Page 40 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 40

แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน  39



            (Community Participation) ในประเทศไทยจึงได้พัฒนาต่อยอดแนวคิดดังกล่าวเพิ่มเติมเป็น 7 องค์ประกอบ
            (Six Building Blogs Plus) (ดัดแปลงจาก “Building on health systems frameworks for developing a common
            approach to health systems strengthening: World Bank. 2009. และ Monitoring the Building Blogs of
            Health Systems: WHO. 2010.)

                    อย่างไรก็ตามควรได้น�าแนวคิดการพัฒนาระบบสุขภาพดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ตามสภาพเงื่อนไข
            บริบทของแต่ละพื้นที่ โดยน�าประสบการณ์และรูปแบบการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
            (Palliative Care) ส�าหรับผู้ป่วยมะเร็งท่อน�้าดี ในโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานด้านมะเร็ง
            สกลนคร อโรคยศาลวัดค�าประมง (โมเดลวัดค�าประมง) มาประกอบด้วย จึงได้แนวทางการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุน
            รูปแบบการจัดบริการการดูแลแบบประคับประคองตามรายละเอียดดังต่อไปนี้


            1. การก�าหนดปัญหาสุขภาพและรูปแบบการบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ (Determine Health
            Need and Service Delivery)

                    ปัญหาและความจ�าเป็นทางด้านสุขภาพส�าหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย  นอกจากต้องการการดูแล
            ทางด้านร่างกายโดยใช้เทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุขที่เหมาะสมแล้ว ยังจ�าเป็นต้องได้รับการดูแลในมิติ
            ทางด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณด้วย ทั้งนี้เป็นที่ตระหนักและยอมรับโดยทั่วไปว่า ระบบบริการทางการแพทย์
            ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับการจัดการปัญหาและความจ�าเป็นทางด้านสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
            ได้อย่างมีประสิทธิภาพและท�าให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ อีกทั้งการมุ่งเน้นการดูแลโดยใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์
            ยังมีค่าใช้จ่ายสูงมากเกินกว่าที่ระบบการเงินการคลังสุขภาพของประเทศจะรองรับได้ และน�าไปสู่ภาวะล้มละลาย

            ทางการเงินของผู้ป่วยและครอบครัว โดยมีผลตอบแทนทางสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ด้อยประสิทธิภาพ
                    รูปแบบการบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ส�าหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย  จึงควรเป็นรูปแบบที่มุ่งเน้น
            ที่ความพึงพอใจ ความสุขกายสุขใจ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว มากกว่าการมุ่งเน้นที่ผลของการรักษา
            โดยใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งระยะ
            สุดท้ายควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมะเร็งได้
            อย่างมีสติ เตรียมตัว เตรียมใจให้มีความพร้อมส�าหรับการเสียชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข ไม่มีความทุกข์ทุรนทุราย
            จนเกินควร  ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นขีดความสามารถที่มนุษย์ทุกคนควรพัฒนาให้มีไว้ประจ�าตัวประจ�าครอบครัว
            เพราะท้ายที่สุดทุกคนก็ล้วนหลีกหนีความตาย ความพลัดพรากและความสูญเสียไปไม่พ้น การบริการดูแลสุขภาพ
            เพื่อรองรับการเข้าสู่ภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต เพื่อให้เกิดการตายอย่างมีคุณภาพ (Good Death) จึงเป็นส่วนขาด

            ที่ส�าคัญ ที่จะต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างครอบคลุมในระบบสุขภาพของประเทศไทยและทั่วโลกในปัจจุบัน
                    การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่มีความครอบคลุมทั้งมิติทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณนั้น
            จ�าเป็นต้องมีการบูรณาการผสมผสานศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
            อื่นๆ ร่วมกัน โดยให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เทคโนโลยีการแพทย์ที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
            ระยะลุกลาม ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การฉายรังสี เคมีบ�าบัด และการรักษาที่มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป เป็นที่
            ยอมรับในประสิทธิผลการรักษาว่าช่วยยืดอายุขัยให้ยืนยาวเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถใช้อย่างได้ผลดี
            กับผู้ป่วยทุกราย ผู้ป่วยจ�านวนมากที่ไม่สามารถทนรับความทุกข์ทรมานจากผลข้างเคียงของการรักษาทางการแพทย์

            ได้ อีกทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์เหล่านี้มีราคาแพงมากจนไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ ปัจจุบันมีงานศึกษาวิจัย
            จ�านวนมากที่ชี้ให้เห็นผลดีของการดูแลรักษามะเร็งแบบการแพทย์บูรณาการผสมผสาน (Integrative Medicine)
            โดยเฉพาะผลลัพธ์ทางด้านคุณภาพชีวิต ความพึงพอใจและความสุขทั้งมิติทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ
            โดยเห็นได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมดังตัวอย่างผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งของอโรคยศาล วัดค�าประมง
                    การดูแลบ�าบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองของอโรคยศาล วัดค�าประมง ใช้หลัก
            ของธรรมชาติบ�าบัด โดยใช้การแพทย์แผนไทยและต�ารับยาสมุนไพร ร่วมกับการใช้การแพทย์ทางเลือก โภชนบ�าบัด
            สมาธิบ�าบัด ดนตรีบ�าบัด สัตว์เลี้ยงบ�าบัด และการบ�าบัดอื่นๆ ที่หลากหลาย ปรับเปลี่ยน ดัดแปลงให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
            แต่ละราย การบ�าบัดรักษาแบบประคับประคองจึงเป็นบริการดูแลสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Health Care)
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45