Page 57 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 57
56 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
3. กระบวนการรักษา (Treatment) การรักษาผู้ป่วยมะเร็งโมเดลวัดค�าประมงเป็นแนวคิดการดูแลผู้ป่วย
แบบบูรณาการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยมีแพทย์แผนปัจจุบัน
จิตอาสา พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) ร่วมกับแพทย์แผนไทยเป็นผู้ให้ค�าปรึกษาและให้ข้อมูลในการ
รักษาทั้งด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจเลือกในการรักษา
และเคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย โดยมีแนวทางในการรักษาดังนี้
3.1 การรักษาด้วยยาสมุนไพรซึ่งมีคุณภาพมาตรฐาน ร่วมกับการใช้หลักธรรมในการเยียวยา การรักษา
ผู้ป่วยมะเร็งโดยใช้ยาสมุนไพรโมเดลวัดค�าประมงมีหลายต�ารับ ซึ่งคิดค้นโดยหลวงตา เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยมะเร็ง
แต่ละประเภท เช่น ต�ารับยอดยาแก้มะเร็งทุกชนิด ต�ารับยาสมานฉันท์ และต�ารับยาน�้าสาบาน โดยมีผลการศึกษา
วิจัยสามารถบ่งชี้ได้ว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระ และเพิ่มภูมิคุ้มกัน (รายละเอียดดูในภาคผนวก)
3.2 การจัดการอาการ (Symptom Management) เช่น อาการปวด คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารหรืออาการไม่
สุขสบายต่างๆ ในแนวทางของโมเดลวัดค�าประมงได้ประยุกต์โดยการน�าธรรมะเข้ามาใช้ร่วมกับการดูแลแบบผสมผสาน
ในการจัดการอาการรบกวนเหล่านั้น โดยใช้หลักสมาธิภาวนาในการเอาชนะความทุกข์ทรมานที่รบกวน เช่น
การจัดการอาการปวด ซึ่งปัจจุบันมีแนวทางการจัดการอาการปวดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและต้องใช้ยา
โดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็ง แต่ก็มีการจัดการอาการปวดโดยไม่ใช้ยาหรือใช้เมื่อจ�าเป็น และสามารถลดอาการปวด
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังการศึกษาของศิริพร เสมสาร
และสุรีพร ธนศิลป์, (2552) ที่ศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการเจ็บปวดด้วยตนเองโดยเน้นหลักอริยสัจสี่
ต่อความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับยาเคมีบ�าบัด พบว่าสามารถท�าให้ความเจ็บปวดลดลงได้
3.3 การดูแลแบบผสมผสาน (Complementary Care) โดยใช้ศาสตร์ของการแพทย์แบบผสมผสาน
ซึ่งเป็นการรักษาแบบเสริมควบคู่ไปกับการรักษาหลัก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งด้าน
จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ เป็นการมุ่งเน้นดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Care) ซึ่งอโรคยศาล วัดค�าประมง
ได้จัดกิจกรรมบ�าบัดให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแลตลอดจนจิตอาสา ได้มีการผ่อนคลายและเรียนรู้แนวทางในการดูแลสุขภาพ
ของตนเอง เมื่อต้องกลับไปอยู่ที่บ้านก็สามารถน�าแนวทางปฏิบัตินี้ไปปรับใช้ได้ ดังนี้
รูปภาพที่ 9. กิจกรรมการดูแลแบบองค์รวมตามแนวทางของอโรคยศาลวัดค�าประมง
3.3.1 การสวดมนต์ เป็นการสื่อสารกับสิ่งที่มีอ�านาจสูงกว่าตามความเชื่อในศาสนาของแต่ละบุคคล
เช่น ชาวพุทธจะสวดมนต์และระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวคริสต์จะสวดและระลึกถึงพระเจ้า ชาวมุสลิม
สวดและระลึกถึงองค์พระอัลเลาะห์ อโรคยศาล วัดค�าประมงได้จัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยได้มีการสวดมนต์ร่วมกันทุกวัน
เช้า-เย็น แต่ไม่ได้แบ่งแยกศาสนา หรือในผู้ที่ไม่นับถือศาสนาก็มีการจัดสภาพแวดล้อมให้ได้ผ่อนคลาย นอกจากนี้
ยังใช้วิธีการสวดมนต์เพื่อจัดการอาการปวดที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งซึ่งพบว่าสามารถลดอาการเจ็บปวดได้
3.3.2 สมาธิบ�าบัด การสอนให้ผู้ป่วยฝึกท�าสมาธิ (ภาวนา) เดินจงกรม สอนให้ผู้ป่วยเจริญมรณานุสติ
เป็นประจ�าสม�่าเสมอ เพื่อความเข้าใจชีวิตและยอมรับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตเรื่องการเกิด แก่ เจ็บไข้ได้ป่วยและ