Page 50 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 50

แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน  49



                      -  ด้านสังคม
                      -  การดูแลครอบครัวหลังผู้ป่วยเสียชีวิต
                    5) การเตรียมความพร้อมการวางแผนจ�าหน่ายผู้ป่วยระยะสุดท้าย
                      -  เตรียมความพร้อมผู้ดูแลและครอบครัวด้านร่างกายและจิตใจ

                      -  การส่งต่อวางแผนการดูแลร่วมกับทีมหมอครอบครัว
                    6) การดูแลต่อเนื่องร่วมกับครอบครัวชุมชน ควรมีการติดตามดูแลต่อเนื่องโดยทีมดูแลแบบประคับประคอง
            เป็นพี่เลี้ยงให้ข้อแนะน�าแก่เครือข่าย โดยมีผู้ประสานงานหลักที่รับค�าปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง และมีการจัดระบบ
            การสนับสนุนและการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลกับรพ.สต. และชุมชน
                    สิ่งส�าคัญในการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล คือ
                    -  มีทีมดูแลแบบประคับประคองที่ชัดเจนและควรมีผู้รับผิดชอบหลักในโรงพยาบาลเป็นผู้ประสานงานที่
                      สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชม.
                    -  มีแนวทางการปฏิบัติงานที่รับรู้ร่วมกันทั้งโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการระดับอ�าเภอ
                    -  การเตรียมความพร้อมก่อนจ�าหน่ายผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีความส�าคัญต่อคุณภาพการดูแลระยะสุดท้าย

                      ที่บ้านมากโดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมผู้ดูแลผู้ป่วย
                    -  ควรมีการสรุปข้อมูลส�าคัญของผู้ป่วยและการวางแผนการดูแลต่อเนื่องเสมอเมื่อต้องส่งต่อผู้ป่วยให้
                      หน่วยงานอื่นดูแล
                    -  ก่อนส่งผู้ป่วยกลับบ้าน ควรจัดการอาการรบกวนต่างๆ ให้สามารถดูแลที่บ้านได้โดยทีมหมอครอบครัว
                      และผู้ดูแล และควรแจ้งอาการที่อาจจะเกิดตามมารวมถึงการบรรเทาอาการต่างๆ
                    -  การใช้ยาแก้ปวดและการเข้าถึงยาแก้ปวดของผู้ป่วยโดยเฉพาะขณะอยู่ที่บ้านจะท�าให้การดูแล
                      ประสบความส�าเร็จมากขึ้น

                    -  เมื่อต้องส่งต่อผู้ป่วยให้หน่วยงานอื่นดูแลควรมีการสื่อสารข้อมูลการวางแผนการรักษาในช่วงสุดท้ายของ
                      ชีวิตเสมอ


            2. การดูแลแบบประคับประคองในชุมชน
                    1) การค้นหาผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชนจากการส่งต่อเพื่อดูแลในวาระสุดท้ายที่บ้านจากโรงพยาบาล และ
            เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชนที่ไม่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
                    2) การวินิจฉัยและประเมินผู้ป่วยเข้าสู่การดูแลแบบประคับประคอง โดยพยาบาลหรือทีมหมอครอบครัว
            ในรพ.สต. สามารถเข้าไปประเมินเบื้องต้น ส่งข้อมูลและสื่อสารกับทีมดูแลแบบประคับประคองของโรงพยาบาล

            เพื่อประเมินผู้ป่วยเข้าสู่การดูแลระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่เหมาะสมต่อไป
                    3) การประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวม และตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานที่ส่งต่อผู้ป่วย ตลอดจน
            แนวทางการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านและชุมชน
                    4) การติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง เข้าเยี่ยมผู้ป่วยทุกวันโดยร่วมกับทีมหมอประจ�าครอบครัว แพทย์หรือ
            พยาบาล เพื่อประเมินแผนการดูแลเป็นวันต่อวัน
                    5) การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน มีการวางแผนร่วมกับญาติ ผู้ดูแล จิตอาสา ชุมชนและท้องถิ่น
            และเตรียมสถานที่ในการดูแลในวาระสุดท้าย การติดตามสัญญาณชีพอาการส�าคัญที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและแจ้งต่อ

            พยาบาลประจ�า รพสต. และแพทย์เพื่อประเมินและแจ้งญาติในการเตรียมพร้อมขณะผู้ป่วยเข้าสู่วาระสุดท้าย
                    6) การดูแลหลังการเสียชีวิต แพทย์หรือพยาบาลช่วยยืนยันการเสียชีวิตและออกเอกสารรับรองการเสียชีวิต
            และประเมินครอบครัวและผู้ดูแลหลังผู้ป่วยเสียชีวิต และหลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว 2 สัปดาห์ควรประเมินภาวะ
            สุขภาพจิตของญาติและผู้แล
                    7) การพัฒนาปรับปรุงระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยการสะท้อนผลการด�าเนินงานในทีมดูแล
            แบบประคับประคอง ท�าให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อพัฒนาองค์ความรู้โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55