Page 11 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 11
10 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
Evolution of The Palliative Care Model
แนวคิดเดิม
Curative Palliative
วินิจฉัยว่าเป็นโรค ใกล้ตาย ตาย
ผู้ป่วย
แนวคิดใหม่ Curative Palliative Bereavement
เริ่มมีอาการผิดปกติ วินิจฉัยว่าเป็นโรค ใกล้ตาย ตาย ความเศร้าโศกของญาติ
ผู้ป่วย
ครอบครัว
ผู้ดูแล
รูปภาพที่ 1. แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง
(Lynn & Adamson, 2003; World Health Organization, 2002)
เป้าหมายของการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
เป้าหมายของ Palliative Care คือ ความคาดการณ์การป้องกันและลดความทุกข์ทรมานและเพื่อการ
ประคับประคองสนับสนุนให้ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีมากที่สุดเท่าที่สามารถท�าได้ โดยสามารถ
ให้การดูแลแบบ Palliative Care ได้ในทุกระยะของโรคและสามารถท�าควบคู่กับการรักษาตัวโรค และควรให้
การดูแลแบบ Palliative Care เริ่มตั้งแต่มีการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อเนื่องตลอดการรักษาและการมีชีวิตอยู่
โดยเอื้อให้ผู้ป่วยได้สามารถดูแลตนเองได้ สามารถเข้าถึงข้อมูลและทางเลือกของการดูแลรักษา เป็นจุดเน้นหลักของ
การดูแลรักษาที่สอดคล้องกับทิศทางของโรค การมีชีวิตต่อในช่วงการรักษาที่ไม่ได้ผล และเป็นสิ่งที่ทีมต้องแจ้งแก่
ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับทราบและการดูแลเป็นแบบสหสาขา (กรมการแพทย์, 2559)
หลักการของการดูแลแบบประคับประคอง (Principles of palliative care) (เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี, 2553) มีดังนี้
- Centered at patient and family การให้ความส�าคัญกับผู้ป่วยและครอบครัวเป็นหลัก โดยค�านึงถึง
ประโยชน์สูงสุดของการรักษาบนพื้นฐานการตัดสินใจร่วมกันกับผู้ป่วยและครอบครัว เช่นเดียวกับหลักการของ
Patient-centered medicine
- Comprehensive การให้บริการครอบคลุมความต้องการทุกด้านของผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งด้านร่างกาย
จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ การให้ความส�าคัญต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วย เจตคติส่วนตัว การให้คุณค่าต่อ
สิ่งต่างๆ ความเชื่อ ศรัทธาทางศาสนา การใช้เครื่องช่วยชีวิตเมื่อเข้าสู่วาระสุดท้าย การเลือกสถานที่เสียชีวิต
การร่วมงานศพ และการช่วยเหลือครอบครัวหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว
- Coordinated การท�างานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ รวมไปถึงคนในครอบครัวของผู้ป่วยและชุมชน
ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์หลายสาขาทั้งแพทย์
เฉพาะทาง พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบาบัด นักจิตวิทยา ท�างานประสานกันและเข้าใจบทบาทของ
กันและกัน ครอบครัว ผู้ดูแล ญาติสนิทมิตรสหาย ก็เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความส�าคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทีมสาธารณสุข
ในฐานะผู้ร่วมดูแลและเป็นก�าลังใจที่ส�าคัญของผู้ป่วยรวมไปถึงความช่วยเหลือจากชุมชน ผู้น�าทางศาสนา สมาคม
และอาสาสมัครต่างๆ