Page 36 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 36

แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน  35



            วิธีรับประทาน         ชนิดผง ครั้งละ ครึ่ง-1 ช้อนชา ละลายน�้ากระสายยา ทุก 3–4 ชั่วโมง
                                  ชนิดเม็ด ครั้งละ 3-5 เม็ด ทุก 3 ชั่วโมง (ไม่ควรเกิน วันละ 3 ครั้ง)
                                  แก้ลมบาดทะจิต ใช้น�้าดอกมะลิ
                                  แก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้น�้าลูกผักชี เทียนด�าต้ม ถ้าไม่มีใช้น�้าสุก

                                  แก้ลมจุกเสียด ใช้น�้าขิงต้ม
            ขนาดบรรจุ             ชนิดผง ไม่เกิน 15 กรัม
                                  ชนิดเม็ด ไม่เกิน 75 เม็ด
            สรรพคุณ               แก้อาการเสียดหน้าอก หงุดหงิด นอนไม่หลับ


                      (5)  ต�ารับยาแก้อุทรโรค (มาน) ท้องบวม
                       1)  ยาประจุโรค (ยาถ่ายลม/เสมหะ) (ต�ารายาศิลาจารึกวัดโพธิ์, 2526)
            ส่วนประกอบตัวยา       ตรีกฎุก ผลจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู อบเชย สมุลแว้ง มหาหิงค์ การบูร
                                  สิ่งละ 1 ส่วน ผลสลอด 2 ส่วน

            วิธีท�า               บดผง
            วิธีรับประทาน         ละลายน�้าผึ้งรับประทานตามธาตุหนักเบา (ใช้ถ่ายเสมหะเฉพาะการแก้อาการท้องบวมโต
                                  จุกแน่น รับประทานวันละ 1 ครั้ง ไม่ควรรับประทานเกิน 3 วัน)
            สรรพคุณ               ถ่ายลม ถ่ายเสมหะ


                       2) ยาอุทรโรค (ต�ารายาศิลาจารึกวัดโพธิ์, 2526)
            ส่วนประกอบตัวยา    ว่านน�้า สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ มะขามป้อม ดองดึง รากจิ้งจอหลวง ชะเอมเทศ

                                  ใบหนาด ใบสลอด พริกไทย ขิงแห้งดีปลี สะค้าน ช้าพลู เจตมูลเพลิง สิ่งละ 1 ส่วน
                                  การบูร เปล้ารากเดียว รากทนดี สิ่งละ 4 ส่วน
            วิธีท�า               บดผง
            วิธีรับประทาน         รับประทานน�้าหนัก 1 สลึง ละลายน�้าส้มสายชู ก่อนอาหาร เช้า/เย็น
            สรรพคุณ               รักษาโรคอุทรโรค ปรับสมดุลกองธาตุที่เสียสมดุล ก�าเริบ หย่อน พิการ ให้ปกติ


            ข้อห้ามใช้และข้อควรระวังการใช้ยา
                    โรคแทรกซ้อน เช่น อาการไข้ ท้องอืด ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลืองฯ ใช้ยาเมื่อมีอาการ และควรประเมินผล
            ของการใช้ยาเป็นระยะทั้งผลการรักษาและผลข้างเคียง และหากพบผลข้างเคียงให้หยุดยาและส่งต่อการรักษาให้

            แพทย์แผนปัจจุบัน เมื่ออาการทุเลาให้ลดปริมาณการใช้ยาลง หยุดเมื่ออาการดีขึ้น
            อาหารแสลง
                    ห้ามเนื้อสัตว์ทุกชนิด อาหารหมักดองทุกชนิด ผักที่มีกลิ่นฉุนเช่น ใบกุ่ยซาย ผักที่มีรสเย็น เช่น แตงกวา
            แตงร้าน หัวไซท้าว เป็นต้น กลุ่มอาหารที่ย่อยยากผู้ป่วยต้องสังเกตุตัวเองว่ากินสิ่งใดแล้วมีอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย
            บางรายกินข้าวโพดได้ บางรายกินแล้วแน่นท้อง อาหารบางชนิดที่แสลงก็มีความสัมพันธ์กับธาตุขันต์ของผู้ป่วยแต่ละ
            คนด้วย ผลไม้ เช่น ขนุน ละมุด แตงโม ล�าใย ทุเรียน กล้วยไข่ กล้วยหอม ฝรั่ง เป็นต้น



                      (6) การท�าหัตถการอื่น
                        1) การนวดเพื่อผ่อนคลาย ** หากมีทุกขเวทนามากและต้องการนวดเพื่อผ่อนคลายไม่ควรนวดตาม
            แนวเส้นน�้าเหลือง
                        2)  การพอกตับ ในกรณีที่คล�าบริเวณตับแล้วพบว่ามีความร้อนสูง อาจมีการพอกยาสมุนไพรเพื่อเป็นการ
            ดับพิษร้อนเบื้องต้น
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41