Page 47 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 47
46 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
1.3 การสร้างความร่วมมือเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยชุมชน
(1) การสร้างความร่วมมือเครือข่ายทางสังคมและจิตอาสา
การช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี จ�าเป็นต้องมีระบบการดูแลที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้าน
ร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ซึ่งต้องอาศัยการท�างานของหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย สหวิชาชีพ
ครอบครัวของผู้ป่วย จิตอาสาและเครือข่ายทางสังคมในชุมชน
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยบริการกับชุมชนและเครือข่ายทางสังคม ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร
แพทย์แผนไทย นักกายภาพบ�าบัด บุคลากรสาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�าบล (รพ.สต.) อาสา
สมัครสาธารณสุขประจ�าหมู่บ้าน (อสม.) จิตอาสา และหน่วยงานหรือองค์กรในชุมชน ผู้น�าชุมชน พระสงฆ์ องค์กร
ปกครองท้องถิ่น (อปท.) ฯลฯ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชนได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ
กระบวนการ
1) ผู้ประสานงานพัฒนาทีมของโรงพยาบาลชุมชนขึ้นมา ซึ่งทีมนี้จะต้องท�างานเชื่อมโยงกับชุมชน และท�างาน
กับ รพ.สต.และโรงพยาบาลชุมชน จึงต้องเน้นทีมแพทย์ พยาบาล แพทย์แผนไทยและสหวิชาชีพ ที่ออกเยี่ยมบ้าน
หรือที่สนใจท�างานชุมชน
2) มอบหมายผู้ประสานงานขับเคลื่อนงานในภาพรวม
3) ค้นหาว่าในชุมชนมีใครบ้างที่จะเป็นกัลยาณมิตรในการดูแลและร่วมกันพัฒนาระบบการดูแลที่เหมาะสม
กับชุมชน (โดยมีโรงพยาบาลชุมชนท�าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง)
4) ท�าความเข้าใจเป้าหมายกระบวนการท�างาน และแนวทางการหนุนเสริมซึ่งกันและกัน
5) ก�าหนดพื้นที่เป้าหมาย โดยพิจารณาจากความพร้อมของคนท�างาน มีผู้ประสานงานในชุมชนที่เข้มแข็ง
และมีทัศนคติที่เกื้อกูลต่อการท�างานร่วมกันเป็นเครือข่าย
6) ค้นหาคนในชุมชนที่พร้อมเข้าร่วมกับทางโรงพยาบาล และให้เข้าฝึกอบรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล
ที่รับผิดชอบชุมชนนั้นๆ
7) เมื่อฝึกอบรมแล้วจะต้องลงท�างานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
แนวทางการสร้างความร่วมมือ
1) สร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจ
ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองโดยชุมชน หลังจากระบุกลุ่มเป้าหมาย
และคัดเลือกคนเข้าร่วมแล้ว สิ่งส�าคัญประการต่อมาคือการสร้างสัมพันธภาพและความเป็นหุ้นส่วนให้กับทีม เป็นการ
สร้างความสัมพันธ์แนวราบหรือ “สมดุลของพลังอ�านาจ” ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีสถานภาพแตกต่างกัน
การสร้างทีมที่แท้จริง จึงต้องปรับทัศนคติให้ต่างฝ่ายต่างเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน จนเกิดความรู้สึกมั่นใจว่า สมาชิก
ทุกคนคือหุ้นส่วนในการท�างาน และ “เรา” คือส่วนหนึ่งของทีม ซึ่งต้องคิด วางแผนและลงมือท�า และรับผลของ
สิ่งที่เกิดขึ้นร่วมกัน
บุคคลากรสาธารณสุขจ�าเป็นต้องปรับความคาดหวังของตัวเองว่า จิตอาสาหรือชาวบ้านไม่ใช่เจ้าหน้าที่
สาธารณสุข เขาไม่จ�าเป็นต้องมีความรู้ด้านพยาบาล แต่เขาสามารถเป็นตัวของตัวเองและใช้ศักยภาพที่ตัวเองมี
สนับสนุนการท�างานของทีมได้ เพราะจุดแข็งของจิตอาสา คือ ความใกล้ชิดชุมชน เข้าใจวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม
ชุมชนเป็นอย่างดี การไม่มีความรู้เรื่องโรค เรื่องยา จึงไม่ใช่ข้อจ�ากัด เพราะการท�างานเป็นทีม คือการน�าศักยภาพ
ที่มีอยู่มาร่วมมือสนับสนุนการท�างานซึ่งกันและกัน
จิตอาสาไม่ใช่ลูกน้องที่มารับค�าสั่ง หรือมีหน้าที่ไปเยี่ยมผู้ป่วยภายใต้การก�ากับดูแลของบุคคลากรสุขภาพ แต่
ทุกคนก�าลังสนับสนุนช่วยเหลือการท�างานอย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้คนไข้และครอบครัวได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
การมีทัศนคติเช่นนี้ท�าให้เกิดความรู้สึกชื่นชมและเคารพในความแตกต่างหลากหลายของเพื่อนร่วมทีม ส่งเสริมให้
เกิดสัมพันธภาพในแนวราบ ท�าให้การรวมตัวมีความหมายและศรัทธาที่จะเดินไปด้วยกัน พร้อมฝ่าฟันอุปสรรคและ
พร้อมที่จะเรียนรู้ไปด้วยกัน