Page 18 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 18

แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน  17



                    3. มีแนวโน้มจบชีวิตในเวลาอันสั้น
                    ทั้งนี้การประเมินอาจอาศัยประสบการณ์ของผู้ดูแล ความรู้สึกของผู้ป่วยเองว่าไม่ไหวแล้ว หรือ จากความเห็น
            ของแพทย์ผู้ดูแล แพทย์จะอาศัยการประเมินตามธรรมชาติการด�าเนินของโรค (Natural History of Disesae) ส่วน
            ความรู้สึกของผู้ป่วยว่าจะเสียชีวิต โดยส่วนมากจะเป็นจริงเมื่อใกล้เสียชีวิตมากๆ และ อาศัยการตรวจสัญญานชีพ

            ประกอบ
                    แนวโน้มจบชีวิตอันสั้น อาจเป็น 6 เดือน 3 เดือน 1 เดือน จนถึงไม่กี่ชั่วโมง หรือ ไม่กี่นาทีก็ได้แนวโน้ม
            เป็นนาที ดูที่สัญญาณชีพ และการควบคุมสติ เช่น ความดันโลหิตลดต�่าลงมากเรื่อยๆ การหายใจแบบเฮือก ชีพจร
            เบาหรือไม่พบชีพจร ความรู้สึกตัวลดลง การถ่ายหรือปัสสาวะราด เป็นต้น ซึ่งระยะสุดท้ายของผู้ป่วย อาจพบการ
            เปลี่ยนแปลงเป็นล�าดับ ทรุดลงทีละน้อย หรือ อาจทรุดลงจนเสียชีวิตในเวลาไม่กี่นาทีก็ได้
                      ในโรคมะเร็งท่อน�้าดี ในช่วงที่วินิจฉัยผู้ป่วยได้ มักจะมีพยากรณ์โรคอยู่ได้อีกประมาณ 6 เดือนหรือน้อยกว่า
            ตามสภาพที่พบ โดยธรรมชาติของโรค หลังการรักษามักไม่เปลี่ยนพยากรณ์โรค โดยส่วนมาก หลังการวินิจฉัยจึงมัก
            เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายเสมอ



            การดูแลผู้ป่วยระยะใกล้เสียชีวิต
            อาการแสดง
                    ในคนทั่วไปเมื่อใกล้เวลาที่จะเสียชีวิต (วางขันธ์) มักจะมีอาการร้อน (หยาง) น�าเด่นขึ้นมา ในทางพุทธศาสนา
            หรือแพทย์แผนไทยจะบอกว่าเป็นอาการไฟธาตุใกล้แตกดับ แล้วตามด้วยเย็น (หยิน) น�าเด่นตามมา คืออาการร้อน
            ที่สุดตีกลับเป็นเย็น
                    ตัวอย่างอาการร้อน (หยาง) น�าเด่น ได้แก่ สัญญาณชีพ (การหายใจ ชีพจร ความดันโลหิต อุณหภูมิ) แรง

            ผิดปกติและมักไม่สม�่าเสมอ เช่น หายใจหอบแรงเร็วผิดปกติ จังหวะไม่สม�่าเสมอ ชีพจรแรงเร็วผิดปกติจังหวะ
            ไม่สม�่าเสมอ ความดันโลหิตสูงผิดปกติ อุณหภูมิของร่างกายสูงผิดปกติ (บางครั้งอาจวัดด้วยปรอทไม่ผิดปกติ แต่ผู้ป่วย
            รู้สึกร้อนมากผิดปกติหรือเราสัมผัสดูจะรู้สึกร้อนผิดปกติ) มักมีอาการเพ้อ เบลอ หลงลืม กระสับกระส่าย ตาลอย
            ตาเหลือก แข็งเกร็ง ชักกระตุกตามร่างกายร่วมด้วย อาจเป็นเพียงบางอาการหรือหลายอาการร่วมด้วยก็ได้ หลังจากนั้น
            จึงจะตีกลับเป็นอาการเย็น (หยิน) น�าเด่น
                    ตัวอย่างอาการเย็น (หยิน) น�าเด่น ได้แก่ สัญญาณชีพผิดปกติจังหวะไม่สม�่าเสมอ เช่น หายใจช้าเบาผิดปกติ
            จังหวะไม่สม�่าเสมอ ชีพจรช้าเบาผิดปกติจังหวะไม่สม�่าเสมอ ความดันโลหิตต�่ากว่าปกติ อุณหภูมิของร่างกายเย็น
            ผิดปกติ (บางครั้งอาจวัดด้วยปรอทไม่ผิดปกติ แต่ผู้ป่วยรู้สึกเย็นมากผิดปกติหรือเราสัมผัสดูจะรู้สึกเย็นผิดปกติ) มักมี
            อาการบวมเย็นเขียวคล�้าตามปลายมือปลายเท้า ริมฝีปากหรือตามส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เคลื่อนไหวตัวได้น้อย

            พูดน้อย ตาลอย เบลอ หลงลืม อาจเป็นเพียงบางอาการหรือหลายอาการร่วมกันก็ได้
                    ถ้าเราไม่สามารถแก้ไขทั้งสองอาการได้ ผู้ป่วยก็จะเสียชีวิต บางคนอาจเสียชีวิต (วางขันธ์) ด้วยอาการร้อนเด่น
            บางคนอาจเสียชีวิต (วางขันธ์) ด้วยอาการเย็นเด่น บางคนอาจเสียชีวิต (วางขันธ์) ด้วยอาการร้อนและเย็นแทรก
            พร้อมกัน
                    กรณีผู้ปฏิบัติธรรมที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หรือผู้ที่ดูแลสุขภาพตัวเองได้ดี อาการก่อนวางขันธ์หรือเสียชีวิตจะ
            ต่างจากคนทั่วไป คืออาการก่อนวางขันธ์ทั้งร้อนและเย็นจะไม่เด่น ความทุกข์ทรมานมีน้อย บางครั้งมีอาการปกติเหมือน
            คนธรรมดา แต่เจ้าตัวจะรู้ว่าใกล้เวลาวางขันธ์แล้ว พลังชีวิตเริ่มลดลงแล้ว เรี่ยวแรงก�าลังจะค่อยๆ ลดลง ร่างกายจะ

            ค่อยๆ ลดการท�างานลง ลดการเคลื่อนไหวลง ค่อยๆ นิ่งสงบ แล้ววางขันธ์ด้วยความสงบสบาย
            การประเมินอาการผู้ป่วยระยะใกล้เสียชีวิต
                    การประเมินอาการผู้ป่วยระยะใกล้เสียชีวิตอาจใช้แบบประเมิน PPS, ESAS  หรือการสังเกตอาการแสดง
            ดังกล่าวแล้วข้างต้น เพื่อเตรียมการดูแลให้กับผู้ป่วยและญาติให้ดีที่สุดและทันเวลา
            การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะใกล้เสียชีวิตให้เผชิญความตายอย่างสงบ
            ด้านร่างกาย
                    - ลดความทุกข์ทรมานทางกายให้มากที่สุดเท่าที่จะท�าได้ อาจมีการนวดเบาๆ ใช้ผ้าชุบน�้าเย็นหรือสมุนไพร
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23