Page 25 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 25
24 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
2. กรรมในอดีต (โบราณกรรม) ได้แก่ กรรมที่เคยกระท�าไว้กับผู้อื่นในอดีตทั้ง กาย วาจา และใจ รักษาได้
ด้วยการนั่งสมาธิ สวดมนต์ แผ่เมตตาและธรรมะบ�าบัด
3. การถูกกระท�าที่เป็นของเหนือธรรมชาติ เช่น การถูกของ ถูกมนต์ ซึ่งทางการแพทย์แผนไทยเชื่อว่า
เป็นเช่นนั้น จึงมีการแก้ไขหรือการรักษาด้วยการนั่งสมาธิ สวดมนต์ และพิธีกรรม
รูปภาพที่ 4. การเกิดมะเร็งตามความเชื่อทางการแพทย์แผนไทย
อาการ
1. อาการทางปิตตะ มีไข้ก�าเดาปรากฏบ่อยครั้งเป็นๆ หายๆ เนื้อตัวรุม มีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาว
มีแผลในปากหรือมีฝ้าที่ลิ้นจากไอความร้อนภายใน (ก�าเดา) เนื่องจากมีการอักเสบและบวม ไฟย่อยอาหาร (ก�าเดา
ย่อยอาหาร) ย่อยอาหารไม่ดี ผิวหนังเหี่ยวย่น มีไฝฝ้าปรากฏและมีสีเข้ม
2. อาการทางวาตะ ท้องอืด ท้องพอง รับประทานอาหารได้น้อย อิ่มท้องไปด้วยลม ปวดเสียดท้อง ลมในท้อง
วิปริตแปรปรวน เกิดเหน็บชาเนืองๆ (อาการลมเปลี่ยวด�า)
3. อาการทางเสมหะ มีอาการทางเสมหะ ให้ไอเป็นเวลานานไม่หาย บางทีไอเป็นโลหิต ไอเป็นมองคร่อ
ปัสสาวะและอุจจาระวิปริตแปรไป ทั้งสี กลิ่น และขัดบ้าง ท้องผูกบ้าง ลงท้องบ้าง บางทีมีกลิ่นเหม็นคาวและ
ตกโลหิตออกทางช่องทวารหนักและทวารเบา และปะระเมหะต่างๆ แปรปรวนและวิปริตจากเดิม
4. อาการทางปถวีธาตุ (ธาตุดิน / อวัยวะธาตุ) กายผ่ายผอม อ่อนเพลียโหยหาแรงมิได้ กินไม่ได้ มีแผล ฝี
หนองและน�้าเหลือง มีก้อนทั้งภายในหรือภายนอกกาย ปวดเมื่อยตามร่างกายเป็นก�าลัง อ่อนก�าลังหายใจเหนื่อยหอบ
อาจมีฝีเปื่อยเน่าหรือเป็นหนอง บ้างเป็นป้างเป็นดานและเป็นมาน เป็นอาการตัด
การตรวจประเมิน
ตรวจอาการต่างๆ และซักประวัติตามอาการของกลไกการเกิดโรค ถ้าพบมีอาการต่างๆ เกินกว่ากึ่งหนึ่งของ
อาการในแต่ละธาตุรวมกัน ก็ให้เป็นเหตุว่าป่วยเป็นอาการแห่งฝี ฝีมะเร็ง หรือโรคมะเร็ง