Page 56 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 56

คู่มือปฏิบัติการ  55



                    (2) การจัดระบบบริการ
                    การดูแลรักษาผู้ป่วยของโมเดลวัดค�าประมงมีการจัดระบบบริการแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การประเมินผู้ป่วย
            ที่เข้ามาขอรับการรักษา (Assess) การเตรียมตัวเข้ารับการรักษา (Entry) การดูแลผู้ป่วยขณะเข้ารับการรักษา (Admit)
            การวางแผนการจ�าหน่าย (Discharge Planning) จนถึงการดูแลระยะสุดท้ายและภายหลังการตาย (Bereavement Care)

            โดยบุคลากรมีแพทย์ พยาบาล แพทย์แผนไทยและสหวิชาชีพเป็นจิตอาสาช่วยดูแล บ�าบัด รักษา จัดการอาการ
            ไม่สุขสบายและอาการโรคของผู้ป่วยด้วยการใช้ยาสมุนไพรและการบูรณาการการแพทย์แบบผสมผสาน ซึ่งมีความ
            แตกต่างจากรูปแบบการจัดบริการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในโรงพยาบาลและเป็นเอกลักษณ์แบบไทย ได้แก่
                    การดูแลผู้ป่วยทางกาย โดยใช้หลักธรรม สัปปายะ 7 ประกอบด้วย
                    1) อาวาสสัปปายะ สถานที่เงียบสงบ ปลอดภัย มีสิ่งอ�านวยความสะดวกให้กับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยในการด�ารง
            ชีวิตประจ�าวัน
                    2) โคจรสัปปายะ สถานที่ไม่ไกลจากชุมชนในการหาสิ่งที่จ�าเป็นมาใช้ในชีวิตประจ�าวัน
                    3) ภัสสสัปปายะ การพูดคุยและเกื้อกูลท�าสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่กัน
                    4) ปุคคลสัปปายะ บุคคลที่เหมาะกัน คือ อยู่กับผู้ป่วยและญาติที่เป็นมะเร็งเหมือนกัน ท�าให้รู้สึกว่าไม่อ้างว้าง

            โดดเดี่ยว
                    5) โภชนสัปปายะ มีอาหารและยาสมุนไพรรักษาที่เหมาะสมกับสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็ง
                    6) อุตุสัปปายะ อากาศที่บริสุทธิ์เหมาะสมกับการฟื้นตัวของผู้ป่วย
                    7) อิริยาบถสัปปายะ มีกิจกรรม การเคลื่อนไหวที่ผ่อนคลาย
                    การดูแลทางจิตใจ โดยใช้หลักธรรม 5 ประการ คือ
                    1) กฏแห่งไตรลักษณ์ ธรรมชาติความไม่แน่นอน ไม่เที่ยงของชีวิตที่ต้องเกิด แก่ เจ็บและตาย ได้แก่ การเกิดขึ้น
            ตั้งอยู่ และดับไป

                    2) โยนิโสมนสิการ การน้อมธรรมน�ามาใส่ตัว มาคิดพิจารณาให้เห็นถึงความจริงนั้น
                    3) การพิจารณามรณานุสติ พิจารณาความตายซึ่งต้องเกิดขึ้นกับทุกคน
                    4) การภาวนาโดยใช้อานาปานสติ กรท�าสมาธิโดยก�าหนดดูลมหายใจ และ
                    5) การอยู่กับโลกธรรมแปด ผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ตามสภาพพื้นฐานของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งมีพื้นฐานความคิด
            ความเชื่อ และทัศนคติที่แตกต่างกัน โดยมีการจัดระบบบริการดูแลรักษาผู้ป่วย ดังนี้


            กระบวนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามโมเดลวัดค�าประมง

                    1. การจัดสภาพแวดล้อม (Environment) สภาพแวดล้อมในอโรคยศาล วัดค�าประมง มีพื้นที่กว้างขวาง
            สงบ ร่มเย็น มีสระน�้าอยู่ทั่วบริเวณ มีความสะอาด มีสถานที่ส�าหรับผู้ป่วยและญาติรวมทั้งจิตอาสาได้ท�ากิจกรรมร่วมกัน
            ทุกวัน เช่น การออกก�าลังกาย พักผ่อน สวดมนต์ ให้ความรู้สึกสบาย อาคารที่พักส�าหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ท�าจากไม้
            และดิน รอบที่พักจะมีอาณาบริเวณรายล้อมไปด้วยต้นไม้และสระน�้า และอยู่รวมกันเป็นชุมชน มีทั้งบ้านเดี่ยวและ
            ที่พักแบบรวม รวมถึงมีการจัดสิ่งแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับบ้าน มีธรรมชาติที่เงียบสงบ ความเป็นอยู่เหมือนอยู่ที่บ้าน
            ท�าให้ผู้ป่วยและญาติ/ผู้ดูแลรู้สึกผ่อนคลาย
                    2. แรงสนับสนุนทางสังคม (Social support) เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ซึงมีการศึกษา

            พบว่าพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัว ที่ท�าหน้าที่ช่วยเหลือในการท�ากิจวัตรประจ�าวันนั้น ส่งผลต่อคุณภาพ
            ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย รวมทั้งการสนับสนุนจากทีมบุคลากรที่ท�าการรักษา เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการ
            รักษาเป็นต้น การพักรักษาตัวของผู้ป่วยมะเร็งในอโรคยศาล วัดค�าประมง จึงมีข้อปฏิบัติว่าต้องมีญาติมาเฝ้าอย่างน้อย
            หนึ่งคน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้งให้เป็นภาระ โดยให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน
            ประสบการณ์เกี่ยวกับความเจ็บป่วยถ่ายทอดให้แก่ผู้ป่วยและญาติด้วยกัน ในขณะเดียวกันก็มีการเสริมพลังให้ก�าลังใจ
            ผู้ดูแล และจัดกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดหรือความเหนื่อยล้าจากการดูแลผู้ป่วย เช่น ห้องอบสมุนไพรส�าหรับ
            ผู้ดูแล กิจกรรมกอดบ�าบัด การให้ค�าปรึกษาเป็นต้น
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61