Page 59 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 59

58       คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)



                        3.3.6 ดนตรีบ�าบัด ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ สามารถน�ามาใช้
            ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ได้ผลดีในเรื่องความเจ็บปวด ลดความวิตกกังวล ความกลัว เพิ่มก�าลังการเคลื่อนไหว
            สร้างแรงจูงใจให้เกิดสติ ความนึกคิด อารมณ์ และจิตใจที่ดี ดังนั้น การท�ากิจกรรมกลุ่มกับผู้ป่วยมะเร็งของอโรคยศาล
            วัดค�าประมงโดยใช้ดนตรีบ�าบัด จึงท�าให้ผู้ป่วยมีความสุขและได้ผ่อนคลาย ไม่คิดวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่เป็น

                        3.3.7 การรับประทานอาหาร ผู้ป่วยจะได้รับค�าแนะน�าเรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
            รวมถึงทางวัดได้มีการจัดท�าแปลงผักไฮโดรโปรนิกส์และผักจากแปลงเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเกิดจากแรงกายแรงใจของจิต
            อาสาช่วยกันดูแล เพื่อน�าไปแจกจ่ายให้ผู้ป่วยน�าไปประกอบอาหารได้ตลอดปีอีกด้วย
                      3.4 การดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษาที่อโรคยศาล วัดค�าประมงจะมีระยะเวลานอน
            เฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่ออาการดีขึ้นหรือต้องการกลับไปพักผ่อนที่บ้าน ก็มีการติดตามประเมินอาการ มีการเปิด
            ช่องทางการสื่อสารให้สามารถรับค�าปรึกษาได้ตลอดเวลา ทั้งทาง Social Network, โทรศ�พท์, Internet, หรือ Line
            Group เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติได้ปรึกษาได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้การรักษา
            และผู้รับการรักษา
                    4. การปฏิบัติที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางศาสนา (Religious Practice) คือกิจกรรมที่บุคคลกระท�าตามหลัก

            ความเชื่อในศาสนาที่ตนเองยึดถือ ซึ่งทุกศาสนาต่างก็มีหลักค�าสอนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและเป็นหลักใน
            การด�าเนินชีวิตอย่างเป็นสุขของบุคคล ที่ก่อให้เกิดความสงบสุขในการอยู่ร่วมกัน นอกจากนี้ การมีศาสนาเป็นสิ่ง
            ยึดเหนี่ยวจิตใจ จะท�าให้บุคคลสามารถปล่อยวาง และยอมรับสภาพความเป็นจริงของชีวิตได้ ผู้ป่วยมะเร็งชาวพุทธ
            จึงได้มีโอกาสท�าบุญ ตักบาตร สวดมนต์ไหว้พระ รักษาศีล มีการสร้างโบสถ์คริสต์ส�าหรับผู้ป่วยชาวคริสต์ และสร้าง
            บ้านดินส�าหรับละหมาดให้ชาวมุสลิมได้ประกอบพิธีทางศาสนาตามที่ผู้ป่วยนับถือ
                    5. จิตอาสา  (Volunteers)  อโรคยศาล  วัดค�าประมงจะมีจิตอาสาหลากหลายอาชีพที่หมุนเวียนกัน
            เข้าบ�าเพ็ญประโยชน์ท�าให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง พร้อมทั้งมีจิตอาสาแพทย์ พยาบาล นักศึกษาแพทย์แผนไทย

            ที่มาฝึกงาน หมุนเวียนกันเข้าไปดูแลผู้ป่วยทุกวัน มีการจัดกิจกรรมบ�าบัดข้างเตียง เช่น ดนตรีบ�าบัด สมาธิบ�าบัด
            ให้ผู้ป่วยปฎิบัติไปพร้อมๆ กับผู้ดูแล และทางส�านักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ได้สนับสนุนให้บุคลากรทาง
            สาธารณสุขจาก 18 อ�าเภอ หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องท�าให้ผู้ป่วยมีความอบอุ่นใจ
            ไม่รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้งและมีก�าลังใจดีขึ้น แต่สิ่งที่งดงามมากกว่านั้นคือการที่ผู้ป่วยที่สุขภาพแข็งแรงดีแล้ว
            สามารถพลิกชีวิตของตนเองจากการเป็น “ผู้รับ” มาเป็น “ผู้ให้” โดยกลายมาเป็นจิตอาสาช่วยเยียวยาผู้ป่วยมะเร็ง
            ด้วยกัน หรือเป็นวิทยากรในการให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการบังคับ
            แต่เกิดจากการที่จิตใจของผู้ป่วยได้พัฒนาจนเกิดปัญญา ท�าให้คิดที่จะท�าประโยชน์ต่อผู้อื่นบ้าง
                    กระบวนการท�างานและบทบาทจิตอาสาโมเดลวัดค�าประมง ได้แก่
                      1) ด้านการดูแลผู้ป่วย

                      2) ด้านการจัดการหลังการเสียชีวิต
                      3) ด้านงานทั่วไป
                      4) ด้านการศึกษาดูงานและงานวิทยากร



















                                         รูปภาพที่ 12. จิตอาสาตรวจเยี่ยมอาการผู้ป่วย
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64