Page 58 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 58
คู่มือปฏิบัติการ 57
ความตาย ได้ตามความเป็นจริง ล้วนมีส่วนช่วยเยียวยาจิตใจของผู้ป่วยให้เป็นทุกข์น้อยลงและอยู่กับโรคที่เป็นได้ด้วยจิต
ที่เป็นกุศล ทุกวันผู้ป่วยมะเร็งที่อโรคยศาล วัดค�าประมงจะได้รับการฝึกสอนเรื่องของการภาวนา พระอาจารย์ปพนพัชร์
จะแสดงธรรมะโอวาทที่เรียกว่า “ธรรมะ 9 นาทีก่อนตาย” ซึ่งก็คือการสอนให้เจริญมรณานุสติ ไม่ให้ประมาทในการ
ใช้ชีวิตและใช้เวลาในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
3.3.3 การออกก�าลังกาย ส�าหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง การออกก�าลังกายควรเป็นไปตามความเหมาะสม
ต่อสภาพร่างกายและควรมีความยืดหยุ่น ไม่ฝืนหรือเคร่งครัดมากจนเกินไป ทุกวันในตอนเช้าจะมีการออกก�าลังกาย
ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างน้อยครั้งละ 15-30 นาที เช่น โยคะ ฤาษีดัดตน โดยเฉพาะการท�าชี่กงวิถีไทย
ซึ่งถือเป็นการดูแลแบบผสมผสานประเภทการปฏิบัติโดยใช้จิตคลุมกาย (Mind-Body Medicine) ผสมผสานกับ
แนวคิดทางพุทธศาสนาให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนไทย และมีผลโดยตรงในการเพิ่มประสิทธิภาพการท�างานของหัวใจ
และปอด
รูปภาพที่ 10. การออกก�าลังกายด้วยชี่กงวิถีไทย
3.3.4 ศิลปะบ�าบัด มาจากแนวคิดที่ว่ากระบวนการสร้างสรรค์ของการท�าศิลปะนั้น ก่อให้เกิดการเยียวยา
และส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ถูกใช้เพื่อช่วยในการบ�าบัดรักษาทางด้านอารมณ์ และช่วยให้บุคคลเข้าใจตนเอง
มากขึ้น โดยอารมณ์ทางด้านลบที่ถูกเก็บไว้ในร่างกายจะถูกเปิดออกและน�ามาแปรเปลี่ยนไปในเชิงสร้างสรรค์ เมื่อ
ได้รับการดูแลจากกระบวนการท�าศิลปะที่เหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะ “สบายดี” ซึ่งเป็นสภาวะแห่งการยอมรับ
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ เมื่อน�ามาใช้กับผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลที่อโรคยศาล
วัดค�าประมง จากการสังเกตและสัมภาษณ์พบว่าท�าให้มีสมาธิและจิตที่ผ่อนคลายมากขึ้น
3.3.5 หัวเราะบ�าบัด การหัวเราะเป็นการกระท�าอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ที่หัวเราะ
ได้เป็นอย่างดี ในทุกๆ วัน ผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนจิตอาสาจะมารวมกันท�ากิจกรรมร่วมกัน โดยเฉพาะการหัวเราะ
บ�าบัดอย่างมีความสุข
รูปภาพที่ 11. หัวเราะบ�าบัด