Page 43 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 43
42 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและมีเจตคติที่เหมาะสม โดยใช้วิธีการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นการมีประสบการณ์ และการ
มีส่วนร่วมโดยตรงกับการดูแลแบบประคับประคอง การจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ทีมสหวิชาชีพมาศึกษาดูงานและใช้
เวลาอยู่ร่วมปฏิบัติกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่วัดค�าประมงอย่างน้อย 3 ถึง 5 วัน จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ท�าให้บุคลากร
ทางการแพทย์และสาธารณสุขได้มีประสบการณ์ตรงและเกิดความตระหนักรับรู้ถึงปัญหาและความต้องการทางด้าน
สุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ทั้งทางด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อก�าหนดแนวทางการดูแลร่วมกัน
ได้อย่างเหมาะสม
รูปภาพที่ 6 การจัดกิจกรรมบ�าบัดส�าหรับผู้ป่วยมะเร็งที่อโรคยศาลวัดค�าประมง
ผู้จัดการประสานงานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care Manager) เป็นบุคลากร
ที่มีความส�าคัญอย่างยิ่งในการดูแลบ�าบัดรักษาผู้ป่วย ควรมีการฝึกอบรมต่อยอดส�าหรับบุคลากรทางการแพทย์และ
สาธารณสุขที่มีความตั้งใจ โดยอาจเป็นวิชาชีพพยาบาล หรือสาขาวิชาชีพอื่น เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ เป็นแกนกลาง
ในการประสานงานให้เกิดกิจกรรมการดูแลบ�าบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
2) แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกสาขาต่างๆ
บุคลากรทางการแพทย์แผนไทย เป็นก�าลังคนที่ส�าคัญ ในการจัดบริการดูแลส�าหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
โดยนอกจากจะต้องมีความรู้ ความสามารถตามวิชาชีพแพทย์แผนไทยทั้งในด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย
นวดไทย แล้วยังจ�าเป็นต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคองเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
ฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย โดยยึดหลักธรรมานามัย ซึ่งจะท�าให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
เป็นลักษณะแบบองค์รวมและประสานกับทีมสหวิชาชีพอื่น ส�าหรับบุคลากรการแพทย์ทางเลือกอื่น มีการใช้
ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกในหลากหลายสาขา โดยมุ่งเน้นที่การดูแลแบบองค์รวม การส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กิจกรรม
บ�าบัดต่างๆ ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง มีความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณ
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วยและภาวะใกล้ถึงจุดสุดท้ายของชีวิตได้อย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้ในหน่วย