Page 37 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 37
36 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
ต�ารับยาพอก (ยาแก้ไข้พิษไข้กาฬ (คัมภีร์ตักศิลาในต�าราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์, 2504)
ส่วนประกอบยา กระเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด (หรือรากมันปู)
รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ
รากผักหวานบ้าน สิ่งละ 1 บาท
วิธีท�า/วิธีใช้ บดเป็นผงผสมน�้าซาวข้าว พอกบริเวณที่มีการอักเสบร้อนหรือเกิดอาการแพ้ขึ้นผดผื่น ใน
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับที่มีอาการบวมท้อง มีการอักเสบภายใน (ตรวจได้โดยการสัมผัสผู้ป่วย
บริเวณที่มีการอักเสบภายใน ผิวด้านนอกจะมีอาการร้อนมากกว่าพื้นผิวทั่วไป) โดยใช้พอก
บริเวณที่อักเสบให้หนาประมาณครึ่งเซนติเมตร ไล่ไปรอบๆ ลดความหนาของชั้นยาลง เมื่อ
พอกเสร็จให้ใช้ผ้าปิดไว้ จนกว่ายาจะแห้งแล้วให้เช็ดออก ช่วยดูดพิษ ลดการอักเสบและ
อาการแน่นท้องได้
สรรพคุณ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ มะเร็งตับ ตับอักเสบและท้องบวม
การประเมินผลการรักษา
- ถ้ามีอาการของฝี ไอ ถ่ายผิดปกติ อาการไม่สุขสบายต่างๆ ควรหายไปหรือดีขึ้น
- การใช้ชีวิตประจ�าวันต่างๆ ดีขึ้น เช่น การนอนหลับพักผ่อน การขับถ่ายดีขึ้น การรับประทานอาหารได้
มากขึ้น หรือบางอาการหายเป็นปกติ
ค�าแนะน�าการปฏิบัติตน
1. การก�าหนดมื้ออาหาร บางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการอาหารไม่ย่อย แน่นท้อง ท้องอืดได้ง่าย ท�าให้ไม่สามารถ
รับประทานอาหารในปริมาณเท่ากับคนปกติ จึงควรกระจายมื้ออาหารจากปกติ 3 มื้อ เป็น 5-6 มื้อ เช่น จากเดิมรับ
ประทานอาหาร 3 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น ก็เพิ่มเป็น เช้า ว่างเช้า กลางวัน ว่างบ่าย เย็น ก่อนนอน
2. รับประทานผักและผลไม้ตามฤดูกาล หลีกเลี่ยงของที่เผ็ดหรือร้อนมาก เช่น ทุเรียน ล�าไย ฯลฯ
3. รับประทานโปรตีนที่ได้จากธัญพืช ไข่ เนื้อปลา (ยกเว้นปลาก้างแข็ง ปลาไม่มีเกล็ด)
4. ดื่มน�้าสะอาดให้มาก ในกรณีที่มีภาวะท้อง/ขาบวม ให้ดื่มพอประมาณ
5. การดื่มน�้าสมุนไพร เช่น บัวบก ใบย่านาง ใบเตย ฯลฯ
6. ควรหลีกเลี่ยงของหมักดอง อาหารส�าเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
7. หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ หรืออาหารที่ย่อยยาก
8. ในกรณีของมะเร็งกลุ่มทางเดินอาหารที่มีภาวะร้อนในช่องท้อง เช่น บริเวณตับ ล�าไส้ แนะน�าให้พอกยา
สมุนไพรเบื้องต้น เช่น ปูนแดงผสมใบย่านาง เพื่อลดพิษร้อน
9. แนะน�าเรื่องอื่นๆ เช่น การรักษาความสะอาด การสวดมนต์ นั่งสมาธิ การคลายเครียด เป็นต้น
10. ญาติต้องแสดงความสนใจดูแลผู้ป่วยทั้งกายและใจ โดยให้ขวัญและก�าลังใจซึ่งมีผลต่อการรักษาโรค
เรียกว่า “จิตบ�าบัด”
การออกก�าลังกาย
การออกก�าลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย จะช่วยให้ระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารท�างานได้ดีขึ้น ควร
เลือกการออกก�าลังกายที่ไม่หักโหมมากเกินไป เช่น ท่าฤาษีดัดตน ชี่กง ซึ่งเป็นท่าการออกก�าลังกาย โดยเคลื่อนไหว
ร่างกายอย่างช้าๆ ควบคู่กับการหายใจ เข้า- ออก ช้าๆ อย่างมีสติและสมาธิร่วมด้วย ท�าให้ร่างกายตื่นตัว แข็งแรง
และเป็นการพักผ่อน ซึ่งท่าต่างๆ ที่ใช้ยังมีผลในการรักษาโรคเบื้องต้นได้ (ดูในภาคผนวก)