Page 46 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 46
แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน 45
ทางด้านสุขภาพในปัจจุบันยังคงมีมุมมองที่ให้ความส�าคัญต่อการควบคุมค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพว่ามีความคุ้มค่า
ระหว่างต้นทุนต่อผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ โดยที่การประเมินผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพเป็นการประเมินตามระเบียบ
วิธีการประเมินทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แบบตะวันตก ท�าให้ผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองส�าหรับผู้ป่วย
มะเร็งระยะสุดท้ายโดยชุมชนเป็นฐานตามโมเดลวัดค�าประมง ซึ่งมิได้มุ่งเน้นเฉพาะการยืดชีวิตของผู้ป่วยให้ยืนยาว
ต่อไปเท่านั้น แต่ยังมุ่งผลลัพธ์คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่เป็นองค์รวมทั้งทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ โดยที่
ระเบียบวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพแบบการแพทย์ตะวันตกยังมีข้อจ�ากัดในการประเมินผลลัพธ์ที่เป็น
ประเด็นเชิงคุณภาพ และการแพทย์แผนไทยมีทฤษฎีแนวคิดพื้นฐานที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพของ
การดูแลแบบประคับประคองโมเดลวัดค�าประมง จึงถูกประเมินว่ายังขาดข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แบบ
การแพทย์ตะวันตกที่เพียงพอว่า มีประสิทธิผลคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพและการลงทุนทางด้านสุขภาพเพื่อ
ขยายผลให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น จึงจ�าเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริหาร ผู้ก�าหนดนโยบายด้าน
สุขภาพให้มีความเหมาะสม สอดคล้องต่อไป
การเผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้ป่วย ญาติ ตลอดจนภาคีเครือข่าย
ของชุมชนนักวิชาการ กลุ่มประชาสังคม สื่อสารมวลชน จิตอาสาที่เข้าร่วมในการดูแลผู้ป่วย ควรมีการระดม
การสนับสนุนจากภาคเอกชน เครือข่ายสื่อมวลชน ได้เข้ามาช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลให้ปรากฏเป็นประเด็นสาธารณะ
ในสังคม น�าไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างกว้างขวาง เผยแพร่ข้อมูลการศึกษาวิจัย ข้อมูลทางวิชาการเพื่อให้เป็น
หลักฐานเชิงประจักษ์ให้แพร่หลายอย่างจริงจัง เพื่อให้สังคมได้เกิดความตระหนัก รับรู้ เห็นความส�าคัญและน�าไปสู่
การผลักดันให้เกิดความเคลื่อนไหวทางสังคมและทางการเมือง เป็นการสร้างนโยบายสาธารณะโดยผ่านการมีส่วนร่วม
เรียนรู้ทางสังคมอย่างเข้มแข็งต่อไป
การสร้างทีมผู้บริหารหน่วยบริการในพื้นที่เพื่อให้เกิดความตระหนักรับรู้สถานการณ์ สภาพปัญหาร่วมกัน
เพื่อให้มีทัศนคติ เจตคติที่เหมาะสม เป็นจุดเริ่มต้นของการเสริมสร้างการสนับสนุนเชิงนโยบายในระดับพื้นที่และ
พัฒนาภาวะผู้น�าแบบร่วมหมู่ขึ้น ทั้งนี้สามารถน�ารูปแบบของภาวะผู้น�าที่ปรากฏแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดของโมเดล
วัดค�าประมง มาใช้เป็นกรณีศึกษา เป็นต้นแบบ (Role Model) โดยใช้การศึกษาดูงาน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่
มุ่งเน้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริง เพื่อการปรับเปลี่ยนเจตคติ (Participatory Action Attitude
Training Program) มากกว่าการเรียนรู้ด้านวิชาการและทฤษฎีแต่เพียงด้านเดียวเท่านั้น
7. การมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Participation)
การมีส่วนร่วมของชุมชน ครอบครัว อาสาสมัคร จิตอาสาที่เป็นบุคลากรสาขาต่างๆ เป็นหัวใจส�าคัญของ
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองโดยชุมชนโมเดลวัดค�าประมง การมีส่วนร่วมของชุมชนและ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�าหมู่บ้านเป็นกลไกส�าคัญที่ช่วยท�าให้เกิดความส�าเร็จในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข
ที่ส�าคัญในอดีตของประเทศไทยมาอย่างชัดเจน ปัญหาและความท้าทายทางด้านสุขภาพที่สังคมไทยก�าลังเผชิญอยู่
เช่น ความเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนผ่านทางระบาดวิทยา
ที่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ ท�าให้มี
แนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มมากขึ้น การดูแลแบบประคับประคองส�าหรับผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยติดเตียงอื่นๆ
จะเป็นความต้องการและความจ�าเป็นทางด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก และหากขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน
ครอบครัว ญาติ อาสาสมัคร จิตอาสาต่างๆ ที่เข้มแข็ง การดูแลแบบประคับประคองโดยสถานบริการทางการแพทย์
และสาธารณสุขเป็นหลักในการดูแล จะสร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่ระบบสุขภาพของประเทศอย่างมหาศาล โดยมีผลลัพธ์
ทางด้านสุขภาพที่ไม่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย ญาติ และครอบครัวได้ไม่ดีเท่าที่ควร
การสร้างเครือข่ายของผู้ป่วยที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ญาติ ครอบครัว อาสาสมัคร จิตอาสากลุ่มต่างๆ และชุมชนให้มี
ความเข้มแข็ง มีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง จะท�าให้เกิดเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนร่วม
ในการดูแลแบบประคับประคองแบบบูรณาการส�าหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายและผู้ป่วยติดเตียง และควรจะได้น�า
เอาประสบการณ์ที่ได้จากการช่วยเหลือดูแลตนเอง ดูแลผู้อื่นมาใช้ต่อยอดและถ่ายทอดสร้างความรู้ความเข้าใจและ
พัฒนาขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่สามารถน�าไปใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
แบบบูรณาการโดยชุมชนเป็นฐานแบบอโรคยศาล วัดค�าประมง ให้แพร่หลาย และขยายผลออกไปให้เกิดประโยชน์
ต่อคนไทยและมวลมนุษยชาติต่อไป