Page 26 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 26
แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน 25
มะเร็งตับและมะเร็งท่อน�้าดี
ทางการแพทย์แผนไทย มะเร็งตับ หมายถึง ลักษณะที่ตับพิการ เช่น ฝีในตับ ฝีรวงผึ้ง กษัยลิ้นกระบือ
สันนิบาตกะตัดศีรษะด้วน จากการเทียบเคียงองค์ความรู้ในต�ารา/คัมภีร์การแพทย์แผนไทยกับการแพทย์แผนปัจจุบัน
ได้ดังนี้
คัมภีร์ทิพมาลา ฝีรวงผึ้ง มีอาการสอดคล้องกับ โรคตับแข็ง
คัมภีร์กษัย กษัยลิ้นกระบือ มีอาการสอดคล้องกับ มะเร็งตับ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุที่มี
การกระแทกหรือกระทบต่อช่องท้อง เกิดเพราะโลหิตเป็นลิ่มเกาะที่ชายตับเป็นตัวแข็งยาวมีสัณฐานอย่างลิ้นกระบือ
ท�าให้ครั่นเนื้อครั่นตัวและจับ (มีไข้) เป็นเวลา และกลุ่มที่มีอาการไข้เรื้อรังที่เป็นๆ หายๆ มาตลอด
คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ สันนิบาตกะตัดศีรษะด้วน (ภาวะมีก้อนที่ตับท�าให้ตับโต และอาจไปเบียดท่อน�้าดี)
มีอาการสอดคล้องกับกลุ่มมะเร็งระบบท่อน�้าดี
คัมภีร์โรคนิทานและคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ยกนัง (ตับ) พิการ มีอาการสอดคล้องกับตับอักเสบ เกิดเพราะโทษ
4 ประการเป็นเหตุ คือ เกิดกาฬในตับ ตับหย่อน เป็นฝีในตับ ถ่ายอุจจาระเป็นโลหิตสด กาฬมูตรถ่ายเป็นเสมหะ
โลหิตเน่า ปวดมวน ตาแดงเป็นสายโลหิต ระส�่าระสาย หอบเป็นนิจ บริโภคอาหารไม่ได้ ระบบขับถ่ายผิดปกติ เป็น
โบราณกรรมจนถึงมีอาการป่วยรุนแรง เป็นอติสารกาฬ 5 ประการ ในคัมภีร์อติสาร ซึ่งมีลักษณะอาการสอดคล้อง
กับโรคมะเร็งในล�าไส้ มะเร็งตับ มะเร็งในถุงน�้าดี มีอาการถ่ายมีโลหิตปะปนออกมาด้วย เป็นลักษณะของมะเร็งระยะ
สุดท้าย รักษายากหรือรักษาไม่ได้
คัมภีร์อุทรโรค กล่าวถึงโรคในส่วนช่องท้อง ท�าให้ท้องพองใหญ่ เกิดจากธาตุวิปริตในกองสมุฏฐาน สมมุติ
เรียกว่า “มาน” มีลักษณะอาการสอดคล้องกับมะเร็ง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งในล�าไส้ มะเร็งมดลูก เป็นต้น
คัมภีร์มุจฉาปักขันธิกา กล่าวถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่าย ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น พวกโทสัณฑะฆาต
มักเกิดจาท้องผูกเป็นประจ�า หรือการถูกกระทบกระเทือนต่อระบบทางเดินอาหาร ท�าให้เกิดอาการท้องผูกเป็นประจ�า
มีภาวะของเสียคั่งในล�าไส้ ท�าให้มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งล�าไส้ใหญ่ได้
คัมภีร์ฉันท์ศาสตร์ กล่าวถึง การเกิดไข้ การเกิดโรคจนถึงมรณญาณสูตร และโรคท้องร่วงต่างๆ ซึ่งหาก
ปล่อยไว้เรื้อรังไม่รักษาก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้
คัมภีร์ตักศิลา เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึง ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หวัดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ไข้ก�าเดา รวมเรียกว่า ไข้ตักศิลา
ซึ่งสอดคล้องกับแพทย์แผนปัจจุบัน คือ สภาวะที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่กระแสโลหิตและลุกลาม
เข้าสู่ระบบเลือดและน�้าเหลือง ท�าให้มีภาวะภูมิต้านทานต�่า ท�าให้เป็นโรคภูมิแพ้ได้ และหากรักษาไม่หายขาดหรือ
กระทุ้งพิษออกไม่หมด เชื้อจะไปฝังตัวอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ปอด หัวใจ สมอง ล�าไส้ ไต ม้าม ต่อมน�้าเหลือง
นานวันเข้าส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลง และเมื่อร่างกายได้รับเชื้อเพิ่มหรือมีเหตุปัจจัยอื่นมากระทบ ท�าให้มีการอักเสบ
และแสดงอาการของโรคร้ายหรือมะเร็ง ซึ่งยากต่อการรักษา เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ที่มีโอกาสเป็นมะเร็งตับได้
มูลเหตุการเกิดโรค / กลไกการเกิดโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
ทางการแพทย์แผนไทย มะเร็งตับเกิดได้จากหลายสาเหตุ เกิดจากอุบัติเหตุ ตกต้นไม้ ถูกทุบถองโบยตี
ถูกท�าร้ายให้กระทบชอกช�้าอวัยวะภายในแล้วไม่ได้รับการรักษา เกิดจากเป็นไข้พิษไข้กาฬ ไข้ติดเชื้อจากภายนอก
เช่น ไวรัสตับ การกินอาหารดิบ ของบูดเน่า การมีพฤติกรรมก่อโรค หรือเป็นอุปปาติกะโรคเกิดจากตัวมันเอง เป็น
โบราณโรคโบราณกรรม เมื่อไม่ได้รักษาให้หายปล่อยให้เรื้อรัง ระบบของธาตุหมุนเวียนมีอาการผิดปกติ ก�าเริบ หย่อน
พิการ ท�าให้ร่างกายเสียสมดุล กลายเป็นฝีมะเร็ง กษัย ริดสีดวง สันนิบาต มหาสันนิบาต เป็นสาเหตุเบื้องต้นของ
โรคที่สัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งตับได้ในที่สุด
ปัจจัยเสี่ยง / กลุ่มเสี่ยง / พฤติกรรมก่อโรค
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของระบบหายใจ ได้แก่ ปอด และกล่องเสียง ซึ่งอาจลามไปที่ตับ
2. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจ�า มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ถ้าทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็น
มะเร็งช่องปากและในล�าคอด้วย