Page 63 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 63
62 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
3) ตรวจสอบคุณภาพการบ�าบัดรักษา โดย
- เก็บข้อมูล สถิติที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
- ติดตามอาการและความยั่งยืนในการบ�าบัดรักษา
- ติดตามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่รับการรักษา
การวางแผนจ�าหน่าย (Discharge Planning)
1. การวางแผนจ�าหน่าย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษาจะมีระยะวันนอนเฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์
การดูแลรักษาที่เน้นการพัฒนาด้านจิตใจและจิตวิญญาณและเตรียมพร้อมผู้ป่วยและครอบครัวให้พร้อมที่จะเผชิญ
กับโรค โดยเรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วยขณะเข้ารับการรักษา และยอมรับสัจธรรมของชีวิต เมื่อระยะสุดท้ายมาถึง
เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นหรือต้องการกลับไปพักผ่อนที่บ้าน ท�าให้ผู้ป่วย ญาติและครอบครัวได้เรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วย
เมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน
2. การดูแลอย่างต่อเนื่อง มีการติดตามประเมินอาการ มีการเปิดช่องทางการสื่อสารในการติดตามประเมิน
ผลการดูแลรักษาผู้ป่วย การให้ความรู้การใช้ยาสมุนไพร และการให้ค�าปรึกษาเมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ โดยสามารถ
รับค�าปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งทาง Social Network, โทรศัพท์, Internet, หรือ Line Group เพื่อเปิดโอกาส
ให้ผู้ป่วยและญาติได้ปรึกษา และเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้การรักษา
3. การดูแลระยะสุดท้ายในผู้ป่วยที่มีอาการลุกลามมาก มีการเตรียมพร้อมผู้ป่วยและครอบครัวให้ยอมรับ
ความเป็นจริงของชีวิต มองเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมชาติ สามารถยอมรับและพร้อมที่จะจากไป ในช่วงใกล้จะ
เสียชีวิต การปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ ตลอดจนการจูงจิตด้วยการระลึกถึงสิ่งดีงามและการสวดมนต์ภาวนาในวาระ
สุดท้ายของชีวิต ท�าให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเผชิญกับวาระสุดท้ายได้อย่างสงบและมีความสุข
การส่งต่อ แบ่งเป็น
1. การส่งต่อจากหน่วยบริการสู่ครอบครัว/ชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ผู้ป่วย
เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้วขอกลับ/หรือส่งกลับชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนได้ร่วมกันเยียวยา
ชุมชนซึ่งประกอบด้วย อบต. อปท. วัด โรงเรียน และหมู่บ้านได้มีความเข้าใจและช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วย
ระยะสุดท้ายที่บ้านได้อย่างครอบคลุมทุกมิติทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยและ
ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ต้องเผชิญกับการพลัดพรากสูญเสียแต่เพียงล�าพังในชุมชน
ฉะนั้นเครือข่ายในชุมชนส�าคัญมาก จ�าเป็นต้องมีการเสริมพลังและเพิ่มพูนทักษะในการดูแลช่วยเหลือเยียวยา
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
2. การส่งต่อจากหน่วยบริการสู่หน่วยบริการ
การส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปสู่โรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพต�าบล (รพ.สต.) จ�าเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบบประคับประคองจะต้อง
รู้เรื่องผู้ป่วยที่จะดูแล ฉะนั้นการสร้างเครือข่ายและการประสานเครือข่ายเป็นเรื่องส�าคัญมาก ซึ่งถ้าการสร้างและ
ประสานเครือข่ายดี ผู้ป่วยและญาติจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีโอกาสเข้าสู่ระยะสุดท้ายอย่างสงบสุข ญาติไม่โดดเดี่ยว
เดียวดายเพียงล�าพัง
การดูแลครอบครัวระยะหลังสูญเสีย (Bereavement care)
การดูแลในระยะผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต
1. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิตและญาติได้บอกลากัน มีการขอขมากรรมและขออโหสิกรรมระหว่างกัน
2. ผู้ให้การรักษา แพทย์ พยาบาล จิตอาสา ญาติผู้ป่วยเอง ญาติผู้ป่วยเตียงอื่นๆ หรือผู้ป่วยอื่นที่แข็งแรง
และช่วยเหลือตัวเองได้ ร่วมกันสวดมนต์บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (บทอิติปิโส) ด้วยน�้าเสียงที่สม�่าเสมอ ไม่ดัง
จนเกินไป เพื่อส่งพลังใจของทุกคนให้ดวงจิตของผู้ป่วยที่ก�าลังจะละจากร่างอยู่ในสภาวะที่นิ่งและสงบที่สุด พร้อมที่
จะไปสู่ภพภูมิใหม่ที่ดี และสุดท้าย จากไปพร้อมกับรอยยิ้ม (ตายดี)