Page 72 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 72
คู่มือปฏิบัติการ 71
เครือข่ายในการท�าความดีมากมาย ทั้งจิตอาสาที่มาท�างานที่วัด และที่ยังไม่เคยมาวัดแต่ท�างานเบื้องหลัง รวมถึงผู้ที่
บริจาคเงินให้วัดค�าประมงต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดสาย เป็นเวทีในการท�าความดีที่ยิ่งใหญ่ ที่คนอยากท�าความดีใฝ่ฝัน
จะเข้ามา โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ที่บีบบังคับ สิ่งตอบแทนเป็นพลังชีวิตและความสุขที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
6) กิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ การต้มยา สมาธิบ�าบัด การสวดมนต์ หัวเราะบ�าบัด ดนตรีบ�าบัด
ศิลปะบ�าบัด การดูแลเรื่องอาหาร รวมถึงวิถีชีวิตที่สัมผัสธรรมชาติ เช่น การตัดฟืนเพื่อต้มยา การท�าอาหารกันเอง
ในกลุ่มผู้ป่วยและญาติ ไม่มีภาระงานและกระแสสังคมภายนอกมารบกวน
7) บรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ สามารถเข้าป่า ลัดเลาะริมน�้า นอนแช่โคลน ลดความทุกข์ทางใจและเข้าใจ
ธรรมชาติได้มากขึ้น
2. การเชื่อมโยงความร่วมมือภายนอก (External Model) ส�าหรับการเชื่อมโยงภายนอกนั้นโมเดล
วัดค�าประมงได้มีแผนการด�าเนินการ ดังนี้
1) การวางแผนการเยี่ยมบ้านโดยเชิญแพทย์แผนไทยเข้าร่วมทีมและน�ากิจกรรมบ�าบัดต่างๆ รวมทั้ง
สุนทรียสนทนามาใช้ในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน และในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชนเครือข่าย การเชื่อมโยง
เครือข่าย การติดต่อประสานงาน ความร่วมมือ (Connecting and Networking) ได้แก่ เครือข่ายจิตอาสา แพทย์พื้นบ้าน
สถาบันการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัยต่างๆ บุคลากรทางสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจน
บุคลากรเจ้าที่ทุกคนของอโรยศาล วัดค�าประมง
2) พัฒนาทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�าหมู่บ้าน (อสม.) จิตอาสา เครือข่ายชุมชน ญาติผู้ป่วย และ
สหวิชาชีพโดยให้ความรู้ และศึกษาดูงานรูปแบบการด�าเนินงานและผลงานของโมเดลวัดค�าประมงทั้งในด้านการดูแล
ผู้ป่วย การพัฒนาสิ่งแวดล้อม (ตามบริบท) การสร้างบรรยากาศ การใช้สมุนไพร การใช้อาหารเป็นยา การจัดกิจกรรม
การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายเพื่อผลลัพธ์แห่งการตายดี (Good Death) โดยมีวิธีการด�าเนินงานดังนี้
- จัดระบบการส่งต่อระหว่างสหวิชาชีพและหน่วยงาน/โรงพยาบาลโดยให้มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน
เดียวกัน
- เชิญอปท. เครือข่ายจิตอาสา พระสงฆ์ มาร่วมเรียนรู้ โดยมี ส�านักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาล
ร่วมเป็นพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนขยายผลในชุมชนไปด้วยกัน
- สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายให้แกนน�าของทีมโดยมีสหวิชาชีพเข้ามาร่วมเป็นแกนน�าที่เข้มแข็งไปด้วยกัน
เพื่อให้งานชัดเจนยิ่งขึ้น ท�าให้การท�างานในชุมชนง่ายขึ้น
- จัดอบรมให้ความรู้โมเดลวัดค�าประมงกับครอบครัวที่มีผู้ป่วยระยะท้ายและผู้ที่สนใจจะเป็นจิตอาสาใน
ชุมชน เพื่อพัฒนางาน Palliative Care และขยายผลไปในชุมชน
จะเห็นได้ว่า โมเดลวัดค�าประมงเป็นโมเดลที่ขับเคลื่อนตามเจตนารมณ์ที่ต้องการฉุดช่วยมนุษยชาติให้พ้นทุกข์
จากความเจ็บป่วยทั้งทางกาย ใจ และจิตวิญญาณ โดยผสมผสานวิธีการดูแลรักษาแบบบูรณาการแบบองค์รวม
ที่กลมกลืนกับธรรมชาติและความจริงแท้ของชีวิต หลวงตาเป็นผู้น�าและเป็นแรงบันดาลในใจการเสียสละช่วยเหลือ
เพื่อผู้ป่วยและมนุษยชาติ ท่านจึงได้วางระบบจิตอาสาแห่งความดีที่เปิดรับและให้โอกาสในการได้มาร่วมแรงกายใจ
จากทุกสหวิชาชีพ ทุกบุคคล ที่มีใจและพลังสติปัญญาและความสามารถในการช่วยเหลือผู้ป่วย ระบบการบริหาร
จัดการเน้นที่ความยืดหยุ่น ลดอัตตาตัวตน แต่เป็นการประสานแรง และขับเคลื่อนด้วยพลังจิตอาสาอย่างแท้จริง
(ปพนพัชร์ จิระธัมโมและคณะ, 2560)
โดยสรุป อัตลักษณ์ของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองแบบบูรณาการโมเดลวัดค�าประมง และ
องค์ประกอบที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศของโมเดลวัดค�าประมง มีดังนี้
อัตลักษณ์ของโมเดลวัดค�าประมง คือ รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองโดยชุมชน
โดยใช้การแพทย์ผสมผสานแบบบูรณาการ (Integrated Palliative Care Model)
ประเภทของการดูแลผู้ป่วยมีลักษณะเฉพาะ ได้แก่
o End of life คือ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
o Palliative care คือ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง