Page 19 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 19

18       คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)



            ฤทธิ์เย็นมาเช็ด ถ้าร่างกายเย็นเกินหรือรู้สึกไม่สบายจากอาการเย็นเกินให้เช็ดตัวด้วยน�า้อุ่นหรือสมุนไพรฤทธิ์เย็น
            ผ่านไฟ หรือสมุนไพรฤทธิ์เย็นผสมฤทธิ์ร้อน หรือสมุนไพรฤทธิ์ร้อนอย่างเดียวตามแต่สภาพร่างกายและความรู้สึก
            สบายของผู้ป่วย
                    - รวมถึงการปรับสมดุลด้วยวิธีการอื่นๆ ที่ไม่รบกวนความสงบของผู้ป่วยมากจนเกินไป และสามารถลดทุกข์

            ทรมานหรือผู้ป่วยรู้สึกสบายกายสบายใจที่สุด


            ด้านจิตใจ
                    1) ให้ความรักความเห็นอกเห็นใจ คนไข้ส่วนใหญ่กลัวตาย กลัวถูกทอดทิ้ง กลัวที่จะตายอย่างอ้างว้าง กลัว
            สิ่งที่รออยู่ข้างหน้าหลังจากเสียชีวิต ความกลัวดังกล่าวสร้างความทุกข์ให้แก่ผู้ป่วยยิ่งกว่าความเจ็บป่วยทางกายด้วย
            ซ�้า ความรักและก�าลังใจจากลูกหลานรวมถึงผู้ดูแลเป็นสิ่งส�าคัญ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในยามนี้ซึ่งจะสามารถ
            ลดทอนความกลัวและช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นคงในจิตใจได้พึงระลึกว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นมีสภาพจิตใจที่เปราะ
            บางอ่อนแออย่างมาก เขาต้องการใครสักคนที่เขาสามารถพึ่งพาได้และพร้อมจะอยู่กับเขาในยามวิกฤต หากมีใครสัก
            คนที่พร้อมจะให้ความรักแก่เขาได้อย่างเต็มเปี่ยมหรือไม่มีเงื่อนไข เขาจะมีก�าลังใจเผชิญกับความทุกข์นานาประการ

            ความอดทน อดกลั้น เห็นอกเห็นใจ อ่อนโยนและให้อภัยไม่แสดงอาการขุ่นเคืองฉุนเฉียว ความสงบและความอ่อน
            โยนของเราจะช่วยให้ผู้ป่วยสงบนิ่งได้เร็วขึ้น
                    2) ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
                    การรู้ว่าวาระสุดท้ายของตนใกล้จะมาถึงช่วยให้ผู้ป่วยมีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจในขณะที่สังขารยังเอื้ออ�านวย
            อยู่ แต่มีผู้ป่วยจ�านวนมากที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่าตนเป็นโรคร้ายที่รักษาไม่หายและอาการได้ลุกลามถึงระยะสุดท้ายแล้ว
            การปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยปกปิดความจริงไม่ให้ผู้ป่วยรับรู้ย่อมท�าให้เขามีเวลาเตรียมตัวได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม
            การเปิดเผยความจริงซึ่งเป็นข่าวร้ายโดยไม่ได้เตรียมใจเขาไว้ก่อนก็อาจท�าให้เขามีอาการทรุดหนักกว่าเดิม โดยทั่วไป

            แพทย์จะมีบทบาทส�าคัญในเรื่องนี้โดยเฉพาะหลังจากที่ได้สร้างสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วย
            แล้ว แม้กระนั้นการท�าให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่ก�าลังจะเกิดขึ้นมักเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน คนรอบข้างทุก
            คนจะต้องมีความอดทนและพร้อมที่จะฟังความในใจจากผู้ป่วย
                    แต่บางครั้งญาติมักคิดว่าการปกปิดความจริงเป็นสิ่งที่ดีกว่า แต่จากประสบการณ์ 10 กว่าปี ที่ได้ดูแลผู้ป่วย
            ระยะสุดท้ายผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการให้เปิดเผยความจริงมากกว่าที่จะปกปิด และถึงจะปกปิดในที่สุดผู้ป่วยก็ย่อมรู้จน
            ได้จากการสังเกตอากัปกิริยาของลูกหลานญาติมิตรที่เปลี่ยนไป เช่น ใบหน้าที่ไร้รอยยิ้ม หรือจากเสียงพูดที่ค่อยลงหรือ
            จากการเอาอกเอาใจที่มีมากขึ้น
                    อย่างไรก็ตามเมื่อบอกข่าวร้ายแล้ว ใช่ว่าผู้ป่วยจะยอมรับความจริงได้ทุกคน สาเหตุอาจจะมีมากกว่าความ
            กลัวตาย เป็นไปได้ว่าเขามีภารกิจบางอย่างที่ยังคั่งค้างอยู่หรือมีความกังวลกับเรื่องบางเรื่อง ญาติมิตรควรช่วยให้เขา

            ได้เปิดเผยหรือระบายออกมาเพื่อบรรเทาและเยียวยา หากเขามั่นใจว่ามีคนที่พร้อมจะเข้าใจเขา เขาจะรู้สึกปลอดภัย
            ที่จะเผยความในใจออกมา ขณะเดียวกันการซักถามที่เหมาะสมอาจช่วยให้เขาระลึกรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ท�าให้เขามิอาจ
            ยอมรับความตายได้ ท�าให้เขาได้คิดขึ้นมาว่าความตายเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้และไม่จ�าต้องลงเอยเลวร้ายอย่างที่
            เขากลัว สิ่งที่ญาติมิตรพึงตระหนักในขั้นตอนนี้คือการรับฟังเขาด้วยใจที่เปิดกว้างและเห็นอกเห็นใจ พร้อมจะยอมรับ
            เขาตามความเป็นจริง และให้ความส�าคัญกับการซักถามมากกว่าการเทศนาสั่งสอน
                    3) ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
                    การนึกถึงสิ่งดีงามช่วยให้จิตใจเป็นกุศลและบังเกิดความสงบ ท�าให้ความกลัวคุกคามจิตใจได้น้อยลงและ

            สามารถเผชิญความเจ็บปวดได้ดีขึ้น สิ่งที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกมักแนะน�าให้ผู้ใกล้ตายปฏิบัติคือการระลึกถึง
            และมีศรัทธามั่นในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เราสามารถน้อมน�าให้ผู้ป่วยนึกถึงสิ่งที่ดีงาม
            ได้หลายวิธี เช่น น�าเอาพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตลอดจนภาพครูบาอาจารย์มาตั้งไว้ในห้องเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึง
            หรือชักชวนผู้ป่วยท�าวัตรสวดมนต์ร่วมกัน การอ่านหนังสือธรรมะให้ฟัง เปิดเทปบรรยายหรือบทสวด เป็นอีกวิธีที่ช่วย
            น้อมจิตของผู้ป่วยให้บังเกิดความสงบและความสว่าง การนิมนต์พระมาเยี่ยมและแนะน�าการเตรียมใจ ยิ่งเป็นพระที่
            ผู้ป่วยเคารพนับถือจะช่วยให้ก�าลังใจแก่เขาได้มาก อย่างไรก็ตามควรค�านึงถึงวัฒนธรรมและความคุ้นเคยของผู้ป่วย
            ด้วย
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24