Page 12 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 12
แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน 11
- Continuous มีความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยและประเมินผลอย่างสม�่าเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ผู้ป่วย
อยู่ในโรงพยาบาล กลับบ้าน หรือเสียชีวิตแล้ว ในความเป็นจริงไม่มีสูตรส�าเร็จที่เป็นค�าตอบที่ดีที่สุดส�าหรับผู้ป่วย
ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ครอบครัว สถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงต้องมีการประเมินผลเป็นระยะ เพื่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุดในการดูแลผู้ป่วยรายนั้น
หลักการอื่นๆ ที่ส�าคัญของการดูแลแบบประคับประคอง (Connor & Bermedo, 2014) ได้แก่
- ให้การบรรเทาความปวดและอาการที่ก่อให้เกิดความทุกข์ชนิดอื่น
- ค�านึงถึงการมีชีวิต และความตายให้เป็นไปตามกระบวนการปกติของธรรมชาติ ไม่ช่วยเร่งหรือเหนี่ยวรั้ง
การเสียชีวิต
- น�าเอาการดูแลด้านจิตใจ และจิตวิญญาณเข้ามารวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลผู้ป่วย
- จัดระบบสนับสนุนให้ผู้ป่วยด�ารงชีวิตที่สามารถพึ่งพาตนเองให้ได้นานที่สุดจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต
- จัดระบบสนับสนุนครอบครัวของผู้ป่วยให้สามารถเผชิญกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วยและความสูญเสีย
และพลัดพรากที่เกิดขึ้น
- ท�างานร่วมกันกับทีมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งการให้ค�าปรึกษาใน
ภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสีย และพลัดพราก
- ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และผลลัพธ์ด้านบวกอื่นๆ ตลอดช่วงเวลาของการป่วยไข้
- สามารถน�ามาปรับใช้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการป่วยไข้ร่วมกับการบ�าบัดชนิดอื่นๆ ที่มีความมุ่งหมาย
ในการคงชีวิตให้อยู่ยาวนาน อาทิเช่น เคมีบ�าบัด หรือรังสีรักษา และรวมถึงการตรวจสอบอื่นๆ ทาง
ห้องปฏิบัติการที่จ�าเป็นเพื่อให้ได้ถึงการเข้าใจและการบ�าบัดต่อภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์ที่ก่อให้เกิด
ความทุกข์ได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ได้มีการอธิบายเพิ่มเติมเพื่อชี้แจงลักษณะที่ครอบคลุมของการดูแลแบบประคับประคอง ให้เข้าใจ
ได้ชัดเจนมากขึ้น (Connor & Bermedo, 2014) ดังนี้
1. การดูแลแบบประคับประคองมีความจ�าเป็นทั้งในโรคเรื้อรังและภาวะที่มีการคุกคามต่อชีวิต
2. ไม่มีข้อจ�ากัดของเวลาหรือการพยากรณ์โรคในการให้การดูแลแบบประคับประคอง การให้การดูแลแบบ
ประคับประคองควรให้บนพื้นฐานของตามความต้องการ ไม่ใช่จากการวินิจฉัย หรือการพยากรณ์โรค
3. การดูแลแบบประคับประคองมีความจ�าเป็นในทุกระดับการดูแล
การประเมินการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองแบบองค์รวม
การดูแลผู้ป่วยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก คือ ร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม เพื่อให้ง่ายในการน�าไปปฏิบัติ
ส�านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (ส�านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2550) จึงสรุปเป็นตัวย่อของ
ประเด็นทางสุขภาพที่ควรประเมินในผู้ป่วย Palliative Care และครอบครัว โดยใช้ ค�าย่อว่า “LIFESS” ซึ่งมีความ
หมายของอักษรแต่ละตัว ดังนี้
L = Living Will หมายความรวมถึง การแสดงเจตนาของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายในการดูแลรักษา
(goal of care) และวิธีการดูแลหากมีอาการทรุดลง ในส่วนนี้ครอบคลุมถึงการแสดงเจตนาของผู้ป่วยในประเด็น
ต่างๆ ดังต่อไปนี้
- การให้ยาปฏิชีวนะหากมีการติดเชื้อ การให้เลือด การให้สารน�้าทางหลอดเลือด การใส่ท่ออาหาร การใส่
ท่อช่วยหายใจ หรือปั๊มหัวใจ เมื่อโรคทรุดลง
- บุคคลที่ผู้ป่วยมอบหมายให้ตัดสินใจเรื่องการดูแลรักษาพยาบาลแทนเมื่อผู้ป่วยป่วยหนักจนอาจจะไม่
สามารถตัดสินใจเองได้ (Power of Attorney หรือ POA)
- สถานที่ที่ผู้ป่วยต้องการได้รับการรักษาและเสียชีวิต (Place) เช่น บ้าน หรือโรงพยาบาล โดยอาจจะเป็น
สถานที่เดียวกัน หรือคนละที่ก็ได้
- สิ่งคั่งค้างที่ผู้ป่วยยังไม่ได้ท�า (Unfinished Business) หรือปรารถนาที่จะท�า (Wishes) ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่