Page 65 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 65
64 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
อย่างไรก็ดี อโรคยศาลวัดค�าประมงยังมีข้อจ�ากัดในเรื่องก�าลังคนทั้งด้านแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่
ผู้ดูแลผู้ป่วย ความไม่ต่อเนื่องของจิตอาสาที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่จะหมุนเวียนเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วย จากปัญหานี้
ท�าให้ปัจจุบันทางส�านักงานสาธารณสุข จังหวัดสกลนคร ได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนให้บุคลากรทางสาธารณสุข
จาก 18 อ�าเภอหมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องมากขึ้น โดยนายแพทย์โสภณ รักษาการผู้อ�านว
ยการฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันมีพยาบาลจากโรงพยาบาลต่างๆ สลับกันมาช่วยเกือบทุกวัน แต่ก็ไม่ต่อเนื่อง ไม่
เหมือนกับพยาบาลประจ�า ก็มาดูแค่การเช็ดล้างแผล แต่ไม่ต่อเนื่องในเรื่องระบบริหารจัดการ ซึ่งหลักๆ ยังเป็นทีมงาน
ของหลวงตาอยู่” (นพ.โสภณ วัณไวทยจิตร รักษาการผู้อ�านวยการโรงพยาบาลฯ 29 สิงหาคม 2558)
ทั้งนี้นายแพทย์ศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์ (นายแพทย์จิตอาสา) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร
เพื่อขยายผลการน�าโมเดลวัดค�าประมงไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไว้ว่า “สิ่งส�าคัญ
ในการพัฒนาบุคลากรให้เข้าใจถึงบริบทของโมเดลวัดค�าประมง ต้องให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจอย่างลึกซึ้งในวัตถุประสงค์
ของแต่ละกิจกรรมและการท�าพิธีกรรมต้มยาด้วย ซึ่งบทเรียนส�าคัญของอโรคยศาล คือ
1) ความรัก ความเมตตา การดูแลด้วยจิตใจความเป็นมนุษย์ ดังนั้นการน�าคนมาอบรม มาดูสภาพแวดล้อม
ในสถานที่จริง จะได้ซึมซับความรู้สึกจากประสบการณ์ตรง
2) ความมุ่งมั่นที่จะท�าอย่างต่อเนื่อง
3) สิ่งที่ประสบความส�าเร็จ คือ ความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด หากสปสช. มารองรับได้
จะเป็นประโยชน์มาก
4) กิจกรรมที่ท�าที่อโรคยศาล เช่น พิธีกรรมการต้มยา การสวดมนต์ภาวนา ความเชื่อและการดูแลจิตใจ
ของผู้ป่วย ซึ่งถ้าจะน�าไปขยายผลจะต้องพิจารณาด้วยว่าผู้ที่จะน�าไปขยายผลนั้นคือใคร มีความพร้อมและเหมาะสม
ในการน�าไปประยุกต์ใช้หรือไม่
5) ยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาและการจัดการอาการ มีงานวิจัยรองรับว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านมะเร็ง
แต่แพทย์แผนปัจจุบันยังต้องการแหล่งข้อมูลสนับสนุนอื่นเพิ่มเติม รวมถึงการใช้ทางเลือกอื่น ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มา
รับการรักษา มาในระยะที่ 3-4 แล้ว ซึ่งหากได้มาตั้งแต่ในระยะต้นๆ จะมีการพยากรณ์โรคที่ดีและมีผลการดูแลรักษา
ที่ดีกว่านี้” (นพ.ศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์ นายแพทย์จิตอาสา 8 มีนาคม 2560)
(2) การเงินและงบประมาณ (Financing)
จากผลลัพธ์การดูแลรักษาผู้ป่วยของโมเดลวัดค�าประมง คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้สโลแกน “อยู่สบาย
(Quality of Life) ตายสงบ (Good Death) งบไม่เสีย (Free of charge)” ก่อให้เกิดเป็นแรงศรัทธา และแรงบันดาลใจ
ให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้ามาเป็นจิตอาสา ช่วยเหลือสนับสนุนด้านต่างๆ ส่งผลให้มีการบริจาคในรูปทรัพย์สิน เงินสดและ
เวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการด�าเนินงาน ผ่านทางระบบบัญชีธนาคารและการบริจาคโดยตรง และมีการก�ากับดูแล
ควบคุมโดยหลวงตาในรูปแบบมูลนิธิ ตามระเบียบข้อบังคับที่จัดท�าเป็นประกาศตามที่กฏหมายก�าหนด โดยจัดสรร
งบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามที่ก�าหนดไว้โดยยึดหลักความพอเพียง เช่น การจัดหาสถานที่ การพัฒนา
ก่อสร้างเรือนพักผู้ป่วยและญาติ ให้เพียงพอกับความต้องการ รวมถึงการจัดสร้างบ้านพักส�าหรับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล
ผู้ป่วย การจัดหาเครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์เท่าที่จ�าเป็น เวชภัณฑ์ยาและ
ยาสมุนไพร เป็นต้น ส�าหรับยาสมุนไพรที่ใช้ต้องซื้อมาด้วยความยากล�าบากทั้งส�าหรับผู้ป่วยที่มาพักรักษาตัว และ
ยาสมุนไพรที่ต้องส่งไปให้ผู้ป่วยที่กลับไปพักรักษาตัวที่บ้านทางไปรษณีย์โดยไม่คิดทั้งค่ายา ค่าจัดส่ง หรือค่าบริการใดๆ
ในขณะที่แต่ละวันจะมีผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ที่ อโรคยศาล โดยเฉลี่ยประมาณ 40-50 คน และต้องส่งยาสมุนไพร
ทางไปรษณีย์อีกเดือนละหลายร้อยห่อ จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ และผู้ป่วยสะท้อนให้เห็นถึงภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ
ที่หลวงตาต้องแบกรับไว้ ซึ่งท่าน ก็ไม่เคยแสดงออกให้ผู้ป่วยและญาติต้องสัมผัสกับความเครียด “หลวงตาท่าน
ขนาดมีภาระค่าใช้จ่ายที่ท่านแบกไว้ แต่ท่านไม่เคยแสดงอาการที่ท�าให้เราต้องสัมผัสความเครียด ท�าให้เราไม่เครียด”
(คุณแหวว ผู้ป่วย 3 มีนาคม 2558)
ทั้งนี้ หลังจากที่อโรคยศาลวัดค�าประมงได้รับการจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ผสมผสานด้านมะเร็ง สกลนคร อโรคยศาลวัดค�าประมงได้รับการสนับสนุนในส่วนของกรอบอัตราก�าลัง