Page 17 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 17

16       คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)



            กินอาหารแล้วอาเจียน กลืนอาหารล�าบาก มีไข้ต�่าๆ ไม่สบายตัว ตะครั่นตะครอปวดเมื่อยเนื้อตัว มีไข้ ตัวร้อน มือเท้าเย็น
            ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง ฝ่ามือฝ่าเท้าลอก คันตามผิวหนังทั่วตัว อาการสะอึกต่อเนื่อง นอนไม่หลับ
            มีอาการปวดจุกเสียดช่องท้องและหลัง จะมีอาการแสดงออกมากช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนถึงเช้า และผู้ป่วยจะมีอารมณ์
            หงุดหงิดโมโหง่าย วิตกกังวลซึมเศร้า กรณีผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังนานๆ จะมีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย อาการขัด

            ปัสสาวะ อุจจาระ แพทย์ต้องตรวจวินิจฉัยโรคและอาการลุกลามก�าเริบของโรค เพื่อให้ทราบถึงสภาวะการเจ็บป่วย
            ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อวางแผนการดูแลรักษา และแก้ปัญหาต่างๆ ของผู้ป่วย
                    การจัดการอาการแบบการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
            แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ร่างกาย จิตใจ และ จิตวิญญาณ
                    -  ด้านร่างกาย ใช้ยาบ�าบัดทุเลาอาการตามที่ผู้ป่วยเป็น เพื่อลดความทุกข์ทรมานจากอาการป่วย
                    -  ด้านจิตใจ การดูแลด้านจิตใจเพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้ป่วย เช่น ถ้าผู้ป่วยมีความท้อแท้สิ้นหวัง
                      ในใจ การจัดการคือให้ค�าปรึกษาพูดคุย เสริมสร้างก�าลังใจผู้ป่วย
                    -  ด้านจิตวิญญาณ มุ่งเน้นในเรื่องความเชื่อความศรัทธาในศาสนา และการปฏิบัติตามความเชื่อ เพื่อเป็น
                      สิ่งยึดเหนี่ยว เป็นขวัญและก�าลังใจผู้ป่วย

                    สิ่งที่ผู้ดูแลทุกฝ่ายควรให้ความส�าคัญ คือ ท�าอย่างไรที่จะท�าให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างดีที่สุด ควรค่าแก่
            การเป็นมนุษย์มากที่สุด และสามารถเผชิญความตายได้อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ได้ในที่สุด โดยผู้ป่วยควร
            ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอในด้านต่างๆ ดังนี้
                    -  การจัดการอาการ ความไม่สุขสบาย ความเจ็บป่วยทางกาย โดยเฉพาะการจัดการความเจ็บปวด การดูแล
                      ให้ผู้ป่วยสามารถอยู่หรือทนกับความเจ็บปวดได้มากที่สุด
                    -  ความทุกข์ทรมานด้านจิตใจ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักเกิดความรู้สึกกลัว ไม่อยากจากครอบครัว หรือบุคคล
                      อันเป็นที่รัก จึงเกิดเป็นความทุกข์ทรมานทางใจ

                    -  ความทุกข์ทรมานด้านจิตวิญญาณ
                    -  ปัญหาทางครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม
                    การช่วยให้ผู้ป่วยและญาติมีความพร้อมที่จะเผชิญความสูญเสียจากการตายได้อย่างสงบ ผู้ป่วยและญาติควร
            ได้รับข้อมูลที่เพียงพอในเรื่องต่างๆ ดังนี้
                    -  เหตุการณ์ที่ต้องเผชิญ (การด�าเนินโรคและการพยากรณ์โรค)
                    -  แนวทางการรักษาและการจัดการดูแลแบบบูรณาการการแพทย์แบบผสมผสาน
                    -  ให้โอกาสในการปฏิบัติตามค่านิยมและความเชื่อต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม


            การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

                    การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะต้องค�านึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วยด้วยหลักการของการดูแล
            รักษาแบบประคับประคองแบบบูรณาการ คือ การดูแลแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ
            การควบคุมความปวดและอาการอื่นๆ  ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ ความไม่สบาย ท�าให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลและใช้เวลา
            ไปกับการเฝ้าระวังหรือกลัวว่าอาการนั้นจะเกิดขึ้น รวมถึงเป็นการกีดกันการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือความ
            สัมพันธ์กับบุคคลอื่น ซึ่งต่างก็มีศักยภาพในการท�าให้ชีวิตมีความหมายและมีความพึงพอใจระหว่างช่วงสุดท้ายของชีวิต



            การประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้าย
                   การประเมินว่าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีความส�าคัญที่เมื่อเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายแล้ว เป้าหมายของการดูแล
            จะเปลี่ยนจากการรักษาเพื่อหวังผลหายหรือทุเลา เป็นการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมาน และเสียชีวิตอย่างสงบ
            หลักการประเมินนั้น ไม่จ�าเป็นต้องเป็นแพทย์ชี้ขาดเสมอไป อาจมาจากการประเมินของผู้ดูแลหรือผู้ป่วยเองก็ได้ โดย
            มีแนวทางดังนี้
                    1. ไม่สามารถรักษาให้ดีขึ้น หรือให้หายได้
                    2. สภาพความเจ็บป่วยทรุดลงเรื่อยๆ
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22