Page 23 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 23
22 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งท่อน�้าดี
1. การมีพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverini) ซึ่งอาศัยในทางเดินน�้าดี เป็นปัจจัยเสี่ยงส�าคัญ พบมากใน
คนอีสานที่กินปลาดิบ ปลาร้าดิบ ในบริเวณที่มีความชุกของพยาธิใบไม้ในตับสูง เช่น รอบหนองหาร จังหวัดสกลนคร,
เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น โดยเฉพาะบริเวณรอบหนองหาร จังหวัดสกลนครมีอัตรา
การเสียชีวิตมะเร็งท่อน�้าดีในตับ สูงสุดในประเทศไทยและสูงสุดในโลก
2. การรับประทานอาหารที่มีสาร Nitroso compound และ Nitrosamine ซึ่งเป็นสารที่ท�าให้เนื้อที่หมักมี
สีแดง เช่น แหนม และปลาจ่อม เป็นต้น
3. การใช้ชีวิตที่ตึงเครียดเกินไป ท�าให้มีการคั่งของสารพิษที่สร้างภายในร่างกาย จนเกิดภาวะขาดออกซิเจน
ตามมา
การรักษามะเร็งท่อน�้าดี
การป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งส�าคัญที่สุด โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง งดกินปลาดิบ ปลาร้าดิบ สารหมักเนื้อ
ให้เป็นสีแดง ท�าจิตใจให้เบิกบาน ลดความเครียด และออกก�าลังกายให้โลหิตหมุนเวียนไม่ติดขัด
การรักษามะเร็งท่อน�้าดีและการพยากรณ์โรค
1) การรักษาแบบแผนปัจจุบัน ใช้การผ่าตัดเป็นหลัก รองลงมาเป็นเคมีบ�าบัดและการฉายรังสี
2) การรักษาด้วยการแพทย์แผนไทย โดยใช้สมุนไพรเป็นหลัก
3) การรักษาด้วยการปรับสมดุลธรรมชาติ โดยลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม งดเนื้อสัตว์ งดสารปรุงแต่ง
อาหาร การใช้สมาธิบ�าบัด การใช้พลังบ�าบัด การออกก�าลังกาย การท�าจิตใจให้แจ่มใส การใช้พลังคิดบวก
4) การรักษาแบบประคับประคองให้พออยู่ได้ (Palliative care) โดยการผสมผสานการรักษาแบบต่างๆ
อย่างเหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละราย จนถึงวาระสุดท้ายโดยสงบ
ตารางที่ 1. แสดงผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน�้าดีที่ได้รับการผ่าตัดเปรียบเทียบกับไม่ได้ผ่าตัด
(ข้อมูลจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น)
ชนิดการรักษา สัดส่วนผู้ป่วย อยู่ได้นานเฉลี่ย (เดือน)
1) ไม่ได้ผ่าตัด - 6
2) ตายหลังผ่าตัดทันที 5.52% 0
3) ผ่าตัดออกไม่หมด 60.77% 5
4) ผ่าตัดออกหมด เฉพาะที่ตาเห็น 22.65% 10
5) ผ่าตัดออกหมด เมื่อตรวจด้วยกล้องแล้วไม่เหลือ 16.57% 60 (5 years survival)
ผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน�้าดีคิดจากผู้ป่วยมะเร็งท่อน�้าดีผ่าตัดทั้งหมด 181 คน ที่รพ.ศรีนครินทร์ ขอนแก่น
พ.ศ. 2541-2545 ระยะ 1-2 จ�านวน 19 คน ระยะ 3A-3B จ�านวน 33 คน ระยะ 3C จ�านวน 74 คน และระยะ 4
จ�านวน 45 คน การรอดชีวิตจะมากขึ้นถ้าการผ่าตัดเอาก้อนออกได้หมด มี 39 % (ชนิดที่ 4 และ 5 ในตาราง)
การรอดชีวิตถ้าไม่รับการรักษาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6 เดือน เหมือนกับมะเร็งตับ
โดยสรุป
ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน มะเร็งท่อน�้าดี เมื่อเป็นแล้วมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้ไม่นานนัก (ไม่เกิน
6 เดือน) การผ่าตัดออกหมดจะยืดอายุผู้ป่วยได้ แต่โดยมากมักจะผ่าตัดไม่ได้เพราะโดยส่วนใหญ่จะพบเมื่อเป็นระยะ
ที่มากแล้ว ดังนั้นการป้องกันจึงส�าคัญกว่า