Page 29 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 29
28 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
ที่ช่วยให้เจริญอาหาร เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย ลักษณะกลุ่มยาที่ใช้มีดังนี้
- ยารสขม รสเปรี้ยว ช่วยระบาย ถ่ายพิษ ถ่ายของเสีย
- ยารสจืด ช่วยขับปัสสาวะ
- ยารสหอมเย็น ช่วยบ�ารุงหัวใจ
- ยารสเผ็ดร้อน ช่วยเรื่องระบบไหลเวียน ขับลม แก้อาการท้องอืดเฟ้อ
นอกจากนี้ยังมียารสเมาเบื่อที่ใช้แก้พิษ หรือเป็นยาต้านมะเร็ง อาทิเช่น หัวข้าวเย็นทั้งสอง รากทองพันชั่ง
รากหนอนตายอยาก เป็นต้น
แนวคิดการใช้ยาจากสมุนไพรในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคอง
ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจะมีอาการไม่สุขสบายหรืออาการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สาเหตุหลักจากการ
ก�าเริบของโรคและอาการของผู้ป่วยเอง ซึ่งมีความสัมพันธ์จากภายในร่างกาย เช่น มีการลุกลามของโรคไปสู่ระบบ
อื่นๆ ในร่างกาย เช่น ต่อมน�้าเหลือง ปอด และความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ และยังมีความสัมพันธ์จากภายนอก
ร่างกาย เช่น สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง (อุตุสมุฎฐาน) อากาศร้อนผู้ป่วยจะมีอาการตัวรุมๆ อากาศหนาวผู้ป่วย
จะมีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาว อากาศมีความชื้น (มีเมฆฝน) ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หายใจขัด มีเสมหะ อาการ
แทรกซ้อนเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นต้นเหตุให้ผู้ป่วยมีอาการทุกข์ทรมานเพิ่มขึ้น
กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งท่อน�้าดีจะมีอาการปวดเสียดชายโครงขวา (ลมปิตตะคุละมะ) ปวดหลังมีอาการหลังแข็ง
และมีอาการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง (ตามแนวเส้นสันทฆาต เส้นปัตตฆาต และเส้นรัตตฆาต) อาหารไม่ย่อย
จุกเสียดในช่องท้อง มีไข้ต�่าๆ ตลอดวัน โดยเฉพาะเวลาช่วงเที่ยงถึงเย็น จะมีอาการไข้ไม่สบายตัว
ตะครั่นตะครอเมื่อยเนื้อตัว ตัวร้อน มือเท้าเย็น ตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง ฝามือฝาเท้าลอก คันตาม
ผิวทั่วตัว อาการสะอึกต่อเนื่อง ท้องโต (มาน) เบื่ออาหารกินอาหารได้น้อยลง กินอาหารแล้วอาเจียน การกลืนอาหาร
ล�าบาก อารมณ์หงุดหงิดโมโหง่าย ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยมานานจะมีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย อาการขัดปัสสาวะ อุจจาระ
ผู้ป่วยมะเร็งตับและมะเร็งถุงน�้าดีจะก�าเริบมีอาการปวดมากในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนถึงเช้า
การใช้ยาสมุนไพรในการรักษามะเร็งของแพทย์แผนไทยหรือหมอพื้นบ้านจะพิถึพิถันใส่ใจตั้งแต่การเก็บ
ตัวยาจากป่าเพราะจะมีพิธีกรรมในการขอเก็บ การขอเทวดาอารักษ์ เพื่อให้ได้ยาที่ดี หลังจากนั้น การน�ายามาปรุง
แพทย์แผนไทยหรือหมอพื้นบ้านจะมีการสวดมนต์ อธิษฐาน ระลึกถึงครูบาอาจารย์ทั้งอดีตและปัจจุบันที่
ประสิทธิประสาทวิชาและต�ารายาให้มารักษา เมื่อจ่ายยาให้กับคนไข้ หมอผู้ท�าการรักษาจะขออนุญาตกับเจ้ากรรม
นายเวรของผู้ป่วยก่อนท�าการรักษา พิธีกรรมเหล่านี้ แพทย์แผนไทยหรือหมอพื้นบ้านเชื่อว่า เป็นการลดทอนกรรม
ของผู้ป่วย การรักษาจะใช้พิธีกรรมควบคู่กันกับการรักษาด้วยยาสมุนไพรทุกครั้ง เพื่อสร้างขวัญก�าลังใจให้ผู้ป่วย
ศรัทธาและเชื่อมั่นในยาที่ใช้รักษา มีก�าลังใจในการดูแลตนเพื่อให้หายจากอาการเจ็บป่วยหรือลดความทุกข์ทรมานได้
หลักการรักษา
1. ใช้หลักการ รุ ล้อม รักษา บ�ารุง ดังนี้
รุ คือ การขับของเสียเพื่อท�าความสะอาดภายในร่างกายผู้ป่วย ถ่ายของเสียออก ถ่ายพิษออก ถ่ายลมออก
ไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือตะกรันมาบั่นทอนการรักษาในขั้นตอนต่อไป ผู้ป่วยจะรู้สึกสดชื่นแข็งแรงขึ้น แต่โรคยังอยู่
ล้อม คือ การรักษาอาการข้างเคียงของโรคตามหลักสมุฏฐานวินิจฉัยของแพทย์ เรียกว่า “การล้อมอาการ”
เช่น ก่อนที่จะให้ยารักษามะเร็ง ให้ค�านึงถึงว่าก่อนที่จะเป็นมะเร็งเกิดจากอะไรมาก่อน ก็ต้องไปบ�ารุงรักษาฟื้นฟูก่อน
จึงค่อยให้ยารักษามะเร็ง ทั้งนี้ การรักษามะเร็งจะดูเฉพาะราย โดยส่วนใหญ่จะเริ่มที่ “ล้อม” ก่อน คือล้อมไว้ไม่ให้
กระจายไปที่อื่น แล้วจึงรุเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
รักษา คือ การวางยาบ�าบัดรักษา เมื่อการล้อมได้ผล แพทย์ก็จะท�าการรักษาเป็นล�าดับสุดท้าย เรียกว่า
การรักษาอาการ ซึ่งจะตรงไปที่สาเหตุของอาการหรือโรคทันที เบื้องต้นแพทย์ต้องให้ยาล้อมอาการออกมาจากอาการ
หลัก แล้วจึงให้ยาบ�าบัดภายหลังหรือให้พร้อมกับขั้นตอนการรุ แล้วแต่แผนการรักษา ซึ่งเป็นศิลปะการรักษาของ
แพทย์แต่ละท่านตามแต่อาการของผู้ป่วย