Page 41 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 41
40 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
เป็นการน�าจุดแข็ง ข้อดีของระบบการแพทย์การดูแลทุกแขนง ทุกระบบมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการ
ดูแลบ�าบัดรักษาผู้ป่วย จึงเป็นระบบบริการสุขภาพที่ต้องมีความยืดหยุ่นสูง ใช้ทีมบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ
ที่มีความใจกว้าง เปิดใจยอมรับสาขาวิชาอื่นมาท�างานร่วมกันเป็นทีม ไม่ติดยึด ยึดมั่นถือมั่นในองค์ความรู้
ความเชี่ยวชาญในเฉพาะสาขาวิชาของตนเอง โดยมุ่งเน้นประโยชน์และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นส�าคัญ
โดยที่ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ล้วนถูกครอบง�าจากอุตสาหกรรม
ยาข้ามชาติ ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการก�าหนดนโยบายสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยผ่านกลไก
การจัดการศึกษาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การวิจัยค้นคว้าทางการแพทย์และสาธารณสุข
การพัฒนาเทคโนโลยีการักษาพยาบาลและยาใหม่ การก�าหนดมาตรฐานในด้านต่างๆ ซึ่งล้วนท�าให้ค่าใช้จ่าย
ด้านสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจนเกินกว่าที่สังคมจะแบกรับได้ รูปแบบการดูแลบ�าบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
ของอโรคยศาล วัดค�าประมงจึงเป็นทางเลือกหรือทางรอดให้แก่ระบบสุขภาพของไทยและของโลกได้ ในการใช้
จ่ายและลงทุนในราคาที่จ่ายได้ โดยได้รับผลตอบแทนทางด้านสุขภาพ คุณภาพชีวิต และความสุขของผู้ป่วยมะเร็ง
ระยะสุดท้ายที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
2. ก�าหนดมาตรการและเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เหมาะสม (Health and
Medical Technologies)
มาตรการและเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เหมาะสมกับการดูแลบ�าบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
ระยะสุดท้าย ของอโรคยศาล วัดค�าประมง ใช้หลักการผสมผสานบูรณาการองค์ความรู้ศาสตร์ทางการแพทย์
ทั้งการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ โดยเน้นหลักธรรมชาติบ�าบัด ปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการด�าเนินชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวให้เหมาะสมกับการสร้างเสริมสุขภาพ เสริมภูมิต้านทาน เพื่อให้
ร่างกายของผู้ป่วยมีการฟื้นฟูบ�าบัดรักษาอาการและโรคต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขตามศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย
มะเร็งระยะสุดท้ายของอโรคยศาล วัดค�าประมง จึงเป็นการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขพื้นฐานที่จ�าเป็น
ต่อการดูแลบ�าบัดรักษาอาการเจ็บป่วยโดยทั่วไป เช่น การตรวจร่างกาย ตรวจวัดสัญญาณชีพ อัตราการเต้นของหัวใจ
ความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย อัตราการหายใจ และการตรวจคัดกรองโรคทั่วไป และให้การรักษาตามสภาวะ
ความเจ็บป่วยเฉพาะแต่ละกรณีไป ส�าหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการกเป็นการตรวจที่ได้รับการสนับสนุนจาก
เครือข่ายหน่วยบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่งให้การสนับสนุน โดยส่งเจ้าหน้าที่มาท�าการตรวจ
ให้ หรือส่งตัวผู้ป่วยไปรับการตรวจรักษาในกรณีที่มีความจ�าเป็น ทั้งนี้มีการดูแลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบัน
อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์องค์ความรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มีแนวทางการ
ดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยการฟื้นฟูร่างกายให้กลับสู่ภาวะสมดุล เมื่อมีความสมดุลเกิดขึ้น จะท�าให้ร่างกายสามารถฟื้นฟู
บ�ารุง รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยกลไกการเยียวยาตนเองตามธรรมชาติ การแพทย์แผนไทยพิจารณา
โรคมะเร็งเป็นโรคเรื้อรัง ที่เกิดจากร่างกายเสียสมดุลระหว่างการก่อก�าเนิดขึ้นและการก�าจัดท�าลายไปของเซลล์มะเร็ง
ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นของเสียหรือตัวเชื้อชนิดหนึ่ง การเกิดขึ้นของเซลล์มะเร็งในร่างกายเป็นกระบวนการปกติ
ตามธรรมชาติ โดยมีการตรวจจับและท�าลายเซลล์มะเร็งเหล่านั้นในปริมาณที่สมดุลกัน สภาวะเช่นนี้ถือว่าเป็นปกติ
เซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในร่างกายและมีการเก็บท�าลายอย่างสมดุลกันจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาของร่างกาย เมื่อใดที่มี
การเสียสมดุลดังกล่าวไป ก็จะท�าให้เกิดโรคหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้น การบ�าบัดรักษามะเร็งด้วยการแพทย์แผนไทย
จึงใช้มาตรการต่างๆ เพื่อลดปัจจัยที่กระตุ้นส่งเสริมการเติบโตขยายเพิ่มจ�านวนเซลล์มะเร็งในร่างกาย โดยการใช้
ยาสมุนไพรหลากหลายต�ารับในการรุเอาของเสียซึ่งเป็นปัจจัยที่ท�าให้มีการเติบโตขยายตัวของเซลล์มะเร็งในร่างกาย
ใช้ยารสเย็นเพื่อควบคุมธาตุไฟ (ความร้อนหรือก�าเดา) ในร่างกายซึ่งเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้มีเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้น
ในทางกลับกันก็อาจใช้ยารสร้อนเพื่อกระตุ้นการท�างานของลมในร่างกายให้มีการเคลื่อนไหวได้โดยสะดวก ไม่มี
การติดขัด ซึ่งเป็นปัจจัยท�าให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคที่ดีขึ้นและเพิ่มความสามารถในการก�าจัดของเสียหรือเซลล์
มะเร็งเพิ่มขึ้นได้นั่นเอง