Page 54 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 54

คู่มือปฏิบัติการ  53



                    ปัจจุบันส�านักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้
            จัดตั้งอโรคยศาลวัดค�าประมงให้เป็นโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานด้านมะเร็งสกลนคร
            อโรคยศาล วัดค�าประมง (Hospital of Exellence in Thai Traditional and Complementary Medicine for
            Cancer at Sakonnakhon: HTCC) และยังเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและศึกษาดูงานด้านการดูแลแบบประคับประคอง

            (Palliative Care) ด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานให้กับหน่วยงานและสถาบันต่างๆ ทั้งในและ
            ต่างประเทศ  โดยมีเอกสารวิชาการและผลการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางและผลการด�าเนินงาน
            การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองโมเดลวัดค�าประมงโดยความร่วมมือของ
            เครือข่ายจิตอาสาเพื่อใช้เป็นคู่มือการเตรียมตัวผู้ป่วยและเป็นสื่อในการสร้างแรงบันดาลใจให้เครือข่ายจิตอาสาได้เข้าใจ
            ถึงความเป็นมาและเอกลักษณ์การด�าเนินงานของโมเดลวัดค�าประมง คู่มือเล่มนี้จึงน�ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
            แบบประคับประคองโดยชุมชนแบบบูรณาการของอโรคยศาลวัดค�าประมง (โมเดลวัดค�าประมง) เป็นกรณีศึกษา
            เพื่อเป็นต้นแบบในการน�าไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่อื่นๆ ประกอบด้วย ด้านการบริการดูแล
            รักษา การบริหารจัดการ และความเชื่อมโยงชุมชน ดังนี้


            2.1 การบริการดูแลรักษา (Care Service Model)

                    (1) รูปแบบบริการ
                    การดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองโมเดลวัดค�าประมง เริ่มจากเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
            ว่าป่วยเป็นโรคมะเร็ง จนถึงป่วยอยู่ในระยะท้ายหรือก�าลังจะเสียชีวิตจากโรค โดยดูแลควบคู่ไปกับการดูแลรักษาด้วย
            การแพทย์แบบผสมผสาน โดยมีเป้าหมายที่เน้นการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพและยอมรับความตายว่าเป็นส่วนหนึ่งของ

            ธรรมชาติของทุกชีวิต เป็นการดูแลที่มีความยีดหยุ่นจ�าเพาะแต่ละกรณีไม่มีสูตรส�าเร็จ ผู้ดูแลจึงต้องใช้ทักษะทั้งศาสตร์
            และศิลป์ ในการประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือก รวมถึงการพิจารณา
            ศรัทธา ความเชื่อ ภูมิหลังและบริบทของผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้เหมาะสมส�าหรับผู้ป่วยแต่ละราย และการตระหนัก
            ถึงสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วย การแสดงความต้องการของตนเองและมีส่วนร่วม
            ในการตัดสินใจที่จะได้รับการตอบสนองตามความปรารถนาครั้งสุดท้ายของตนเอง โดยมีองค์ประกอบส�าคัญดังนี้


                    หลักการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของโมเดลวัดค�าประมง
                    หลักการเยียวยาผู้ป่วยที่อโรคยศาลวัดค�าประมง มุ่งเน้นเยียวยาผู้ป่วยให้มีสุขภาพที่ดีทั้งกายและจิตใจ โดย

            ยึดหลักของธรรมะและธรรมชาติเป็นส�าคัญ กระบวนการรักษาจึงมีความยืดหยุ่น ไม่มีกฎตายตัวแต่เน้นให้ผู้ป่วย
            มีความสุข พร้อมที่จะเผชิญกับโรคและที่สุดคือสามารถยอมรับและเข้าใจในความเป็นไปของชีวิต นอกจากนี้ ไม่เพียง
            แต่เน้นที่ตัวผู้ป่วยเพียงอย่างเดียงแต่รวมถึงญาติหรือผู้ดูแลด้วย ดังนั้นกระบวนการรักษาต่างๆ ที่ได้จัดไว้ให้จึงจ�าเป็น
            ต้องขอความร่วมมือจากผู้ป่วยและญาติให้เข้าร่วมกิจกรรมบ�าบัดต่างๆ หากร่างกายแข็งแรงพอที่จะท�ากิจกรรมได้ หาก
            ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมได้เนื่องจากสภาพร่างกายไม่อ�านวยก็สามารถฟังเสียงสวดมนต์หรือการท�ากิจกรรมได้จาก
            เสียงตามสายที่ติดตั้งไว้ตามที่อยู่แต่ละแห่ง
                    แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคองโมเดลวัดค�าประมงที่ใช้เป็นหลักมาตลอดตั้งแต่เริ่มต้น

            จนถึงปัจจุบัน มีกระบวนการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเมตตาเป็นหลักในการดูแล ภายใต้บริบทของวิถีไทยและ
            วิถีธรรมและการเคารพสิทธิความเป็น ”มนุษย์” ในตัวของผู้ป่วย ตามแบบจ�าลอง อโรคาฐิตะโมเดล (ArokhaDHITA
            Model) โดย อโรคา (Arokha) มาจากค�าว่า อโรคยาปรมาลาภา คือ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งหมายถึง
            อโรคยศาล (Arokhayasala), ฐิตะ (DHITA) มาจากค�าว่า D หมายถึง ธรรมะ (Dhamma), H หมายถึง สมุนไพร
            (Herbal), I หมายถึง การบูรณาการ (Integrating), T หมายถึง การรักษา (Therapeutic), A หมายถึง การเข้าถึง
            ผู้ป่วย (Approach)  เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ที่น�าธรรมะเข้ามาผนวกกับแนวทางการรักษาได้
            อย่างกลมกลืน มีความยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจในการเข้ารับการรักษา โดยเคารพการตัดสินใจ
            ของผู้ป่วย และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ปรึกษาและรับทราบข้อมูล การที่รับผู้ป่วยเข้ามารักษาโดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายและ
            มีการจัดสถานที่พักในรูปแบบของหมู่บ้านมะเร็ง และมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้สึกเหมือนอยู่บ้านของตนเอง
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59