Page 27 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 27
26 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
3. ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีสารพิษในเชื้อรา
อะฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนในอาหาร เช่น ถั่วลิสงป่น หากรับประทานประจ�าจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ
และหากได้รับทั้ง 2 อย่างมีโอกาสเป็นมะเร็งตับมากขึ้น
4. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจ�า มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งล�าไส้ใหญ่
มะเร็งเยื่อบุมดลูก และมะเร็งต่อมลูกหมาก
5. ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิวเป็นประจ�า มีความเสี่ยงต่อการเป็น
มะเร็งท่อน�้าดีในตับ
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือติดเชื้อไวรัส HIV (เอดส์) มีความเสี่ยง
ต่อการเป็นมะเร็งต่อมน�้าเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด
7. ผู้ที่รับประทานอาหารเค็มจัด อาหารที่มีส่วนผสมของดินประสิวและส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารเป็นประจ�า
จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งล�าไส้ใหญ่
8. ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว เช่น มะเร็งจอตา มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งล�าไส้ใหญ่ชนิด
ที่เป็นติ่งเนื้อ
9. ผู้ที่ตากแดดจัดเป็นประจ�าจะได้รับอันตรายจากแสงแดดที่มีปริมาณแสงอัลตราไวโอเลตจ�านวนมาก มีผล
ท�าให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้
อาการ
ส่วนมากผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกจะมาพบแพทย์ด้วยอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีกรดและแก็สมาก
ในกระเพาะอาหารและทางเดินอาหาร เนื่องจากไฟย่อยอาหารพิการ (ปริณามัคคีพิการ/แตก) อาการโรค มักให้มือเท้าเย็น
ชีพจรเดินไม่สะดวก บางทีให้ตัวเย็นดุจน�้าแต่ภายในร้อน ให้รดน�้าอยู่มิได้ขาด บางทีให้ตัวเย็นและเสโท (เหงื่อ) ตก
ดุจเมล็ดข้าวโพด ซึ่งมีกล่าวไว้ในคัมภีร์โรคนิทานและธาตุวิภังค์ ในผู้ป่วยแต่ละราย ไม่จ�าเป็นต้องมีอาการดังกล่าว
ทุกประการ อาจเป็นเพียงอาการร่วมของอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย และอาการดังกล่าวไม่ได้เป็นตลอดระยะเวลา
อาจเป็นพักๆ ในช่วงอาการก�าเริบ ปริณามัคคี - ไฟย่อยอาหาร ในสมุฎฐานเตโชธาตุพิกัดพัทธปิตตะ (น�้าดี) อาการ
ที่ระบบน�้าดีก�าเริบ หย่อน พิการ มีกล่าวไว้ในสันนิบาตเกิดเพื่อปิตตะสมุฎฐาน 4 ประการ คือ เกิดเพื่อดีซึม เกิดเพื่อ
ดีล้น เกิดเพื่อดีพลุ่ง เกิดเพื่อดีรั่ว
ในคัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ อาการของดี 4 ประการนี้ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งอาจเป็นต่อเนื่องเป็น
ระยะ หรือเป็นๆ หายๆ เป็นช่วงๆ อาการหลักของผู้ป่วยจะมีอาการเครียด ขี้หงุดหงิด อารมณ์ฉุนเฉียวและตกใจง่าย
มีอาการปวดแน่นชายโครงขวาเป็นบางครั้ง และมีอาการตึงเกร็งที่กล้ามเนื้อช่องท้องหรือปวดท้องน้อยบ่อย และรู้สึก
ร้อนวูบวาบที่ช่องอก มักจะนอนหลับยาก มักจะง่วงนอนตอนกลางวัน และมีอาการอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง จะรู้สึก
ว่ามีอะไรจุกอยู่ในคอหอย กลืนก็ไม่ลงหรือจะคายก็ไม่ออก ท�าให้เบื่ออาหาร มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อคล้ายอาหาร
ไม่ย่อย เรอบ่อย ผิวหน้าซีดเหลือง มีอาการท้องร่วง มีไข้ต�่าๆ อาการจะก�าเริบช่วงบ่ายร่วมด้วย นานวันเข้าโรคจะ
แปรเป็นปัญหาของระบบอุจจาระธาตุ หรือมีอาการควบคู่กับอาการโรคของผู้ป่วยเลยก็ได้
ในคัมภีร์กษัยกล่าวว่า เกิดเพื่อโลหิตติดอยู่ชายตับเป็นตัวแข็งยาวออกมาจากชายโครงด้านขวา มีสัณฐาน
ดังลิ้นกระบือ ให้สะท้านร้อนสะท้านหนาว ครั่นตัว ให้ร้อนให้จับเป็นเวลา ไม่มีน�้าตา ปากคอแห้ง กระหายน�้า นัยน์ตาแดง
เจ็บในตา ขอบตาเขียว แสบอก เสียดแทง นอนไม่หลับ มวนท้อง อาเจียน สะอึก ให้จุกให้แน่น บริโภคอาหารไม่ได้
นอนไม่หลับเป็นนิจ กายซูบผอมแห้งไป แน่นชายโครงขวา บางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หลังไหล่ จุกแน่นท้อง
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เป็นไข้ ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลือง ตาเหลือง การขับถ่ายไม่ปกติ ครั้นนานเข้ากษัยแตกออก
เป็นโลหิต น�้าเหลืองไหลซึมไปในล�าไส้ใหญ่ ไส้น้อย ให้ไส้พองท้องใหญ่ ได้ชื่อว่า “มานกษัย” รักษายาก นานไปกษัย
แตกออกแก้ไม่ได้ (ให้แก้แต่ยังเป็นกษัยลิ้นกระบือ)
การตรวจประเมินทางการแพทย์แผนไทย
1. ซักประวัติตามอาการ ตรวจร่างกายจะพบมีอาการบวมของตับ ใช้มือกดที่ชายโครงด้านขวา จะรู้สึกตื้อ