Page 39 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 39
38 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
1.2 ระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการการดูแลแบบประคับประคอง
แบบบูรณาการ (Management System to Support Integrative Palliative Care)
การจัดบริการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) แบบบูรณาการ โดยสามารถน�าไป
ประยุกต์ใช้ส�าหรับผู้ป่วยมะเร็งหรือผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ในที่นี้เป็นระบบการดูแลสุขภาพในรูปแบบบูรณาการ
ที่ผสมผสานองค์ความรู้ทั้งการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ โดย
ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม (Community-based Integrative Palliative Care) การบริหารจัดการ
เพื่อสนับสนุนรูปแบบการจัดบริการดังกล่าว จ�าเป็นต้องอาศัยภาวะผู้น�าที่มีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
(Change Management) และการวางแผนด�าเนินการอย่างชัดเจนในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการน�า
รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) แบบบูรณาการโดยชุมชน เข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ
ที่มีอยู่เดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
การบริหารจัดการเพื่อการจัดบริการสุขภาพ ควรพิจารณาองค์ประกอบที่ส�าคัญพื้นฐาน 6 ประการ ได้แก่
1. การก�าหนดปัญหาสุขภาพและรูปแบบการบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ (Determine Health Needs and Service
Delivery) 2. ก�าหนดมาตรการและเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เหมาะสม (Health and Medical
Technologies) 3. การพัฒนาบุคลากรและทีมสุขภาพให้มีความเหมาะสม (Health Workforce) 4. ระบบข้อมูล
สารสนเทศเพื่อการก�ากับติดตามประเมินผล (Effective Health MIS) 5. ระบบการเงินการคลังสาธารณสุขที่เพียงพอ
และยั่งยืน (Affordable and Sustainable Health Financial Support) 6. การสนับสนุนเชิงนโยบายและภาวะผู้น�า
ที่เข้มแข็ง (Strong Leadership and Policy Support) ซึ่งการบริหารจัดการโดยพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐาน
6 ประการดังกล่าว องค์การอนามัยโลกได้น�าเสนอเป็นแนวทางพื้นฐานให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา
ระบบสุขภาพและระบบบริการสุขภาพ รายละเอียดดังแสดงในรูปภาพที่ 5.
The WHO Health System Framework
SYSTEM BUILDING BLOCKS OVERALL GOALS/OUTCOMES
ระบบบริการ
Service Delivery เข้าถึง
ก�าลังคนด้านสุขภาพ ครอบคลุม ความเป็นธรรม
Health Workforce ACCESS Improved Health (level and equilty)
ระบบข้อมูลข่าวสาร COVERAGE ตอบสนองความต้องการ
Health Information Systems Responsiveness
เทคโนโลยีทางการแพทย์ กันความเสี่ยงสังคม&การเงิน
Access To Essential Medicines QUALITY Social and Financial Risk Protection
ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ SAFETY ประสิทธิภาพการบริการ
Financing คุณภาพ Improved Efficiency
ภาวะผู้น�าและธรรมาภิบาล ความปลอดภัย
Leadership Governance
กรอบระบบสุขภาพ: องค์ประกอบที่พึงประสงค์
The Six Building Blocks of a Health System and Desirable Attributes
รูปภาพที่ 5. กรอบระบบสุขภาพ : องค์ประกอบที่พึงประสงค์ (The WHO Health System Framework:
The Six Building Blocks of a Health System and Desirable Attributes)
ส�าหรับประเทศไทยซึ่งมีประสบการณ์อย่างยาวนานในการน�าเอาความมีส่วนร่วมของชุมชนมาเพื่อใช้
ในการพัฒนาระบบสุขภาพ จึงได้เพิ่มปัจจัยองค์ประกอบในด้านนี้มาเป็นองค์ประกอบที่ 7. การมีส่วนร่วมของชุมชน