Page 61 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 61
60 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
ขั้นตอนการบริการดูแลรักษา
การประเมินผู้ป่วยแรกรับ (Assess)
1. ซักประวัติและประเมินอาการผู้ป่วยแรกรับ
2. พิจารณารับผู้ป่วยทุกคนที่ต้องการมาบ�าบัดรักษาตามแนวทางอโรคยศาลวัดค�าประมง
การเตรียมตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษา (Entry)
1. น�าประวัติการรักษาที่ส�าคัญจากโรงพยาบาลมาแสดงเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการรักษา เช่น ผลการตรวจ
ชิ้นเนื้อ ผลการตรวจเลือด ผลการตรวจค่าเซลล์มะเร็ง ประวัติการท�าผ่าตัด ประวัติการรับยาเคมีบ�าบัด ผลเอกซ์เรย์
ฟิล์มเอกซ์เรย์ ผล MRI, CT Scan, Ultrasound (ถ้ามี)
2. หากมีโรคประจ�าตัวควรน�ายาเดิมมาด้วย พร้อมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้กรอกประวัติรับทราบ รวมถึงประวัติ
การแพ้ยา แพ้อาหารต่างๆ
3. จัดเตรียมของใช้ส่วนตัวทั้งของผู้ป่วยและญาติ ได้แก่
1) เครื่องนอน กระติกน�้าร้อน หม้อหุงข้าว พัดลม
2) อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่
3) อุปกรณ์ส�าหรับประกอบอาหาร โดยทางวัดจะมีครัว เตาแก๊ส และตู้เย็นสาหรับแช่อาหารสดไว้ให้
4) หม้อเคลือบส�าหรับต้มยาเบอร์ 32 จ�านวน 1 ใบ
5) อาหารส�าหรับผู้ป่วย เช่น ข้าวกล้อง ผักสด ผลไม้สด น�้าตาลทรายไม่ขัดขาว ซีอิ้วขาว เป็นต้น
6) อาหารและผลไม้ที่ห้ามรับประทาน ได้แก่ กบ เต่า ห่าน ปลาไหล ตะพาบ ปลากระเบน ไข่นกกระทา
ปลาร้า ปลาจ่อม อาหารหมักดอง อาหารทะเลทุก ชนิด ขนุน กล้วยหอม ทุเรียน ล�าไย ละมุด ฝรั่ง มะพร้าวอ่อน
กะทิ และข้าวเหนียว
7) ต้องมีญาติมาอยู่ดูแลด้วย 1-2 คน ญาติที่มาดูแล ควรมีความแข็งแรงและช่วยเหลือตัวเองได้พอสมควร
เนื่องจากต้องมีการสอนญาติให้การดูแลผู้ป่วย เช่น การอุ่นยา ต้มยา ประกอบอาหารให้ผู้ป่วย เป็นต้น เพื่อที่จะได้
เรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านด้วย
8) แนะน�าผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อปรับวิถีชีวิตให้คุ้นเคยต่อการ
ปฏิบัติตัวเพื่อพร้อมที่จะน�าแนวทางของอโรคยศาลวัดค�าประมง ไปปฏิบัติเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านได้อย่างถูกต้อง
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วยเอง
การดูแลผู้ป่วยขณะเข้ารับการรักษา (Admit)
1. ปฐมนิเทศการปฏิบัติตน การด�าเนินชีวิต และวิธีการดูแล บ�าบัด รักษา
2. การดูแล บ�าบัด รักษาตามแนวทางอโรคยศาลวัดค�าประมง มี 2 ขั้นตอนคือ โดยการปฏิบัติตนและการ
ปฏิบัติภาวนา
1) การปฏิบัติตน เน้นการปฏิบัติตนในการด�าเนินชีวิตประจ�าวัน การรับประทานอาหาร การออกก�าลังกาย
และการรักษาด้วยยาสมุนไพร
2) การปฏิบัติภาวนา เน้นการปฏิบัติธรรม เพื่อพัฒนากาย (Body) พัฒนาจิต (Mind) และพัฒนาจิต
วิญญาณ (Spiritual) เพื่อแยกใจ กาย และสามารถควบคุมอารมณ์ จิตใจ และเอาชนะความเจ็บปวดที่เกิดจาก
โรคภัยไข้เจ็บได้