Page 60 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 60

คู่มือปฏิบัติการ  59



                    6. การดูแลด้านเศรษฐกิจ (Economics) จากผลการศึกษาในต่างประเทศพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน�้าดี
            ที่มีอาการรบกวนจนไม่สามารถท�างานได้ ต้องลาออกจากงาน ไม่มีรายได้ จะมีความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าที่สูง
            ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างรุนแรง ถึงขั้นหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ส�าหรับผู้ป่วยมะเร็ง
            ที่อโรคยศาล นอกจากจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แล้ว เมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านก็จัดส่งยาไปให้ทางไปรษณีย์โดยไม่มี

            ค่าใช้จ่ายอีกเช่นกัน เมื่อเข้ามารับการรักษาที่วัดก็มีข้าวกล้องแจกให้ และปลูกผักให้รับประทานฟรีตลอดปี ในผู้ป่วย
            บางคนที่อาการของโรคลุกลามไปมากแล้ว และเสียชีวิตที่อโรคยศาล ทางวัดก็ด�าเนินการฌาปนกิจให้โดยไม่มีค่าใช้
            จ่ายอีกเช่นกัน เพราะผู้ป่วยที่มารักษาส่วนใหญ่จะใช้เงินในการรักษาตัวเองมาแล้วเป็นจ�านวนมาก บางรายต้องขายที่
            ท�ากินเพื่อน�าเงินมารักษาตัวเอง ผู้ให้การรักษาหรือผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจในความจ�าเป็นของผู้ป่วยและครอบครัวด้วย
                    7. การดูแลด้านจิตวิญญาณ (Spiritual Care) เป็นอีกด้านหนึ่งที่ส�าคัญที่สุดและมีผลต่อทั้งทางด้านร่างกาย
            และจิตใจ นอกจากจะให้ผู้ป่วยและญาติ/ผู้ดูแลได้มีโอกาสปฏิบัติตามแนวทางของแต่ละศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ
            ผู้ป่วยและญาติ/ผู้ดูแลได้มีโอกาสท�าบุญใส่บาตร กรวดน�้าแผ่เมตตา เพื่ออุทิศบุญกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร  นอกจาก
            นี้ผู้ป่วยใหม่ทุกรายจะต้องร่วมพิธีต้มยา ซึ่งถือว่าเป็นพิธีที่ส�าคัญส�าหรับผู้ป่วย ผู้ป่วยทุกคนจะเฝ้ารอวันที่ได้กินยา
            หม้อแรกแก้วแรกของเขา ซึ่งเป็นพิธีที่ให้ญาติได้เรียนรู้วิธีการต้มยาและเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เมื่อทางวัดส่งยาไปให้ทาง

            ไปรษณีย์จะได้ต้มยาเป็นและสรรพคุณของยาจะออกฤทธิ์ได้ดี ในพิธีต้มยาจะมีการเขียนใบสารภาพบาป โดยเขียน
            ข้อมูลของคนไข้แต่ละคน และเขียนเล่าถึงบาปหรือความรู้สึกผิดที่ติดค้างอยู่ในใจของผู้ป่วย บางเรื่องไม่สามารถบอก
            ใครได้ เช่น เคยท�าแท้ง เคยฆ่าคน เป็นต้น จากนั้นจะมีการสวดบังสุกุลให้ ถือเป็นการปลดปล่อยสิ่งที่ค้างคาอยู่ในใจได้
            ซึ่งส�าคัญมากกับผู้ป่วยมะเร็ง
                    ที่ส�าคัญที่สุดในช่วงผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิต ได้เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติได้บอกลากัน มีการขอขมาอโหสิกรรม
            ระหว่างกัน ท่ามกลางเสียงสวดมนต์ของจิตอาสา เพื่อให้จิตของผู้ป่วยที่ก�าลังจะละจากร่างอยู่ในสภาวะที่นิ่งและ
            สงบที่สุดพร้อมที่จะไปสู่ภพภูมิใหม่ที่ดีและสุดท้ายก็จะจากไปพร้อมกับรอยยิ้มหรือในทางศาสนาพุทธเราเรียกว่าการ

            “ตายดี” นั่นเอง
                    โดยสรุป การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองที่ได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องตลอด
            10 กว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัจจุบันอโรคยศาล วัดค�าประมง จึงกลายเป็นต้นแบบของการดูแลแบบประคับประคอง
            แบบบูรณาการตามวิถีไทย ที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน ตามแนววิถีพุทธที่ยึดหลักธรรมะก็คือ
            ธรรมชาตินั่นเอง
                    หลักการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองแบบบูรณาการตามแนวทางของโมเดลวัดค�าประมง จึงไม่ได้ต้องการ
            ให้ผู้ป่วยหายจากโรคเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งถึงการพัฒนาจิตวิญญาณอันเกิดจากความทุกข์ของผู้ป่วยและญาติซึ่งไม่ใช่
            เรื่องง่าย ดังธรรมะโอวาทที่พระอาจารย์ ปพนพัชร์ จิรธัมโม ได้กล่าวไว้ว่า “การดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง
            ระยะสุดท้าย ต้องสวมหัวใจของพระโพธิสัตว์ในการเยียวยาผู้ป่วย คือ สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ

                      -  สุทธิ คือความบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจาและบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังอยากได้อะไรจากผู้ป่วยและญาติ
                        ในทางการค้าพาณิชย์หรือสิ่งตอบแทนใดๆ นอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ ไปอย่างดีที่สุด
                      -  ปัญญา คือความใคร่ครวญพิจารณาอาการของผู้ป่วยตามความเป็นจริงว่าจะสามารถประคับประคอง
                        ผู้ป่วยอย่างไรให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานน้อยที่สุดและไม่ต้องใช้เงินใช้ทองมากมายมหาศาล
                      -  เมตตา คือความรักใคร่เมตตาผู้ป่วยประดุจญาติของตน ให้ก�าลังใจด้วยการสวดมนต์ ภาวนาหรือชี้ทาง
                        บรรลุธรรมให้กับผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยต้องจากไป และให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบและงดงามที่สุด
                      -  ขันติ คือ ความอดทนเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสูงสุด เพราะว่าการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายทั้งหนัก

                        ทั้งเหนื่อยและต้องใช้ความเพียรความพยายามอย่างมาก ที่จะช่วยผู้ป่วยและญาติได้เข้าใจหลักธรรม
                        ของชีวิตที่มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตายเป็นธรรมดา ที่ทุกคนจะหลีกลี้หนีไปไหน
                        ก็ไม่พ้น”
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65