Page 24 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 24
แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน 23
การแพทย์แผนไทย
“มะเร็ง” ทางการแพทย์แผนไทย หมายถึง
1) โรคเรื้อรังกลุ่มหนึ่ง ผู้ป่วยมักมีแผล ผื่น ตุ่ม หรือก้อน ผุดขึ้นตามส่วนต่างๆ ภายในหรือภายนอกร่างกาย
2) ฝีหรือแผลอักเสบเรื้อรัง
3) เนื้องอกร้ายหรือก้อนเนื้อก้อนหนองที่ผุดออกมาจากกายทั้งอวัยวะภายนอกและภายในที่ผิดปรกติ เรียก
“ฝี” หรือ “ฝีมะเร็ง” ก็เรียก เป็นโบราณโรคคือโรคเรื้อรัง โรคที่มิใช่ธาตุก�าเริบหรือหย่อนแต่พิการไปแล้ว
4) กษัยหรือโรคกษัย เช่น กษัยลิ้นกระบือ (อาการตับโตผิดปกติหรือมะเร็งตับ) เกิดได้จากหลายสาเหตุ หรือ
ริดสีดวงซึ่งมีกล่าวไว้ในคัมภีร์มหาโชตรัต คือ ริดสีดวงมหากาฬ 4 จ�าพวก (คือริดสีดวงที่เกิดขึ้นในคอ ในทวารหนัก
ทวารเบา ในล�าไส้ มีลักษณะทั้งเป็นติ่งเนื้อเยื่อ เป็นก้อน หรือมีลักษณะเป็นฝีหนอง) อาจเปรียบได้กับซีสต์ (cyst)
ติ่งเนื้อ ฝีภายใน ฝีวัณโรค เนื้องอกต่างๆ เนื้อร้าย เป็นต้น
เมื่อเกิดโรคเรื้อรังที่ท�าให้ธาตุดินผิดปกติ เช่น อุจจาระมีกลิ่นดั่งซากศพ มีสีด�า เป็นอาการแสดงของธาตุดิน
ก�าเริบ คือ มีก้อนอวัยวะโตขึ้น มีอาการสอดคล้องกับกับมะเร็งในแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น มะเร็งล�าไส้ใหญ่ มะเร็ง
ล�าไส้เล็ก มะเร็งตับ ซึ่งจะมีอาการการแสดงออกของอุจจาระมีสี และกลิ่นผิดปกติไป ทั้งนี้ ต�าราการแพทย์แผนไทย
ในคัมภีร์กษัย กล่าวถึง “มะเร็ง” (“มะ” คือ ลูก ผล หรือก้อน “เร็ง” คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย หรือโรค
ที่รักษาไม่หายหรือปล่อยเรื้อรังไม่รักษา ไม่ขับพิษออกจากร่างกาย นานเข้าจึงแสดงอาการของโรคร้ายตามมา จนยาก
แก่การรักษา) ซึ่ง “กษัย” เกือบทุกชนิดคือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร (ท้อง) เช่น กษัยล้น (ท้องขึ้น) กษัยปู
(เหมือนปูไต่ในท้อง) กษัยราก (อาเจียน) กษัยจุก กษัยเสียด เป็นต้น ส่วนมะเร็งอื่นๆ อาจมีอาการสอดคล้องกับการ
ติดเชื้อเรื้อรัง การอักเสบ หรือบาดแผลเรื้อรังในการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้ถือว่าเป็นมะเร็ง
กลไกการเกิดโรคมะเร็งทางการแพทย์แผนไทย
มะเร็งเกิดเพื่อจตุธาตุ (ธาตุ 4) และตรีธาตุสมุฏฐานกองใดกองหนึ่งวิปริตเป็นชาติ จะละนะ หย่อน ก�าเริบ
พิการระคนกัน แล้วตั้งต่อมขึ้นเป็นประเภทต่างๆ โดยมีมูลเหตุจากพฤติกรรมก่อโรคทั้ง 8 ประการ โดยมีล�าดับการ
เกิดมะเร็ง ดังนี้
1. พฤติกรรมก่อโรคทั้ง 8 ประการก่อให้เกิดกษัย (ความเสื่อมไปจากเดิม)
2. จากกษัย จะถูกแปรไปเป็นปะระเมหะ เกิดตะกรันกรีสัง (อาหารเก่า) ในอวัยวะน้อยใหญ่
3. ปะระเมหะ (ของเหลวต่างๆ ในร่างกายที่ข้นขึ้น) และตะกรัน รวมตัวกันพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็น
เม็ดเป็นก้อนตั้งขึ้นที่มดลูก เซลล์ไขมัน ตามผิวหนัง หรือเกิดจุดฝ้าขาวที่อวัยวะภายใน เช่น เกิดที่ปอด ตับ
4. เมื่อนั้นร่างกายจะสร้างกิโลมกัง (พังผืด) ขึ้นจับรัดก้อนนั้นไว้ท�าให้มีการดึงรั้ง
5. โลหิตังจะเข้าไปหล่อเลี้ยงพังผืดก้อนใหม่นั้นไว้ ซึ่งเป็นฝีดีหรือฝีร้ายก็ได้ทั้งสิ้นโดยพิจารณาจากมูลเหตุ
ก่อโรคเป็นส�าคัญ ก้อนใหม่นั้นจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่เกินจากกายปกติชัดเจน
6. ร่างกายจะสร้างบุพโพ คือมีน�้าเหลืองเข้าไปท�าลายก้อนใหม่ที่เกิด แสดงว่าเกิดการอักเสบในบริเวณนั้น
7. หากบุพโพดีไม่สามารถท�าลายก้อนใหม่ที่เกิดได้ จะเกิดเป็นเสลดเสีย (อาการอักเสบ) เสลดเสียนั้นจะแทรก
กลับเข้าไปในโลหิตังกระจายไปทั่วร่างกาย และไปรวมตัวกันใหม่เกิดเป็นปะระเมหะ หรือฝีร้ายคือเกิดการอักเสบเข้าสู่
ระบบน�้าเหลือง เทียบได้กับมะเร็งระยะที่ 3 หรือ ระยะ 4
8. ฝีร้ายนั้นจะลามไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้อีก เช่น มะเร็งลาม หรือฝีมะเร็งลุกลามเคลื่อนไปที่อวัยวะอื่น
การเกิดมะเร็งตามความเชื่อทางการแพทย์แผนไทย เชื่อว่ามะเร็งเกิดจากเหตุดังนี้
1. กรรมปัจจุบัน (ปัจจุบันกรรม) ได้แก่ พฤติกรรม 8 ประการที่ไม่ดี มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ท�าให้
ร่างกายขาดสมดุลนาน การกินอาหารธาตุดินมากเกินไป ท�าให้ธาตุดินก�าเริบ (ฝาด หวาน มัน เค็ม) หรือกิน
เนื้อสัตว์มากไป ท�าให้กระเพาะอาหารท�างานหนัก มีการสะสมของของเก่ามาก จึงต้องขับถ่ายพิษออกก่อน ดังนั้น
สิ่งที่ต้องค�านึงถึงเมื่อรักษาโดยแพทย์พื้นบ้านและแพทย์แผนไทย คือ การปรับพฤติกรรมที่ฝืน และกินยาสมุนไพร
เพื่อถ่ายของเสียออก