Page 20 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 20
แนวคิด หลักการ องค์ความรู้พื้นฐาน 19
นอกจากนี้เรายังสามารถน้อมใจผู้ป่วยให้เกิดกุศลด้วยการชักชวนให้ท�าบุญถวายสังฆทาน บริจาคทรัพย์เพื่อ
การกุศล และที่ขาดไม่ได้ก็คือชวนให้ผู้ป่วยระลึกถึงความดีที่ตนเองได้บ�าเพ็ญในอดีต ซึ่งไม่จ�าเป็นต้องหมายถึงการ
ท�าบุญกับพระหรือศาสนาเท่านั้น แม้การเลี้ยงดูลูกๆ ให้เป็นคนดี เสียสละ ดูแลพ่อแม่ด้วยความรัก ซื่อตรงต่อคู่ครอง
เอื้อเฟื้อต่อมิตรสหาย หรือสอนศิษย์อย่างไม่เห็นแก่เหนื่อยยาก เหล่านี้ล้วนเป็นบุญกุศลหรือความดีที่ช่วยให้เกิดความ
ปิติปลาบปลื้มแก่ผู้ป่วยและบังเกิดความมั่นใจว่าตนจะได้ไปสุขคติ
4) ช่วยปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ
เมื่อผู้ป่วยรู้ว่าวาระสุดท้ายของชีวิตใกล้มาถึง สิ่งหนึ่งที่จะท�าความทุกข์ใจและท�าให้ไม่อาจตายอย่างสงบได้คือ
ความรู้สึกค้างคาใจในบางสิ่งบางอย่าง สิ่งนั้นอาจได้แก่ ภารกิจการงานที่ยังคั่งค้าง ทรัพย์สินที่ยังแบ่งสรรไม่แล้วเสร็จ
ความน้อยใจในคนใกล้ชิด ความโกรธแค้นใครบางคนหรือความรู้สึกผิดในใจมานาน ความปรารถนาที่จะพบคนบางคน
เป็นครั้งสุดท้าย โดยเฉพาะคนที่ตนรักหรือคนที่ตนปรารถนาจะขออโหสิกรรม ความห่วงกังวลหรือความรู้สึกไม่ดี
ที่ค้างคาใจเป็นสิ่งที่ควรได้รับการปลดเปลื้องอย่างเร่งด่วน หาไม่แล้วจะท�าให้ผู้ป่วยทุรนทุรายหนักอกหนักใจ พยายาม
ปฏิเสธผลักไสความตาย และตายอย่างไม่สงบ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงความทุกข์อย่างมากแล้ว ในทางพุทธศาสนา
เชื่อว่าจะส่งผลให้ผู้ตายไปสู่ทุคติด้วย แทนที่จะเป็นสุคติ
ลูกหลานและผู้ดูแลควรใส่ใจและฉับไวกับเรื่องดังกล่าว บางครั้งผู้ป่วยไม่พูดตรงๆ ผู้อยู่รอบข้างควรมีความ
ละเอียดอ่อนและสอบถามด้วยความใส่ใจและเมตตา ไม่รู้สึกร�าคาญ ในกรณีที่เป็นภารกิจที่ยังคั่งค้างควรหาทาง
ช่วยเหลือให้ภารกิจนั้นเสร็จสิ้น ในยามนี้ไม่ใช่เวลาที่จะประณามหรือตัดสินเขา หากควรช่วยเหลือให้เขาปลดเปลื้อง
ความรู้สึกผิดออกไป เช่น ที่อโรคยศาลวัดค�าประมง หลวงตาปพนธ์พัชรจะให้ผู้ป่วยได้มีกิจกรรมบิณฑบาตรความทุกข์
โดยการเขียนความในใจใส่ในย่ามหลวงตา เป็นการระบายความทุกข์อย่างหนึ่งที่ผู้ดูแลสามารถรู้ความในใจของ
ผู้ป่วยได้
การขอโทษหรือขอขมานั้น ไม่จ�าเป็นต้องเจาะจงเฉพาะบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ได้ เพราะคนเราอาจกระท�าการ
ล่วงเกินหรือเบียดเบียนใครต่อใครโดยไม่ได้เจตนาหรือโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเพื่อให้รู้สึกสบายใจและไม่ให้มีเวรกรรมต่อกัน
อีก ญาติมิตรควรแนะน�าผู้ป่วยให้กล่าวค�าขอขมาต่อผู้ที่เคยมีเวรกรรมต่อกันหรือขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวร
