Page 42 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 42
แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน 41
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเฉพาะ การเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสม ลดของเสียหรืออาหารเก่าที่คั่งค้าง
อยู่ในร่างกาย การบริหารร่างกายด้วยการออกก�าลังกายที่เหมาะสม การบริหารจิตด้วยการเจริญสติ รับรู้โลกตาม
สภาพความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน และพัฒนาความสามารถที่จะเรียนรู้อันท�าให้สามารถใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันได้อย่าง
มีสติ จัดการความเครียดที่สะสมอยู่ในจิตใจ โดยร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย อยู่ท่ามกลางครอบครัว ญาติมิตร
ที่มีความเป็นกัลยาณมิตร ช่วยสร้างกระแสของความคิดเชิงบวก สนับสนุนให้ก�าลังใจ จิตใจที่ดีปราศจากความเครียด
ท�าให้กลไกการเยียวยาตนเองของร่างกายท�างานได้ดีขึ้น ระบบภูมิต้านทานของร่างกายท�างานอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งมีการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะเอื้อต่อการด�าเนินชีวิตที่มีคุณภาพและเสริมสร้างสุขภาพพลานามัยที่ดี
การรับการรักษาต่อเนื่องทั้งทางด้านการแพทย์แผนปัจจุบันร่วมกับการดูแล ฟื้นฟูสุขภาพด้วยการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เป็นปัจจัยส�าคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมีความสุข ลดภาวะความ
ทุกข์ทรมานที่เกิดจากภาวะความเจ็บป่วยและผลข้างเคียงจากการรักษา มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความเข้มแข็งทาง
จิตใจสามารถเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยและความตายได้อย่างสุขสงบ ไม่ทุรนทุราย ซึ่งเป็นเป้าหมายส�าคัญของ
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
3. การพัฒนาบุคลากรและทีมสุขภาพให้มีความเหมาะสม (Health Workforce)
บุคลากร หรือ ก�าลังคนทางด้านสุขภาพ เป็นทรัพยากรมนุษย์ด้านสุขภาพที่มีความส�าคัญอย่างมากในการ
จัดการให้เกิดการบริการดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
โดยจ�าเป็นต้องมีระบบบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสม เพื่อให้มีจ�านวน ประเภท การกระจาย สัดส่วนการ
ผสมผสานของทีมงาน บุคลากรมีเจตคติที่ดีรวมทั้งมีทักษะความรู้ความช�านาญที่เพียงพอกับการปฏิบัติงาน มีต้นทุน
ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่เหมาะสม การบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของอโรคยศาล วัดค�าประมง
เป็นการประยุกต์ใช้การบริหารจัดการแบบผสมผสาน ทั้งในรูปแบบกึ่งราชการ กึ่งมูลนิธิ ไม่แสวงหาผลก�าไร โดย
เป็นการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับทรัพยากรสุขภาพและกรอบวงเงินที่มีอยู่ และจ�าเป็นต้องใช้ในการดูแลบ�าบัดรักษา
ผู้ป่วย ซึ่งแหล่งที่มาของเงินส่วนใหญ่มาจากเงินบริจาค บุคลากรส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในลักษณะจิตอาสา ไม่ขอรับเงิน
ค่าตอบแทน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมโดยให้ญาติหรือครอบครัวของผู้ป่วยที่ได้รับการสอน หรือฝึกอบรมให้เป็น
ก�าลังส�าคัญในการดูแลผู้ป่วย ทั้งในระยะที่มารับการบ�าบัดรักษาอยู่ในอโรคยศาล วัดค�าประมง และดูแลต่อเนื่อง
ที่บ้านเมื่อสามารถเดินทางกลับบ้านได้
การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบอาสาสมัคร จิตอาสา โดยการมีส่วนร่วมของญาติ ครอบครัว เป็นผู้ดูแล
ผู้ป่วย เป็นจุดเด่นที่ส�าคัญและสะท้อนถึงปรัชญา แนวคิด หลักการที่ใช้ในการดูแลบ�าบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
ของอโรคยศาล วัดค�าประมงได้เป็นอย่างดี เป็นระบบการดูแลที่มุ่งเน้นการยกระดับทางจิตวิญญาณของทั้งฝ่ายแพทย์
และทีมบุคลากรซึ่งเป็นผู้ให้บริการ และฝ่ายผู้ป่วย ครอบครัวที่เป็นผู้รับการดูแล เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
เพื่อส่งเสริมการเยียวยา พัฒนาจิตวิญญาณ คุณงามความดีให้เกิดขึ้นในจิตใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมิได้มุ่งเน้น
การตอบสนองด้วยเงินทอง วัตถุสิ่งของที่เป็นไปในทางเสริมสร้างกิเลสตัณหา ทั้งนี้ท้ายที่สุดแล้วทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
จะผนวกรวมกันเป็นทีมดูแลสุขภาพร่วมกันเป็นทีมเดียวกัน อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบจิต
อาสาดังกล่าวอาจเผชิญกับความท้าทายหลายประการ โดยเมื่อพิจารณาจากมาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานการบริการ
ตามมุมมองของสหวิชาชึพต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งเน้นพิจารณาที่ความครบถ้วน ครอบคลุมในเชิงปริมาณ และมาตรฐาน
ทางวิชาการตามแบบแผนของการสาธารณสุขและการแพทย์ตะวันตก
บุคลากรที่จ�าเป็นในการดูแลบ�าบัดรักษาผู้ป่วยตามโมเดลวัดค�าประมง ประกอบด้วยบุคลากรกลุ่มต่างๆ
ดังต่อไปนี้
1) แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีส่วนส�าคัญในการจัดบริการ
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายโดยเฉพาะทางกาย ซึ่งเป็นการดูแลพื้นฐานในด้านการตรวจคัดกรองเบื้องต้น
และการรักษาแบบประคับประคองอาการที่ท�าให้ผู้ป่วยมีความไม่สุขสบาย โดยเฉพาะอาการปวด โดยใช้ยาระงับ
อาการปวดที่มีประสิทธิภาพในระดับต่างๆ อย่างเหมาะสม แพทย์และทีมสหวิชาชีพจึงควรได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติม