Page 51 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 51
50 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
สิ่งส�าคัญส�าหรับการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน
ทีมชุมชนต้องมีความรู้ และทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายพร้อมกับมีทีมสนับสนุนการดูแล
ทั้งจากครอบครัวและชุมชน รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีระบบการส่งต่อ การให้ค�าปรึกษาจากหน่วยงาน
โรงพยาบาลแม่ข่ายในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
3. การดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน
1) การเตรียมก่อนกลับไปรักษาตัวที่บ้าน ญาติควรได้รับค�าแนะน�าในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านรวมทั้งฝึกทักษะ
การดูแลในเรื่องต่างๆ เช่น การให้อาหาร การให้ยา การบรรเทาอาการปวดหรือการดูแลอาการต่างๆ เป็นต้น ในกรณี
ที่จ�าเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์บ่งชี้ถึงโรคเรื้อรัง ควรขอก่อนออกจากโรงพยาบาลควรขอชื่อเบอร์โทรศัพท์ผู้ที่จะให้
ค�าปรึกษาในการรักษาตัวที่บ้านและการติดต่อกรณีฉุกเฉิน
2) การเตรียมสภาพแวดล้อมในบ้าน ควรจัดสภาพที่พักและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดูแลสุขภาพของ
ผู้ป่วยมากขึ้น เช่น ห้องนอน ห้องน�้า/ห้องสุขา ห้องครัว ประตูทางเดินภายในบ้าน แสงสว่างภายในบ้าน การระบาย
อากาศ เป็นต้น
3) การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายส�าหรับญาติและผู้ดูแล เช่น การดูแลช่องปาก การดูแลตา การบรรเทา
อาการปวด ภาวะกระสับกระส่าย การหายใจไม่เป็นจังหวะ การมีภาวะเสียงดังครืดคราดจากน�้าลายสอ มือเท้าเย็น
ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง
4) กิจกรรมการผ่อนคลายส�าหรับผู้ป่วย การเลือกกิจกรรมส�าหรับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับความพร้อมและความ
พึงพอใจของผู้ป่วยเป็นหลัก ญาติหรือผู้ดูแลมีหน้าที่เพียงแนะน�าและให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมต่างๆ
เช่น ดนตรีบ�าบัด การนวดและสัมผัส การท�างานอดิเรก การท�างาน การชมภาพยนตร์ การอ่านและเขียนหนังสือ
การหัวเราะและอารมณ์ การออกก�าลังกาย การสวดมนต์ สวดอ้อนวอนถึงพระเจ้าหรือร้องเพลงสวด
5) การประคับประคองครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ดูแลต้องได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค
การพยากรณ์โรค แผนการรักษาในปัจจุบัน และแผนการดูแลล่วงหน้า มีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลร่วมกับ
ทีมสหวิชาชีพด้วยเสมอ เพื่อทีมจะได้รับรู้ความต้องการหรือปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัวและเพื่อให้รับรู้แผนการ
ดูแล ร่วมกันประเมินความต้องการของผู้ดูแลหลักซึ่งผู้ดูแลอาจมีความต้องการทั้งด้านการดูแลสุขภาพ ความต้องการ
การประคับประคองทางจิตใจและการช่วยเหลือทางสังคม เตรียมผู้ดูแลหลักให้มีความพร้อมในการให้การดูแลผู้ป่วย
สอนเทคนิคการดูแลผู้ป่วย การประเมินผู้ป่วย การให้ยา และถ้าผู้ป่วยมีแผลหรือมีท่อระบายต่างๆ ต้องสอนวิธีการ
ดูแล รวมถึงถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะใกล้เสียชีวิต ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการที่อาจพบได้ รวมถึงการดูแลและจัดการ
อาการในระยะก่อนเสียชีวิต การให้ข้อมูลต่างๆ วิธีการดูแลผู้ป่วย วิธีการให้ยา ควรเป็นลายลักษณ์อักษร มีการทบทวน
เป้าหมายการดูแลและสถานที่ดูแลเป็นระยะโดยท�าร่วมกับผู้ป่วยและผู้ดูแลหลัก มีการประเมินความต้องการของ
ผู้ดูแลอย่างต่อเนื่องและควรให้ผู้ดูแลหลักได้มีโอกาสพักจากการดูแลผู้ป่วยเป็นระยะ โดยผู้ดูแลคนอื่นในครอบครัว
หรือจิตอาสามาช่วยการประคับประคองจิตใจ ในช่วงที่ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต การให้ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ในการ
จัดการหลังผู้ป่วยเสียชีวิตรวมถึงเอกสารและวิธีการแจ้งตายและการดูแลหลังการสูญเสีย
สิ่งที่ต้องค�านึงถึงเมื่อมีผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน
1) ครอบครัวควรมีการสื่อสารระหว่างกันของสมาชิกในครอบครัวและกับทีมผู้ดูแล ทีมหมอ ครอบครัว
อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ควรมีการเตรียมการสถานที่ และอุปกรณ์ที่จ�าเป็นให้พร้อม เพื่อสะดวกต่อการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย
3) จ�าเป็นต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา และในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้อาจต้องมีผู้ดูแลมากกว่าหนึ่งคน
เพื่อผลัดกันดูแล และเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลได้มีโอกาสพักผ่อน
4) ผู้ดูแลอาจจะต้องรับภาระหนักทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเป็นงานที่หนักทั้งด้าน
ร่างกายและจิตใจ
5) ครอบครัวมักวิตกกังวลในเรื่องการจัดการอาการหรือกรณีมีภาวะฉุกเฉิน ขาดความมั่นใจเนื่องจากไม่ได้มี
ทีมสุขภาพดูแลตลอดเวลา จึงจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการติดต่อกับผู้ประสานงานหลักได้ตลอด 24 ชั่วโมง