Page 21 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 21

20       คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)



            ซึ่งจะเพิ่มความวิตกกังวลและความขุ่นเคืองใจให้ผู้ป่วย เพียงแค่ญาติมิตรพยายามรักษาจิตใจตนเองให้ดี ไม่เศร้า
            หมอง สลดหดหู่ ก็สามารถช่วยผู้ป่วยได้มาก เพราะสภาวะจิตของคนรอบตัวนั้นสามารถส่งผลต่อบรรยากาศและ
            ต่อจิตใจของผู้ป่วยได้ จิตของเรานั้นละเอียดอ่อนสามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้ แม้จะไม่พูดออกมาก็ตาม
                    นอกจากนั้นลูกหลานญาติมิตรยังสามารถสร้างบรรยากาศแห่งความสงบได้ด้วยการชักชวนผู้ป่วยร่วมกัน

            ท�าสมาธิภาวนา เช่น อาณาปานสติ หรือการเจริญสติด้วยการก�าหนดลมหายใจ พุท-โธ หรือถ้าไม่สะดวกก�าหนด
            ลมหายใจเข้า-ออก ก็ก�าหนดพอง-ยุบก็ได้ การชักชวนให้ผู้ป่วยท�าวัตรสวดมนต์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างบรรยากาศ
            แห่งความสงบและน้อมจิตของผู้ป่วยให้เป็นกุศลได้ แม้แต่การเปิดเพลงบรรเลงเบาๆ ก็มีประโยชน์ในทางจิตใจต่อ
            ผู้ป่วยด้วยเช่นกัน
                    7) กล่าวค�าอ�าลา
                    ส�าหรับผู้ที่อยากเปิดเผยความในใจให้ผู้ป่วยรู้ เช่น ขอโทษหรือกล่าวค�าอ�าลาเขายังไม่สายเกินไปที่จะบอก
            กล่าวกับเขา มีเด็กคนหนึ่งอายุ 9 ขวบ อยู่ในขั้นโคม่าใน ไอ.ซี.ยู หายใจเฮือกๆ ทั้งๆ ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ อาการนี้
            เป็นมา 2-3 วัน ซึ่งทั้งแพทย์และพยาบาล ก็สงสัยว่าท�าไมคนไข้ยังไม่จากไป เด็กคนนี้มีพ่อ-แม่ เฝ้าอยู่ พ่อ-แม่
            เมื่อถึงเวลาเยี่ยมก็จะเข้ามาจับตัวลูกและร้องไห้คร�่าครวญไม่ให้ลูกจากไป แต่หลังจากที่พยาบาลไปแนะน�าให้ตั้งสติ

            และเชื่อเรื่องจิตสุดท้ายที่เป็นกุศลจะไปสู่สุคติ พ่อแม่เด็กก็เข้าไปเยี่ยมลูกจับตัวลูกและพูดกับลูกว่าพ่อแม่รักลูกนะ
            พ่อแม่ภูมิใจมากในตัวลูก ลูกเป็นเด็กดี พ่อแม่ไม่อยากเห็นลูกทุกข์ทรมานอีกต่อไป ฉะนั้นหากลูกจะจากไปก็จากไปเถิด
            เมื่อพ่อแม่กล่าวจบลูกชายก็ค่อยๆ มีอาการสงบลงและเสียชีวิตไปอย่างสงบ
                    ขณะที่ผู้ป่วยก�าลังจากไปและสัญญาณชีพอ่อนลงเป็นล�าดับ หากลูกหลานญาติมิตรปรารถนาจะกล่าวค�าอ�าลา
            ขอให้ตั้งสติระงับความโศกเศร้า จากนั้นให้กระซิบข้างหูพูดถึงความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อเขา ชื่นชมและขอบคุณในคุณงาม
            ความดีของเขาที่ได้กระท�าพร้อมทั้งขอขมาในกรรมใดๆ ที่ได้เคยล่วงเกิน จากนั้นก็น้อมน�าจิตผู้ป่วยให้เป็นกุศลยิ่งขึ้น
            โดยแนะน�าให้เขาปล่อยวางสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย อย่าได้มีความเป็นห่วงกังวลใดๆ อีกเลย ให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยและ

            หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขานับถือ หากผู้ป่วยมีพื้นฐานทางด้านธรรมะก็ขอให้เขาปล่อยวางความส�าคัญมั่นหมายในตัวตน
            และสังขารทั้งปวง น้อมจิตไปสู่ “ความดับไม่เหลือ” ตั้งจิตจดจ่อในพระนิพพาน จากนั้นก็กล่าวค�าอ�าลา.




                    (2) การดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองแบบบูรณาการ
                    โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส�าคัญของประเทศ และเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากรไทย
            เนื่องจากมะเร็งมีหลายชนิด และแต่ละชนิดมีอาการและการดูแลรักษาแตกต่างกันไปตามสาเหตุของมะเร็งชนิดนั้นๆ
            โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีอุบัติการณ์โรคมะเร็งท่อน�้าดีสูงที่สุดในโลก และผู้ป่วยส่วนใหญ่จะ

            รู้ตัวเมื่อมีอาการแสดงของโรคในระยะลุกลามแล้ว การรักษาที่เป็นไปเพื่อยืดชีวิตอาจเพิ่มความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วย
            อย่างมาก การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) แบบบูรณาการศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์
            แผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือก จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัวและ
            ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยเมื่อระยะสุดท้ายมาถึง ในคู่มือเล่มนี้จึงขอกล่าวถึง “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งมะเร็ง
            ท่อน�้าดีและมะเร็งตับแบบประคับประคองแบบบูรณาการ” เพื่อเป็นแนวทางในการน�าไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
            กับผู้ป่วยและบริบทของสังคมต่อไป



            มะเร็งท่อน�้าดีและมะเร็งตับ
            การแพทย์แผนปัจจุบัน
                    “มะเร็ง” ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หมายถึง เนื้องอกชนิดร้ายเกิดขึ้นเพราะเซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
            ควบคุมไม่ได้ แล้วแทรกตามเนื้อเยื่อข้างเคียง และสามารถหลุดจากแหล่งเริ่มต้นไปแบ่งตัวเพิ่มจ�านวนที่บริเวณอื่นได้
            รักษาไม่ค่อยหาย เพราะส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อโรคลุกลามไปแล้ว ซึ่งการวินิจฉัยโรคมะเร็งในการแพทย์
            แผนปัจจุบันตัดสินด้วยการตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อทราบลักษณะเซลล์และลักษณะการแบ่งตัวของ
            เซลล์ที่มากกว่าปกติ โดยทั่วไป จ�านวนจะเพิ่มเป็น 2 เท่าใช้เวลาประมาณ 100 วัน เมื่อเพิ่มได้ 1,000,000 เซลล์มี

            ขนาดเท่าจุดปลายปากกา ก็สามารถแพร่กระจายได้ ดังนั้นเมื่อพบว่ามีก้อนมะเร็งเมื่อไร ก็แสดงว่ามีการกระจายไปแล้ว
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26