ทั้งหลายที่เคยล่วงเกินกันมา ทางด้านญาติมิตรก็เช่นกันในขณะที่ผู้ป่วยยังรับรู้ได้ควรกล่าวค�าขอขมาต่อผู้ป่วยนี้
เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยกล่าวค�าให้อภัยหรือให้อโหสิกรรมต่อญาติมิตรได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่
ลูกหลานหรือญาติๆ อาจร่วมกันท�าพิธีขอขมาโดยประชุมพร้อมกันที่ข้างเตียงและให้มีตัวแทนเป็นผู้กล่าว เริ่มจากการ
กล่าวถึงคุณงามความดีของผู้ป่วย บุญคุณที่มีต่อลูกหลาน จากนั้นก็กล่าวค�าขอขมาขออโหสิกรรมใดๆ ที่ล่วงเกิน เป็นต้น
5) ช่วยให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
การปฏิเสธความตาย ขัดขืนไม่ยอมรับความจริงที่อยู่เบื้องหน้า เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ในผู้ป่วยระยะ
สุดท้าย และเหตุที่ขัดขืนดิ้นรนก็เพราะยังยึดติดกับบางสิ่งบางอย่างไม่สามารถพรากจากสิ่งเหล่านั้นได้ ซึ่งอาจ
จะได้แก่ลูกหลาน คนรัก พ่อแม่ ทรัพย์สมบัติ หน้าที่การงาน หรือโลกทั้งโลกที่ตนคุ้นเคย ความรู้สึกยึดติดอย่าง
แน่นหนานี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้กับคนที่มิได้มีความรู้สึกผิดค้างคาใจ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมท�าให้เกิดความกังวลควบคู่
กับความกลัวที่จะต้องพลัดพรากสิ่งอันเป็นที่รักเหล่านั้น ญาติมิตรและผู้ดูแลตลอดจนเจ้าหน้าที่ต่างๆ ควรช่วยให้
เขาได้ปล่อยวางให้มากที่สุด เช่นให้ความมั่นใจแก่เขาว่าลูกหลานสามารถดูแลตนเองได้ หรือพ่อแม่ของเขาจะได้รับ
การดูแลอย่างดีหรือเตือนสติแก่เขาว่าทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของเขาเพียงชั่วคราว เมื่อถึงเวลาก็ต้องให้คนอื่นดูแลต่อไป
แนะน�าให้ผู้ใกล้ตายระลึกและศรัทธาในพระรัตนตรัย ละความห่วงใยในสิ่งต่างๆ เช่น พ่อแม่ บุตร ภรรยา ซึ่งสิ่งเหล่านี้
หากยังยึดติดอยู่จะเหนี่ยวรั้งจิตใจท�าให้ขัดขืนฝืนความตายทุรนทุรายจนวาระสุดท้าย ดังนั้นเมื่อความตายมาถึง
ไม่มีอะไรดีกว่าการปล่อยวางทุกสิ่งแม้กระทั่งตัวตน
6) สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ
ความสงบใจและการปล่อยวางสิ่งค้างคาใจในผู้ป่วยจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้นั้น จ�าเป็นต้องมีบรรยากาศ
รอบตัวที่เอื้ออ�านวยด้วย ในห้องที่พลุกพล่านผู้คนเข้าออกมีเสียงพูดคุยตลอดเวลา หรือมีเสียงเปิดปิดประตูทั้งวัน
ผู้ป่วยย่อมยากที่จะประคองจิตให้เป็นกุศลและเกิดความสงบได้ สิ่งนี้ญาติมิตรผู้ดูแลจะสามารถช่วยได้ คือ ช่วยสร้าง
บรรยากาศแห่งความสงบ งดเว้นการพูดคุยที่รบกวนผู้ป่วย งดการถกเถียงกันในหมู่ญาติพี่น้องหรือร้องห่มร้องไห้