Page 53 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 53
52 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
ส่วนที่
2 คู่มือปฏิบัติก�ร
กรณีศึกษา การดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองโดยชุมชนแบบบูรณาการ
(โมเดลวัดค�าประมง)
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน�้าดีระยะสุดท้ายแบบประคับประคองตามแนวทางของอโรคยศาลวัดค�าประมง
(โมเดลวัดค�าประมง) มีจุดเริ่มต้นจาก พระอาจารย์ปพนพัชร์ ภิบาลพักตร์นิธี (จิรธัมโมภิกขุ) หรือที่ผู้ป่วยและคนทั่วไป
เรียกท่านด้วยความเคารพว่า “หลวงตา” เจ้าอาวาสวัดค�าประมง ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ป่วยเป็นมะเร็ง
หลังโพรงจมูก ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับการรักษาโดยใช้เคมีบ�าบัด และการฉายรังสีเป็นเวลานานหลายเดือน จนร่างกาย
ของท่านแทบทนไม่ไหว และเมื่อท่านกลับมาอยู่ที่วัดก็ยังคงมีอาการเลือดออกทางจมูกและปากอยู่เป็นระยะ ท่านจึง
ใช้ธรรมโอสถรักษาตนเองโดยการปฏิบั ติธรรมด้วยความเพียร เจริญสมาธิภาวนา จนได้ค้นพบต�ารับยาสมุนไพรไทย
สูตรยา “ยอดยารักษามะเร็ง” จากต�ารายาโบราณของไทยที่ชื่อว่า “เพชรน�้าเอก” เมื่อได้ฉันยานี้แก้วแรก อาการเลือด
ออกทางจมูกและปากก็เริ่มหยุด และค่อยๆ ดีขึ้นตั้งแต่นั้นมา เมื่อฉันยาครบ 5 หม้อ ท่านได้ไปตรวจที่โรงพยาบาล
อีกและไม่พบเชื้อมะเร็งจนถึงปัจจุบัน
หลังจากชาวบ้านทราบข่าวก็มีผู้ป่วยมะเร็งมาหาหลวงตาอย่างต่อเนื่อง ด้วยจิตเมตตาต่อผู้ป่วยที่ต้อง
ทุกข์ทรมาน ทั้งครอบครัวญาติพี่น้อง ผู้คนรอบข้างที่ต่างล้วนเป็นทุกข์เพราะความรัก ความเป็นห่วง อันเป็นทุกข์
ทั้งร่างกายและจิตใจ หลวงตาจึงอธิษฐานจิตว่าจะช่วยคนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งให้พ้นทุกข์ และได้ก่อตั้ง อโรคยศาล
วัดค�าประมงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยมีปรัชญาการท�างาน “ต้นทุนคือหัวใจ ก�าไรคือ
ความสุขของประชาชน” ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเมตตาเป็นหลัก และการสร้างเครือข่ายจิตอาสาจากหลายสาขา
วิชาชีพเพื่อช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจแห่งความเมตตาและเคารพในความเป็นมนุษย์ ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น
เป็นธรรมชาติ ที่เอื้อต่อการเยียวยาและการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยไม่มีการเก็บค่ารักษาพยาบาลใดๆ ทั้งสิ้น
นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบันปีพ.ศ. 2560 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษากว่า 5,000 คน และกว่าครึ่งสามารถกลับบ้าน
ไปอยู่กับครอบครัวได้อย่างมีความสุข โดยสามารถจัดล�าดับผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาแยกประเภทต�าแหน่งที่เกิด
มะเร็งจากมากไปน้อย 10 อันดับแรก ดังนี้
รูปภาพที่ 7. จ�านวนผู้ป่วยและสถิติผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษา 10 อันดับโรค
(ข้อมูลจากอโรคยศาลวัดค�าประมง 16 พฤษภาคม 2560)