Page 48 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 48

แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน  47



                    2) การท�าความเข้าใจในเป้าหมายร่วม
                    การท�าความเข้าใจในเป้าหมายร่วมกันว่า งานที่ตั้งใจจะท�าคืออะไร เป้าหมายคืออะไร บทบาทของพยาบาล
            และทีมสหวิชาชีพเป็นอย่างไร บทบาทของจิตอาสาส�าคัญอย่างไร เมื่อรับรู้ร่วมกันแล้วจึงมาระดมความคิดเห็น
            กันว่า แต่ละฝ่ายจะท�าอะไรได้บ้างในศักยภาพที่มี แล้วมาดูว่าทีมมีความรู้และทักษะอะไรอยู่แล้วบ้าง และอะไรคือ

            สิ่งที่อยากจะพัฒนาเพิ่มเติม
                    การท�างานจิตอาสานั้น ต้องตระหนักถึงความสาคัญของจิตอาสา จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อน
            มนุษย์โดยเต็มใจ สมัครใจ อิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย สติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์
            มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความรู้ ความเชื่อมั่นในตนเอง เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จิตที่ไม่นิ่งดูดาย
            เมื่อพบเห็นปัญหา หรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย “บุญ” คือ ความสงบเย็น และพลังแห่ง
            ความดี ช่วยลด “อัตตา” หรือความเป็นตัวตนของตนเอง จุดเด่นของจิตอาสา คือ ประสบการณ์ตรง กระบวนการ
            อบรมจึงไม่ใช่เอาความรู้น�าแต่เป็นการดึงประสบการณ์ตรงที่มีอยู่แล้วในตัวจิตอาสาออกมาบูรณาการใช้กับการดูแล
            ผู้ป่วย เพื่อท�าให้จิตอาสาเกิดก�าลังใจและมั่นใจในศักยภาพของตัวเอง
                    3) การออกแบบและวางแผนการท�างานร่วมกัน

                    ทีมมีการออกแบบและวางแผนการท�างานร่วมกัน เช่น การดูแลผู้ป่วย จะไปเยี่ยมใครบ้าง เยี่ยมอย่างไร
            เยี่ยมเมื่อไร ทั้งนี้ เพื่อปรับความคาดหวังให้ตรงกันและสร้างกลไกที่ให้ความมั่นใจว่าการท�างานเป็นทีมจะเกิดได้จริง
                    4) การลงพื้นที่จริง
                    การไปลงพื้นที่จริง คือ การลงไปเยี่ยมผู้ป่วยจริง เพื่อให้มีประสบการณ์การท�างานร่วมกันว่าเป็นอย่างไร
            มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรและจะแก้ไขอย่างไร
                    5) กระบวนการถอดบทเรียนเติมเต็มการท�างานเป็นทีม
                    หัวใจส�าคัญอีกเรื่องหนึ่งของการท�างานเป็นทีม คือการถอดบทเรียน ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จ�าเป็นต้องมี

            เพื่อให้การท�างานของทีมได้ทบทวนกระบวนการท�างานร่วมกันว่าเกิดอะไร เห็นอะไร มีความพึงพอใจหรือไม่อย่างไร
            เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคอะไรตรงไหน และจะช่วยเหลือกันต่อไปอย่างไร ซึ่งจะท�าให้เกิด
            ความเข้าใจและมีความเชื่อมโยงระหว่างกันในทีม เพราะหัวใจของการท�างานเป็นทีม คือการเรียนรู้ร่วมกัน เกิด
            ความเข้าใจเพิ่มเติม ตลอดจนเก็บเกี่ยวสิ่งดีๆ ที่ผ่านเข้ามาในกระบวนการท�างาน โดยไม่ต้องรอผลลัพธ์สุดท้าย
            เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ต้องให้การถอดบทเรียนเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และสอดแทรกอยู่ในกระบวนการท�างาน
                      ถอดบทเรียนอะไรบ้าง
                      1. ทบทวนหรือประเมินความรู้สึก
                      2. บอกเล่าประสบการณ์ มุมมอง สิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน หรือสิ่งที่สัมผัสได้ เช่น แต่ละคนประทับใจอะไร
            เพราะอะไร

                      3. พูดถึงเรื่องของคนไข้ว่า จากการไปเยี่ยม ปัญหาหลักของคนไข้อยู่ตรงไหน มีการรักษาหรือให้การ
            ช่วยเหลืออะไรไปแล้วบ้าง น่าจะท�าอะไรเพิ่มเติม รวมถึงการวางแผนไปเยี่ยมในครั้งต่อไป
                      4. พูดถึงการท�างานเป็นทีมว่า เป็นอย่างไร ชอบตรงไหน อึดอัดอย่างไร อยากให้ปรับอย่างไร เป็นต้น


            ปัจจัยความส�าเร็จในการด�าเนินงาน
                    1) เงื่อนไขของการท�างานจิตอาสา คือ การท�าให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างประโยชน์ตนและประโยชน์

            ท่านให้ได้
                    2) การท�าความเข้าใจเชิงระบบเพื่อสนับสนุนการท�างาน
                      2.1 ระบบข้อมูล ผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องสามารถเชื่อมโยงและสามารถเข้าถึงข้อมูล
            ซึ่งกันและกัน เพราะทีมงานในแต่ละส่วน อาจได้รับรู้หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยในแต่ละช่วงเวลาและในปัญหา
            ที่แตกต่างกัน จึงจ�าเป็นต้องส่งต่อข้อมูลระหว่างกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ซึ่งการ
            ออกแบบระบบข้อมูลจ�าเป็นต้องครอบคลุมในหลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นระบบข้อมูลระหว่างทีมงานกับโรงพยาบาล
            ชุมชน และระหว่างโรงพยาบาลชุมชนกับโรงพยาบาลระดับอื่นๆ ในจังหวัด
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53