Page 16 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 16
แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน 15
หน่อไม้ เป็นต้น โดยแบ่งการกินอาหารแสลงเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การกินอาหารไม่ถูกกับธาตุ เรียก “อชินธาตุ” และ
การกินอาหารไม่ถูกกับโรค เรียก “อชินโรค” คือ กลุ่มอาหารจ�าพวกนี้สามารถบ�ารุงร่างกาย บ�ารุงโรคและกระทบต่อ
ระบบธาตุ อาจท�าให้เกิดการก�าเริบ หย่อน พิการของธาตุต่างๆ ได้ ผลคือท�าให้เกิดอาการโรคก�าเริบแทรกซ้อน ซึ่งมี
ผลต่อระบบร่างกาย เช่น อาการจุกแน่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด เป็นไข้ หรือส่งผลให้แผลมีอาการก�าเริบและลุกลาม
มากขึ้น
การออกก�าลังกาย คือ ให้ผู้ป่วยออกก�าลังตามสภาพร่างกายของผู้ป่วยเองที่จะกระท�าได้ เช่น การยืดเหยียด
กล้ามเนื้อ หรือใช้ท่าฤาษีดัดตน เพื่อประโยชน์ในการรักษาและการผ่อนคลาย ผลช่วยลดอาการหดแกร็งของ
กล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือดลมเดินได้สะดวก และเป็นการรักษาโรคไปในตัวด้วย ในปัจจุบันมีการน�าท่าฤาษีดัดตนมา
ประยุกต์ใช้ หรือท่าต่างๆ ในหลากหลายศาสตร์ เช่น โยคะ ชี่กง เป็นต้น มาเป็นท่าการออกก�าลังกายของผู้ป่วย ซึ่ง
มีผลช่วยส่งเสริมสุขภาพ ช่วยลดความทุกข์ทรมานและท�าให้ร่างกายผู้ป่วยโดยรวมดีขึ้น ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น
ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ระบบการท�างานของอวัยวะต่างๆ ดีขึ้น มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย
จิตตานามัย
จิตตานามัย คือ การดูแลจิตใจและความรู้สึกของผู้ป่วย การแพทย์แผนไทยให้ความส�าคัญในด้านจิตใจของ
ผู้ป่วยเป็นหลัก กล่าวคือ มุ่งหวังให้ผู้ป่วยมีก�าลังใจที่จะต่อสู้กับอาการเจ็บป่วย การดูแลดุจเป็นญาติมิตรและการ
แวะเวียนกันมาเยี่ยมเยียนพูดคุยกับผู้ป่วยเสมอๆ จากบุคคลที่ผู้ป่วยรักและรู้จักคุ้นเคยนับถือ เมื่อถึงวาระสุดท้ายของ
ผู้ป่วย การให้ความรัก ความเข้าใจ และพิธีกรรมตามความเชื่อ ความศรัทธาซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีเพื่อ
สร้างขวัญและก�าลังใจให้ผู้ป่วย เป็นการสร้างความผาสุขทางจิตวิญญาณของผู้ป่วย
การสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้ใจสงบ การรับรู้วาระสุดท้ายของผู้ป่วยเป็นองค์ความรู้ดั้งเดิมตามภูมิปัญญา
ซึ่งมีกล่าวไว้ในคัมภีร์มรณญาณสูตร ญาติมิตรจะมาดูใจเป็นครั้งสุดท้าย การสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้ใจสงบ ความ
สงบใจและการปล่อยวางสิ่งค้างคาติดยึดในใจผู้ป่วยนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจ�าเป็นต้องมีบรรยากาศรอบตัวที่
เอื้ออ�านวย สิ่งที่ผู้ดูแลและญาติมิตรสามารถช่วยสร้างบรรยากาศแห่งความสงบได้ คือการรักษาจิตใจของตนให้ดี
ไม่เศร้าหมอง สลดหดหู่ งดเว้นการพูดคุยที่รบกวนผู้ป่วย งดการถกเถียงในหมู่ญาติพี่น้อง หรือร้องไห้ ซึ่งมีแต่จะเพิ่ม
ความวิตกกังวลและความขุ่นเคืองใจแก่ผู้ป่วย เพราะสภาวะจิตของคนรอบตัวนั้นสามารถส่งผลต่อบรรยากาศและ
ต่อจิตใจของผู้ป่วยได้
นอกจากนี้ การน้อมน�าให้ผู้ป่วยระลึกถึงบุญกุศล คุณความดี ความภูมิใจในความดีที่ตนกระท�าและมั่นใจ
ในอานิสงส์แห่งความดีเป็นสิ่งส�าคัญส�าหรับผู้ป่วย ในยามที่ตระหนักชัดว่าทรัพย์สินเงินทองต่างๆ ที่สะสมมานั้น
ตนไม่สามารถจะเอาไปได้ มีแต่บุญกุศลคุณงามความดีเท่านั้นที่จะพึ่งพาได้ในภพหน้า โดยขั้นตอนนี้จะกระท�าตามความเชื่อ
ความศรัทธาของผู้ป่วยในแต่ละศาสนา โดยอิงสังคมของครอบครัว คือ ให้ผู้ป่วยได้อยู่กับคนที่เป็นที่รัก ให้ความอบอุ่น
ในช่วงการเปลี่ยนถ่ายของจิตวิญญาณ กล่าวคือ มีการดูใจ สั่งเสีย ลดและตัดความกังวลของผู้ป่วย มีการกล่าวค�า
อันเป็นมงคล ทบทวนกุศลคุณงามความดีที่เคยท�ามา หรือ สวดมนต์ให้ผู้ป่วยมีจิตใจที่สงบตามความต้องการของ
ผู้ป่วย ซึ่งมีหลากหลายวิธีที่จะให้คนอันเป็นที่รักจากไปอย่างสงบ
ชีวิตานามัย
ชีวิตานามัย คือ การด�าเนินชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ดี สถานที่พักอาศัยโปร่งสะอาด สภาพแวดล้อมรอบบ้าน
มีต้นไม้ มีบรรยากาศร่มรื่น มีอาหารสะอาด ซึ่งศาสตร์การแพทย์แผนไทยให้ความส�าคัญเรื่องอาหารที่ไม่สมควรบริโภค
คือ อาหารบูดเน่า อาหารดิบ ในปัจจุบันอาจรวมถึงอาหารที่ก่อให้เกิดโรค เช่น การตกค้างหรือปนปื้นสารเคมีต่างๆ
ของหมักดอง และอาหารที่ปรุงไม่ได้มาตรฐานต่างๆ ซึ่งผู้ดูแลหรือญาติจะดูแลตามสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว
นั้นๆ ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของผู้ดูแล ส่วนมากญาติมิตรจะจัดให้ดีที่สุดเท่าที่ท�าได้เพื่อคนที่ตนรัก
การประเมินอาการและการจัดการอาการ
การประเมินอาการผู้ป่วยระยะท้ายทางการพทย์แผนไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่มี
อาการทุกข์ทรมาณจากโรคที่เป็นและอาการไม่สุขสบายต่างๆ เช่น มะเร็งท่อน�้าดีและมะเร็งตับ ผู้ป่วยจะมีอาการ
ปวดเสียดชายโครงขวาและด้านหลัง ท้องอืดจุกเสียดในช่องท้อง อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหารกินอาหารได้น้อยลง