Page 13 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 13

12       คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)



                      ผู้ป่วยอาจใช้วิธีเขียนหนังสือแสดงเจตนา หรือแจ้งกับครอบครัว หรือทีมผู้ดูแล เพื่อสื่อสารความต้องการ
                      ของตนเอง
                    I = Individual Belief หมายถึง ความเชื่อของผู้ป่วยเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ความตาย หรือการเสียชีวิต ในส่วนนี้
            จะมีประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สิ่งที่ผู้ป่วยคิดว่าส�าคัญส�าหรับตัวผู้ป่วยเองมากที่สุดในการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ศาสนา

            ที่ผู้ป่วยและครอบครัวนับถือ ประสบการณ์ส่วนตัวของการเจ็บป่วย ความหมายของการเจ็บป่วย การวางแผน
            ช่วยเหลือผู้ป่วยด้านจิตใจ ควรเป็นการดูแลตามความเชื่อส่วนตัวของผู้ป่วยและครอบครัว โดยต้องระวังไม่น�าเอา
            ความเชื่อของทีมผู้ดูแลไปมีผลต่อวีธีการดูแลผู้ป่วย ในกรณีที่ทีมผู้ดูแลไม่ทราบเกี่ยวกับศาสนาหรือความเชื่อของผู้ป่วย
            ควรถามผู้ป่วยและครอบครัวโดยตรง หรือแนะน�าให้ปรึกษาผู้มีความรู้หรือผู้น�าทางศาสนาที่สามารถให้ค�าแนะน�า
            แก่ทีมได้ การซักประวัติที่สามารถน�าเข้ามาใช้ในการประเมินทางความคิดและจิตวิญญาณของผู้ป่วย
                    F = Function หมายถึง ระดับความสามารถในการท�ากิจวัตรประจ�าวัน หรือดูแลตนเองของผู้ป่วย ซึ่งการ
            ประเมินนี้อาจจะน�าเอาแบบประเมินต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น Palliative Performance Scale (PPS) เป็นต้น PPS
            เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินผู้ป่วยใน 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ ความสามารถในการเคลื่อนไหว การปฏิบัติกิจกรรม การท�า
            กิจวัตรประจ�าวัน การรับประทานอาหาร และระดับความรู้สึกตัว

                    E = Emotion and Coping หมายถึง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัวต่อการเจ็บป่วย รวมทั้งวิธี
            ที่ผู้ป่วยและครอบครัวใช้เผชิญกับความรู้สึกดังกล่าว ปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะมีการเปลี่ยนไปมาได้ระหว่าง
            การด�าเนินโรค การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารที่ดีระหว่างทีมผู้ดูแลกับผู้ป่วยและครอบครัว จะท�าให้ทีมผู้ดูแล
            เข้าใจผู้ป่วยและสมาชิกแต่ละคนในครอบครัวในแง่มุมต่างๆ ได้ดีขึ้น เช่น เข้าใจประสบการณ์และความรู้สึกต่อความ
            เจ็บป่วยที่เกิดขึ้น การยอมรับต่อตัวโรค วิธีการรับมือกับปัญหา การเปลี่ยนแปลงบทบาทต่างๆ ในครอบครัวหลังจาก
            ที่ผู้ป่วยมีอาการทรุดลง และสามารถช่วยประเมินได้ว่า ผู้ป่วยและครอบครัวต้องการความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง เพื่อ
            ให้สามารถเผชิญหน้ากับความตายได้อย่างสงบ นอกจากการดูแลดังกล่าวแล้ว ทีมผู้ดูแลควรให้ความส�าคัญต่อการ

            ประเมินภาวะความเศร้าโศกหลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิต เพื่อช่วยดูแลเรื่องการปรับตัวของสมาชิกครอบครัวที่เหลืออยู่
                    S = Symptoms หมายถึง ความไม่สุขสบายทางร่างกายและอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ อาการปวด (Pain)
            เบื่ออาหาร (Anorexia) ผอมแห้ง (Cachexia) หยุดหายใจหรือหายใจล�าบาก (Breathlessness/Dyspnea) คลื่นไส้
            อาเจียน (Nausea and Vomiting) อ่อนแรงหรือเหนื่อยล้า (Weakness/Fatigue) ปากแห้ง (Dry Mouth) ถ่ายเหลว
            หรือท้องผูก (Diarrhea/Constipation) และปัญหาของผิวหนัง เช่น เป็นแผล (Ulcers) ผื่นคัน (Pruritus) การประเมิน
            อาจจะใช้วิธีการซักถามประวัติ ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด หรือใช้แบบประเมินอาการ เช่น Edmonton
            Symptom Assessment System (ESAS) มีทั้งหมด 9 อาการ ประกอบไปด้วย อาการปวด (Pain) อาการเหนื่อย/
            อ่อนเพลีย (Tiredness) อาการคลื่นไส้ (Nausea) อาการซึมเศร้า (Depression) อาการวิตกกังวล (Anxiety) อาการ
            ง่วงซึม (Drowsiness) อาการเบื่ออาหาร (Loss of Appetite) ความสบายดีทั้งกายและใจ (Wellbeing) และอาการ

            เหนื่อยหอบ (Shortness of Breath) ระดับการวัดแต่ละอาการจะถูกแบ่งเป็นหมายเลข 0-10 โดยเลข 0 หมายถึง
            ไม่มีอาการและเลข 10 หมายถึง มีอาการมากที่สุด
                    S = Social and Support หมายถึง ปัญหาสุขภาพทางด้านสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนที่พึ่ง
            ของผู้ป่วยและครอบครัวในเวลาที่มีการเจ็บป่วย ในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง
            ทางครอบครัวอาจมีปัญหาเรื่องการเดินทางมารับยา หรือติดตามการรักษาที่โรงพยาบาล รวมทั้งปัญหาค่าใช้จ่าย
            ในการดูแลและรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น สมาชิกในครอบครัวบางคนอาจจ�าเป็นต้องหยุดงาน เพื่อใช้เวลาในการดูแล
            ผู้ป่วยที่บ้าน ปัจจัยเหล่านี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัวของผู้ป่วย ดังนั้นทีมผู้ดูแลควรให้ความ

            ส�าคัญในการประเมินปัญหาด้านสังคมและอาจจะปรึกษานักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นสมาชิกในทีมเข้าไปประเมินและ
            หาทางช่วยเหลือในประเด็นที่ผู้ป่วยและครอบครัวต้องการอย่างเหมาะสม ตลอดจนการช่วยน�าทรัพยากรหรือองค์กร
            ในชุมชนเข้ามาร่วมช่วยเหลือครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
                    ค�าว่า “LIFESS” นอกจากหมายถึงการดูแลชีวิตของผู้ป่วยไปจนถึงช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตแล้ว ยังครอบคลุม
            ถึงการดูแลชีวิตอีกหลายชีวิตที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยด้วย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ผู้ดูแลหลักและยัง
            ครอบคลุมถึงทีมที่เข้ามาช่วยกันดูแลผู้ป่วย
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18