Page 49 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 49

48       คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)



                    2.2 ระบบการบริหารยา (มอร์ฟีน) และการจัดการอาการโดยไม่ใช้ยา เนื่องจากผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ได้รับ
            การดูแลที่บ้านจ�านวนมากจะมีอาการปวด จึงจ�าเป็นต้องได้รับยาแก้ปวดและอุปกรณ์บริหารยาอัตโนมัติ โดย
            โรงพยาบาลในเขตที่รับผิดชอบจะจัดหาอุปกรณ์และอบรมความรู้การบริหารยาแก้ปวดและการจัดการอาการ
            โดยไม่ใช้ยาให้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงยาแก้ปวด เพราะโรงพยาบาลชุมชนขาดการจัดระบบยา

            ที่เหมาะสม บางแห่งยังไม่มียาแก้ปวดชนิดเม็ด หรือยาในรูปแบบอื่นๆ ที่ใช้งานได้ง่าย ท�าให้ผู้ป่วยจ�านวนไม่น้อย
            ต้องกลับไปรับยาที่โรงพยาบาลใหญ่ หรือไปฉีดยาที่โรงพยาบาลชุมชน จึงกลายเป็นภาระของญาติในการเคลื่อนย้าย
            ผู้ป่วย ซึ่งหากผู้ดูแล จิตอาสาหรือผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ในการจัดการอาการไม่สุขสบายโดยไม่ใช้ยา ก็จะสามารถบรรเทา
            ความทุกข์ที่เกิดจากความปวดและความไม่สุขสบายให้ผู้ป่วยได้
                    2.3 ระบบประสานงาน ในโรงพยาบาลแต่ละแห่งจ�าเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบดูแลประสานงานเพื่อให้เกิด
            การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงระบบการดูแลได้โดยง่าย
            ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ข้อมูลของผู้ป่วยว่าอยู่กับใคร จิตอาสาคนไหนอยู่ใกล้ มีหน่วยงานใดที่จ�าเป็นต้องประสาน
            งาน เช่น วัด อบต. อสม.และ อผส. หรือกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือ
            เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการขอออกซิเจน การขนย้ายผู้ป่วย การขอยืมรถ การส่งต่อหรือการปรับปรุงสถานที่อยู่อาศัย

            ให้เหมาะสมกับการดูแล
                    ระบบประสานงานดังกล่าว จะช่วยให้เกิดการท�างานแบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล
            ครบทุกด้าน โดยผู้ประสานงานดังกล่าวควรท�างานแบบเต็มเวลาและอยู่ในส่วนของโรงพยาบาล เพราะเป็นศูนย์กลาง
            ของการดูแล มีสิ่งอ�านวยความสะดวกที่ช่วยในการประสานงานได้คล่องตัว ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันของผู้ป่วย
                    2.4 ระบบนโยบาย การมีนโยบายที่ชัดเจนในการให้ความส�าคัญหรือสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
            แบบประคับประคองแบบบูรณาการต่อเนื่องที่บ้าน จะท�าให้เจ้าหน้าที่และทีมท�างานได้สะดวก เพราะถือว่าเป็นงาน
            หลักงานหนึ่งของโรงพยาบาล ไม่ใช่งานฝากหรืองานเสริม



            (2) แนวทางการเชื่อมโยงเครือข่ายการดูแลแบบประคับประคองโดยชุมชนแบบูรณาการ
                    การที่จะดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองแบบองค์รวมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเผชิญ
            กับความตายได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น  จ�าเป็นต้องอาศัยระบบเครือข่ายการดูแลแบบบูรณาการ
            แบบองค์รวมที่เชื่อมโยงเป็นทีมเดียวกันในลักษณะของสหสาขา ดังนี้


            1.  การดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล

                    1) การค้นหาผู้ป่วยจากผู้ป่วยและญาติมารับบริการ การส่งต่อจากโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป
            ผู้ป่วยที่อยู่ในชุมชนไม่เคยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
                    2) การวินิจฉัยและประเมินผู้ป่วยเข้าสู่การดูแลแบบประคับประคอง
                      -  กรณีในโรงพยาบาลแพทย์เจ้าของไข้คือผู้วินิจฉัยและตัดสินว่าใครคือผู้ป่วยที่สมควรได้รับการดูแล
                        ระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง โดยใช้แบบประเมิน Palliative Performance Scale : PPS)
                    3) การประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัวแบบองค์รวม
                      -  ความเข้าใจต่อโรค/ระยะของโรค/อาการทางกายและเป้าหมายการดูแลรักษาของผู้ป่วยและครอบครัว

                        เพื่อให้การวางแผนการดูแลรักษา
                      -  การรับรู้ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยและครอบครัว  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความผาสุข
                        ทางจิตวิญญาณ
                      -  แผนการดูแลรักษาล่วงหน้าของผู้ป่วยและครอบครัว การท�าพินัยกรรมชีวิต (Living Will)
                    4) การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวแบบองค์รวม
                      -  ด้านร่างกาย
                      -  ด้านจิตใจ
                      -  ด้านจิตวิญญาณ
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54