Page 55 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 55

54       คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)



            พึ่งพาตนเอง มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนพูดคุยกันระหว่างผู้ป่วยกับผู้ป่วย ผู้ดูแลกับผู้ดูแล รวมทั้งจัดกิจกรรม
            ต่างๆ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยซึ่งมีทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา จากทั่วโลกที่มุ่งมั่นมารักษาด้วยความหวังว่า
            จะหายจากโรค หากสิ่งที่พวกเขาได้รับกลับเป็นมากกว่าการหาย ก็คือการที่ผู้ป่วยรับรู้ถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของความ
            เป็นมนุษย์ของตนเองที่เกิดมาในชั่วชีวิตหนึ่ง ภูมิใจในตัวเองเมื่อย้อนนึกถึงอดีตที่ผ่านมาและพร้อมที่จะเผชิญกับภาวะ

            วิกฤติใดๆ ก็ตามที่ผ่านเข้ามาในชีวิต อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งด้านความผาสุกทางจิตวิญญาณ
            อยู่ในระดับสูงมากจากการมีศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ









































                                           รูปภาพที่ 8. แบบจ�าลองอโรคาฐิตะโมเดล

                    ทั้งนี้คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน�้าดีนั้นมีหลายระดับ ได้แก่ สูง ปานกลาง และต�่า

            เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งท่อน�้าดีส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลงในทุกๆ
            ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความผาสุกทางร่างกาย เช่น อาการ
            ปวดท้อง ท้องโต แน่นท้อง คันตามตัว มีไข้สูงหนาวสั่น ส่งผลให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตร
            ประจ�าวันได้ตามปกติเนื่องจากการถูกรบกวนด้วยอาการไม่พึงประสงค์  ความวิตกกังวลทั้งจากภาวะของโรค
            กลัวไม่หาย กลัวโรคกลับเป็นซ�้า ภาวะกลัวตาย และภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความผาสุกทางจิตใจลดลง และ
            เนื่องจากผู้ป่วยมักแยกตัวออกจากสังคม ท�าให้ความผาสุกด้านสังคมลดลงตามไปด้วย
                    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล อันประกอบด้วย อาการของโรค ความเข้มแข็ง
            ในการมองโลก ความรู้สึกไม่แน่นอน ภาวะการท�าหน้าที่ การเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการกับอารมณ์ และกิจกรรม
            ที่สัมพันธ์กับศาสนา และปัจจัยภายนอก ได้แก่ แรงสนับสนุนจากสังคม และพฤติกรรมการดูแลของครอบครัว ดังนั้น

            การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจึงมุ่งที่การดูแลแบบองค์รวมที่มุ่งเพิ่มปัจจัยทางบวกและลดปัจจัยทางลบ กล่าวคือ
            การเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคมหรือครอบครัว พัฒนาพฤติกรรมการดูแลของครอบครัว ส่งเสริมความเข้มแข็ง
            ในการมองโลก พัฒนาภาวะการท�าหน้าที่ และส่งเสริมการปฏิบัติกิจกรรมที่สัมพันธ์กับศาสนา รวมถึงการลด
            หรือป้องกันการเกิดอาการของโรค การลดความรู้สึกไม่แน่นอน และลดการจัดการความเครียดโดยใช้อารมณ์ให้น้อย
            ที่สุด
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60