Page 44 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 44
แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน 43
บริการที่จัดให้มีบริการการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง มีการจัดยาสมุนไพรเพื่อใช้ในการดูแล
และบ�าบัดอาการต่างๆ อาจจ�าเป็นต้องมีฝ่ายเภสัชกรหรือแพทย์แผนไทยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องเภสัชกรรม
ไทย ทั้งในเรื่องการจัดยา การบริหารเวชภัณฑ์ หรือยาแผนไทยต�ารับต่างๆ และหากมีการผลิตยาในหน่วยบริการ
นั้นๆ ก็จะต้องมีความรู้ในเรื่องของการปรุงยา การคัดเลือกวัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบสมุนไพรและยาแผนไทยให้อยู่
ในสภาพที่มีความสะอาด ปลอดภัย และสามารถใช้กับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นทั้งแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก จึงจ�าเป็นต้องได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติมและมีการเรียนรู้ในลักษณะ
ที่เป็นทีมสหวิชาชีพ ในเรื่องของหลักการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง และการจัดการอาการเจ็บปวด
โดยใช้สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือกในการบรรเทาอาการและสร้างความเข้มแข็ง เพื่อท�าให้จิตใจไม่เผชิญกับความ
หดหู่ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงน�าไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าและเกิดผลกระทบทางด้านจิตใจตามมา โดยการศึกษาจากรูป
ธรรม การศึกษาดูงานในหน่วยบริการที่มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบองค์รวม การจัดบริการการ
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น รูปแบบของอโรคยศาลวัดค�าประมง ซึ่งเป็นรูปธรรมที่
สามารถน�าทีมสหสาขาวิชาชีพมาศึกษาดูงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้หากมีรูปแบบการบริหารงานบุคคล ในลักษณะ
ที่ใช้อาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่อาจจะมาช่วยปฏิบัติงานในลักษณะที่เป็นจิตอาสา มิได้อยู่ประจ�าในหน่วยบริการ
นั้นๆ จ�าเป็นจะต้องจัดท�าระบบข้อมูลบัญชีผู้เชี่ยวชาญ และเปิดช่องทางให้มีการระบุวันเวลาในการที่จะปฏิบัติงาน
เป็นอาสาสมัคร มีระบบการจัดการที่สะดวกและเอื้ออ�านวย ดูแลในเรื่องการเดินทาง การบริการที่พัก รวมทั้งระบบ
สวัสดิการอื่นที่จ�าเป็นในการท�าหน้าที่เป็นอาสาสมัครในหน่วยบริการนั้นๆ จะท�าให้การบริหารงานบุคคลเป็นไปอย่าง
มีประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าแรงของบุคลากรได้อีกด้วย
3) นักกิจกรรมบ�าบัดและนักโภชนบ�าบัด และบุคลากรสนับสนุน
นักกิจกรรมบ�าบัด เป็นบุคลากรที่ท�าหน้าที่เป็นผู้ประสานงานที่ส�าคัญ เพื่อให้เกิดการจัดกิจกรรมบ�าบัดในด้าน
ต่างๆ เช่น สมาธิบ�าบัด การออกก�าลังกาย การปฏิบัติกายบริหาร การใช้ศิลปะสาขาต่างๆ เพื่อการบ�าบัดทางด้าน
สุขภาพ เช่น การวาดภาพ การร้องเพลง หัวเราะบ�าบัด การใช้สัตว์เลี้ยงเพื่อการบ�าบัด อีกทั้งเป็นผู้ดูแลบรรยากาศ
ในระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ในหน่วยบริบาลผู้ป่วย เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ผ่อนคลาย สนุกสนาน ร่าเริง เสริมสร้างขวัญ
และก�าลังใจ ส่งเสริมให้มีการคิด การพิจารณาประเด็นต่างๆ เป็นการคิดในทางบวก และต้องไม่สร้างแรงกดดันทาง
ด้านจิตใจให้เกิดความรู้สึกหดหู่ต่อสภาพการเจ็บป่วยที่เผชิญหน้าอยู่ นอกจากนี้นักกิจกรรมบ�าบัดยังช่วยส่งเสริมให้มี
การจัดกิจกรรม ให้ผู้ป่วยได้มีการปลดปล่อยปมที่ค้างคาอยู่ในใจ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายและไม่หลงยึดติดกับความเจ็บ
ป่วย ความทุกข์ทรมานในอดีตที่ผ่านมา
อาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปราศจากสารพิษสิ่งปลอมปนต่างๆ เป็นปัจจัยการด�ารงชีวิตที่ส�าคัญ และมี
ผลต่อสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย นักโภชนบ�าบัดจึงเป็นบุคลากรที่มีความส�าคัญอย่างมาก แต่เนื่องจากเป็นบุคลากรที่
มีความขาดแคลน จึงอาจใช้บุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นๆ เช่น พยาบาล แพทย์แผนไทย เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติม
ในด้านโภชนบ�าบัด โดยเฉพาะเป็นรูปแบบของธรรมชาติบ�าบัด การส่งเสริมให้ผู้ป่วยและญาติ มีการปลูกผักสวนครัว
ด้วยตนเองโดยไม่ใช้สารเคมี หรือยาฆ่าแมลง ก็จะเป็นอาหารที่มีความส�าคัญต่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งระยะ
สุดท้ายได้เป็นอย่างดี
บุคลากรด้านสนับสนุน เช่น คนงานที่จะช่วยดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย มีการจัดท�าสวนสมุนไพร แปลง
ผักสวนครัว และยังช่วยดูแลในด้านสวัสดิภาพ สวัสดิการให้แก่เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร จิตอาสาที่มาปฏิบัติงาน จึงเป็น
บุคลากรที่ควรมีความตระหนัก รับรู้และเข้าใจผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในลักษณะที่มีความเห็นอกเห็นใจ ให้การดูแล
เกื้อหนุนให้ผู้ป่วยได้เกิดความเข้มแข็ง สามารถเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี
4. ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการก�ากับติดตามประเมินผล (Effective Health Management
Information System)
ระบบข้อมูลสารสนเทศ เป็นองค์ประกอบที่มีความส�าคัญและจ�าเป็นอย่างยิ่งส�าหรับการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
ระยะสุดท้าย ประกอบด้วยระบบข้อมูลเพื่อการประเมินสุขภาพ คุณภาพชีวิตในระดับบุคคล ได้แก่ ข้อมูลเวชระเบียน
ทั้งทางด้านแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก นอกจากนี้ควรเพิ่มเติมข้อมูลจากการประเมิน
คุณภาพชีวิต การประเมินระดับความพึ่งพิง และความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง แบบประเมินระดับความปวด