Page 28 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 28

แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน  27



            แน่น หายใจไม่ออก ในการซักประวัติผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เป็นมูลเหตุท�าให้เกิดโรค แนะน�าให้ผู้ป่วยหยุด
            พฤติกรรมนั้น
                    2. การตรวจประเมินกลุ่มเสี่ยง อาการเริ่มต้นก่อนเป็นมะเร็งตับ ที่ต้องให้การระมัดระวังและแก้ไข
            ตั้งแต่เนิ่นๆ ได้แก่

                      1) อาหารไม่ย่อย
                      2) ท้องอืด เฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว เนื่องจากไฟย่อยผิดปกติ ตับเป็นผู้สร้างไฟย่อย ถ้าไฟก�าเริบ หรือไฟหย่อน
                        ย่อมแสดงถึงการเริ่มมีความผิดปกติของตับ บางครั้ง การตรวจผู้ป่วยโดยการดมที่ปากผู้ป่วยจะได้กลิ่น
                        เหม็นเปรี้ยว
                      3) ถ่ายยาก ท้องผูก ซึ่งเป็นผลตามมาจากความร้อนที่ตับหรือตับร้อนจากเหตุดังกล่าวข้างต้น
                      4) ปวดเสียดที่ชายโครงขวา  คือ  ลมปิตะคุละมะ  เนื่องจากมีก�าเดาสูง  มีไฟในที่แคบและละเอียด
                        แปรเปลี่ยนเป็นลมดันเสียดขึ้นบริเวณตับ
                      5) อุจจาระเป็นสีเขียว มีกลิ่นหญ้าเน่า เป็นๆ หายๆ แสดงถึงความผิดปกติของธาตุไฟ
                    อาการเริ่มต้นเหล่านี้ ต้องรีบแก้ไขก่อนที่โรคจะก�าเริบขึ้นแปรเปลี่ยนไปเป็นก้อนและกลายเป็นมะเร็งตับ

            ในที่สุด
                    3. การประเมินคนไข้ พบมีอาการปวดท้อง ระบบขับถ่ายผิดปกติ เสียดตามชายโครง รวมถึงมีอาการแน่นจุก
            อาหารไม่ย่อย มีกรดแก๊สหรืออาการกรดไหลย้อน (ซึ่งเชื่อมโยงเกับระบบน�้าดีและการท�างานของตับผิดปกติ) มีอาการ
            ปวดศีรษะ ตัวร้อน สะท้านร้อนสะท้านหนาว ไม่มีน�้าตา ปากคอแห้ง กระหายน�้า นัยน์ตาแดงเจ็บในตา ขอบตาเขียว
            แสบอก เสียดแทง นอนไม่หลับ มวนท้อง อาเจียน สะอึก

            การรักษา

                    การรักษาโรคมะเร็งตามหลักการแพทย์แผนไทยเป็นการรักษาแบบองค์รวมโดยเน้นการดูแลรักษาด้านจิตใจ
            อาหาร และยาสมุนไพร ดังนี้
                    1. จิตใจ การรักษาจิตเป็นสิ่งส�าคัญ การคิดบวก ยอมรับความจริง ไม่เครียด ท�าใจให้มีความสุข เช่น ขอบคุณ
            ที่เป็นมะเร็งท�าให้ได้ใช้ชีวิตอย่างมีสติมากขึ้น ทั้งการกระท�าด้วยกาย วาจา และใจที่ไม่ท�าให้ผู้อื่นเสียใจ กระทบ
            จิตใจผู้อื่น การบ�าบัดด้วยดนตรีบ�าบัด การวาดรูป การพูดคุยกับผู้ป่วยที่เป็นช่วยให้เห็นว่าผู้อื่นก็มีความทุกข์เช่นกัน
            การปล่อยวางโดยการสวดมนต์ การนั่งสมาธิเป็นหลักและปฏิบัติธรรมเพื่อแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งในอดีตชาติ
            และชาติปัจจุบัน การที่ใจจดจ่อกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วไม่ทุรนทุรายไปคิดเรื่องการเจ็บป่วย ท�าให้มีก�าลังใจ ยอมรับ
            ความจริงและพร้อมเผชิญกับสิ่งที่จะเกิดามมาได้อย่างมีสติ สามารถด�ารงชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี

                    2. อาหาร ควรเป็นอาหารที่ไม่มีไขมัน ควรละเว้นเนื้อสัตว์ซึ่งท�าให้เพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เพราะ
            จากการเลี้ยงเซลล์มะเร็ง เซลล์มะเร็งจะเจริญได้ในน�้าเลือดของวัวทีมีความเข้มข้นเพียง 5-10% เท่านั้น และอาหาร
            ที่มีสภาวะด่างรุนแรง เซลล์มะเร็งจะรอดชีวิตน้อย อาหารแสลงที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
                      1. เนื้อสัตว์และปลาที่เป็นปลาหนังหรือปลาไม่มีเกล็ด เช่น ปลาดุก ปลาสวาย
                      2. อาหารหมักดองทุกชนิด ที่ได้มาจากพืชและสัตว์
                      3. กลุ่มอาหารทะเลทุกชนิด นมจากสัตว์ ไข่แดง
                      4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มบ�ารุงก�าลัง น�้าอัดลม

                      5. ข้าวเหนียว เห็ดโคน ผักที่มีกลิ่นฉุน เช่น ใบกุยช่าย ชะอม
                      6. ผลไม้ที่มีรสฝาด รสหวานจัด และผลไม้ที่สร้างกรดแก๊สง่าย เช่น ฝรั่งห่าม ทุเรียน ขนุน ล�าไย ละมุด
                        กล้วยหอม ส้มโอ แตงโม
                    **กรณีผู้ป่วยที่มีอาการก�าเริบของโรคมาก ควรรับประทานอาหารมังสวิรัติ หลีกเลี่ยงโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์
                    3. ยาสมุนไพร ต�ารับยาในคัมภีร์การแพทย์แผนไทยที่ใช้ในการรักษามะเร็งมีหลายต�ารับให้เลือกใช้ตามระดับ
            โรคและอาการของผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนใหญ่ประกอบด้วยยาในกลุ่มยาถ่ายพิษ ถ่ายของเสียในร่างกาย ทั้งอุจจาระ
            ปัสสาวะ เมื่อมียาที่ช่วยในการรักษาแล้ว ก็จะมียาที่ใช้รักษาอาการไม่สุขสบาย ยาที่ท�าให้ร่างกายแข็งแรง ยาบ�ารุง
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33