Page 52 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 52
แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน 51
ปัญหาของการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยชุมชนแบบบูรณาการ
- ทัศนคติและกระบวนทัศน์ของผู้ให้บริการจ�านวนมาก ยังไม่ให้ความส�าคัญกับการดูแลผู้ป่วยแบบ
ประคับประคองแบบองค์รวมแบบบูรณาการ เช่น คิดว่าการดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีทางรอดเป็นการเสียเวลา ควรเอาเวลาไป
ดูแลผู้ป่วยที่มีโอกาสรอดจะดีกว่า คิดว่าการจัดการอาการปวด ไม่สุขสบายต่างๆ จ�าเป็นต้องใช้ยาเท่นั้นเช่น มอร์ฟีน
ในการจัดการอาการปวด เป็นต้น
- ขาดทีมดูแลแบบสหสาขา (แพทย์ พยาบาล แพทย์แผนไทย เภสัชกร นักโภชนาการ นักจิตวิทยา
นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น) ส่งผลให้การดูแลไม่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
- ขาดทักษะที่จ�าเป็น เช่น ทักษะการสื่อสาร การให้ค�าปรึกษาเกี่ยวกับการตาย (dead and dying
consulting) การดูแลเกี่ยวกับภาวะใกล้ตายและความโศกเศร้าหลังการตาย การจัดการอาการโดยไม่ใช้ยาหรือเมื่อ
ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล การช่วยให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น หรือผ่อนคลายความทุกข์จากการ
สูญเสีย และด�าเนินชีวิตต่อไปได้ เป็นต้น รวมถึงการจัดการความพร้อมของผู้ดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
- ขาด consultation service team
- ขาดการเอาใจใส่ดูแลสภาพจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกของญาติและครอบครัวผู้ป่วย ซึ่งเป็นผู้ได้รับ
ผลกระทบจากการเจ็บป่วยเช่นกัน
แนวทางการแก้ไขปัญหา
- ปรับทัศนคติ กระบวนทัศน์ที่มีต่อการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของผู้ดูแลและทีมสหวิชาชีพ ทั้งแพทย์
พยาบาล แพทย์แผนไทย และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ รวมถึงญาติผู้ป่วย ให้เห็นความส�าคัญของการดูแลผู้ป่วย
แบบประคับประคองแบบบูรณาการแบบองค์รวม เพื่อให้ทุกวินาทีที่เหลืออยู่ของผู้ป่วยเป็นช่วงเวลาที่มีค่ามากที่สุด
- ควรมีการประเมินผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับวัฒนธรรมของการเจ็บป่วย การรักษา การเผชิญความตาย
การบอกความจริง เพื่อให้รู้ว่าควรบอกความจริงอย่างไร และควรให้ญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพียงใด
- ควรมีระบบสนับสนุนในการช่วยดูแลสภาพจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกของญาติหรือผู้ดูแล โดยการประเมิน
ปัญหา ช่วยหาทางแก้ไข รวมทั้งดึงให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในทีมดูแลผู้ป่วยที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
มีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลอย่างเป็นระบบและชัดเจน
- ก่อนให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ดูแลควรตรวจสอบสภาพจิตใจของตน
ว่าพร้อมให้บริการหรือไม่ รวมทั้งท�าความเข้าใจว่าแม้จะพยายามเต็มที่ที่จะช่วยเหลือผู้ป่วย แต่บางครั้งผลที่ได้
อาจไม่สวยงามดั่งหวัง ก็ควรท�าใจให้ยอมรับเพื่อไม่ให้เกิดความอึดอัดคับข้องใจและเป็นทุกข์ เพราะบางครั้งอาจต้อง
อาศัยความร่วมมือหรือเหตุปัจจัยหลายๆ อย่างเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
- ผู้ให้บริการควรตระหนักเสมอว่าสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุด คือ การดูแลเอาใจใส่ ความเอื้ออาทร ห่วงใย
การถ่ายเทความรู้สึกเพื่อให้เห็นว่าผู้ป่วยและเราต่างเป็นเพื่อนมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเหมือนกัน โดยให้การดูแลในลักษณะ
การจัดการดูแลความไม่สุขสบาย เน้นความสุขสบายทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และดุแลเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง
(cure sometime, comfort often, and care always)
- บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ให้บริการควรเชื่อมั่นในความรู้สึกดีๆ ที่มีให้แก่ผู้ป่วย รวมทั้งต้องมุ่งมั่น อดทน
และตั้งใจจริงในการที่จะดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองให้ไปสู่ปลายทางของการตายอย่างสงบได้ในที่สุด
โดยสรุป การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองโดยชุมชนแบบบูรณาการมีความจ�าเป็น
ที่ไม่อาจจะละเลยได้ และจ�าเป็นต้องท�าควบคู่ไปกับการสร้างทีมและกระบวนการท�างานที่ดี ที่ส�าคัญคือ จะต้องท�าให้
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่องที่บ้านเป็นนโยบายระดับชาติ เพื่อให้ทุกโรงพยาบาล
ออกแบบและจัดระบบรองรับให้สอดคล้องกัน การท�างานจึงจะเกิดผลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน