Page 45 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 45
44 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
และควรพัฒนาให้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลหรือเป็นระบบไฟล์อิเล็กโทรนิก (E-Information System)
เพื่อความสะดวกในการสืบค้น และน�าไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบและการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ ใน
อนาคต
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลสารสนเทศในลักษณะที่เป็นการรวบรวมจัดเก็บ วิเคราะห์ สังเคราะห์ในระดับมหภาค
ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยบริการที่มีการจัดบริการ โดยต้องมีการก�าหนดมาตรฐานของข้อมูล
สารสนเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะท�าให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่ง เข้ามาใช้ในการ
วิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษา ประเมินผล เปรียบเทียบ และน�าไปสู่การพัฒนาปรับปรุง
คุณภาพในการจัดบริการแบบประคับประคองส�าหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และการก�าหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง
ต่อไปในอนาคต รูปแบบของการใช้มาตรฐานข้อมูลร่วมกัน โดยอาจใช้ในระบบ Quality of Death Index ที่เป็นข้อมูล
ที่สามารถน�ามาใช้เปรียบเทียบร่วมกันได้ เป็นต้น
ระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีมาตรฐาน ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา สามารถน�าไปใช้ในการศึกษาวิจัยทั้งในทาง
คลินิก เพื่อประเมินความปลอดภัย ประสิทธิผลของการดูแลรักษา และใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบทางเศรษฐศาสตร์
สาธารณสุข เช่น การประเมินประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าของการดูแลแบบประคับประคองรูปแบบต่างๆ ข้อมูล
สารสนเทศที่มีคุณภาพยังสามารถน�าไปใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบในมุมมองต่างๆ ในหลากหลายมิติ เช่น
การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยบริการ ระหว่างรูปแบบการดูแลแบบประคับประคองในรูปแบบต่างๆ โดยใช้
สถานบริการเป็นฐานการดูแล (Institutional Care) เปรียบเทียบกับรูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานแบบอโรคยศาล
วัดค�าประมง เป็นต้น
5. ระบบการเงินการคลังสาธารณสุขที่เพียงพอและยั่งยืน (Affordable and Sustainable Health
Financial Support)
การบริการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นบริการที่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์
ตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่เนื่องจากมิได้มีการระบุการเบิกจ่ายชดเชยค่าใช้จ่ายส�าหรับการดูแล
แบบประคับประคองแบบบูรณาการที่บ้าน ครอบครัว และชุมชน เป็นฐานของการดูแล ท�าให้ภาระค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่
จึงตกอยู่กับผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาลมีราคาค่าใช้จ่ายที่
สูงมาก ท�าให้หน่วยบริการมีแนวโน้มที่จะละเลย ไม่มีการจัดบริการให้เพียงพอและครอบคลุม เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย
ในการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาลลง ท�าให้ผู้ป่วยและญาติถูกละเลยทอดทิ้งให้เผชิญกับความทุกข์ทรมาน
จากโรคร้ายโดยล�าพัง โดยที่ไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบการเบิกชดเชยค่าใช้จ่ายการดูแลแบบประคับประคองแบบบูรณาการ ส�าหรับผู้ป่วยมะเร็ง
ระยะสุดท้ายในรูปแบบการจัดการดูแลที่บ้านหรือครอบครัวและชุมชน จึงควรได้รับการแก้ไขให้มีการเบิกชดเชย
ค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม เพียงพอ โดยอาจใช้รูปแบบการเบิกชดเชยค่าใช้จ่ายในลักษณะเหมาจ่ายและมีการระดม
ทรัพยากรจากแหล่งอื่นมาร่วมสมทบด้วย เช่น เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เงินบริจาค เงินสมทบจาก
ญาติหรือผู้ป่วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและส่งผลกระทบต่อการเพิ่มค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพไม่ให้สูงขึ้นจนเกิน
ก�าลังของเศรษฐกิจประเทศที่จะให้การสนับสนุนได้
จากการศึกษาวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองของอโรคยศาล
วัดค�าประมง (โมเดลวัดค�าประมง) มีประสิทธิผลที่ดี เทียบเท่าหรือดีกว่ารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองในหน่วย
บริการหรือโรงพยาบาลเป็นฐาน อีกทั้งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่ารูปแบบการดูแลในโรงพยาบาล ดังนั้น รูปแบบการ
ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองโมเดลวัดค�าประมง จึงเป็นรูปแบบการบริการที่มีต้นทุนค่าใช้จ่าย
ที่ประหยัดและสามารถจ่ายได้โดยให้ผลตอบแทนทางด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมถึงความพึงพอใจของผู้ป่วย
และญาติได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถลดค่าใช้จ่ายที่มีโอกาสขยายตัวมากขึ้นในอนาคตได้
6. การสนับสนุนเชิงนโยบายและภาวะผู้น�าที่เข้มแข็ง (Strong Leadership and Policy Support)
การพัฒนาและจัดการบริการการดูแลแบบประคับประคองโดยชุมชนเป็นฐาน เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการ
สนับสนุนเชิงนโยบายอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ จึงจ�าเป็นต้องมีการบริหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในระบบบริการสุขภาพ และต้องการภาวะผู้น�าที่เข้มแข็ง มุ่งมั่นต่อผลส�าเร็จอย่างจริงจัง ทั้งนี้ผู้ก�าหนดนโยบาย