบ�าบัด (Laugh Therapy), ดนตรีบ�าบัด (Music Therapy), ศิลปะบ�าบัด
(Art Therapy), อายตนะบ�าบัด สัตว์เลี้ยงบ�าบัด (Pet Therapy) เป็นต้น
o ด้านสังคม (Social Dimension) ประกอบด้วย
ครอบครัว (Family), เครือข่ายจิตอาสา (Volunteer), สหวิชาชีพ (Multidisciplinary),
การสนับสนุนและมีส่วนร่วมของชุมชน (Supportive Community), สภาพแวดล้อม
ที่เอื้อต่อการเยียวยารักษา (Healing Environment)
o ด้านจิตวิญญาณ (Spiritual Dimension) ประกอบด้วย
ธรรมะบ�าบัด (Dharma) การฟังเทศน์ฟังธรรมจากหลวงตา (Dharma talk), การนั่งสมาธิ
(Meditation), การสวดมนต์ (Praying)
o มีระบบบริการครบวงจร ได้แก่
การประเมินผู้ป่วยแรกรับ (Assess)
การเตรียมตัวผู้ป่วยเข้ารับบริการ (Entry)
การดูแลผู้ป่วยขณะเข้ารับการรักษา (Admit)
การวางแผนจ�าหน่าย (Discharge Planning)
การดูแลระยะสุดท้าย (End of Life Care)
การดูแลระยะหลังสูญเสีย (Bereavement Care) มีญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยกลับมายัง
อโรคยศาลวัดค�าประมงเพื่อร�าลึกถึงและท�าบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ป่วย และแสดงความ
ขอบคุณทีมงานที่เคยดูแล ตลอดจนกลับมาเป็นจิตอาสาเพื่อส่งต่อความดีต่อไป (โดยเฉพาะ
ในโอกาสพิเศษ คือ งานประจ�าปี วันไหว้สาบูรพาจารย์ วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี)