Page 15 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 15

14       คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)



                    ผู้ดูแลจึงจ�าเป็นต้องมีทักษะในการดูแล การสื่อสาร การเข้าถึงและเข้าใจผู้ป่วย ท�าให้ผู้ป่วยเปิดใจ ยอมรับ
            และไว้วางใจ ผู้ดูแลจะสามารถสื่อสารกับผู้ป่วยได้ทุกๆ เรื่องที่ค้างคาใจ ความกลัว ความกังวล ความห่วงที่มีอยู่ในใจ
            ผู้ป่วย เพื่อปลดเปลื้องสิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ในจิตใจผู้ป่วย ซึ่งต้องอาศัยเวลาและความแตกต่างกันในการ
            ดูแลผู้ป่วยแต่ละราย ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมีการยอมรับ และปรับตัวตามค�าแนะน�าของผู้ดูแลแล้ว อาจเกิดการปฏิเสธ

            ต่อค�าแนะน�าเป็นระยะๆ สาเหตุอาจเกิดการลุกลามของโรคหรือมีอาการมากขึ้น จนเกิดความทรมานมากขึ้น ผู้ป่วย
            จะเริ่มต่อต้านค�าแนะน�าได้ ผู้ดูแลต้องหมั่นพูดคุยและมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย เพื่อลดความกลัว
            ความกังวลต่ออาการเจ็บป่วย โดยน้อมน�าเอาหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้เป็นธรรมโอสถในการบ�าบัดรักษาเยียวยา
            ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ พร้อมที่จะเผชิญหน้าและแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติปัญญาในการ
            ด�ารงชีวิต ยอมรับความจริงของชีวิต ยอมรับสภาวะธรรมที่เป็นความจริงในกฎไตรลักษณ์ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
            ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติ


            หลักการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองแบบบูรณาการ

                    การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองตามหลักการแพทย์แผนไทย โดยรวมถือว่าเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิม
            ของสังคมไทย เป็นวัฒนธรรมและประเพณีที่ด�าเนินสืบต่อกันมาแต่โบราณ ในต�าราการแพทย์แผนไทยไม่ได้กล่าวถึง
            การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ไว้อย่างชัดเจนหรือจัดแยกไว้เป็นหมวดหมู่เฉพาะทาง แต่มีกล่าวถึง
            การดูแลสุขภาพและการรักษาอาการเจ็บป่วยแบบองค์รวม ตั้งแต่การเกิด สาเหตุการเกิดโรค การดูแลสุขภาพโดย
            รวม การบ�าบัดรักษาโรคต่างๆ การรับรู้วาระสุดท้ายของผู้ป่วย จนถึงสิ้นสุดของชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วย
            ระยะสุดท้ายแบบประคับประคองแบบบูรณาการ โดยใช้หลัก “ธรรมมานามัย” ได้แก่ กายานามัย จิตตานามัย และ
            ชีวิตานามัย ดังนี้


            กายานามัย
                    กายานามัย ประกอบด้วยยา / อาหาร / การออก�าลังกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย การรักษาด้วยยาสมุนไพร
            ที่ถูกต้องกับโรคภัย  อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย  การเคลื่อนไหวออกก�าลังร่างกาย  ซึ่งการดูแลในอดีตจะเป็น
            หมอพื้นบ้านเป็นหลัก และคนในครอบครัวจะช่วยกันดูแล จัดยาและอาหารให้แก่ผู้ป่วย และคอยดูแลขยับตัวบีบนวด
            ให้มีการผ่อนคลาย โดยมีรายละเอียดดังนี้
                    ยา การใช้ยาสมุนไพรในการดูแลรักษาแบบประคับประคองตามหลักการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การให้ยา

            ตามอาการ ตามสภาพร่างกายของผู้ป่วยที่จะรับยาได้ การใช้ยาอย่างถูกต้องตามโรคและอาการของโรคของผู้ป่วย
            ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความช�านาญของแพทย์ผู้ดูแลรักษาและสภาะของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วย
            ระยะสุดท้าย มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อน แพทย์ผู้ให้การรักษาต้องมีความเข้าใจระบบการใช้ยาและสภาวะจิตใจ
            ผู้ป่วยด้วย
                    การวิเคราะห์วินิจฉัยโรคผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีการเปลี่ยนแปลงของอาการต่างๆ ได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลจาก
            อุตุ (อากาศ ฤดู) อายุ (ธาตุตามอายุ) กาล (เวลา ที่มีความสัมพันธ์กับกองธาตุ) การก�าเริบของโรค โดยรวมเรียกว่า
            โรคแทรกโรคตาม โดยประเมินจากการสังเกตุและซักถามอาการจากผู้ป่วย น�ามาประมวลวินิจฉัยการด�าเนินของโรค
            เพื่อให้การรักษาโดยให้ยาแก้อาการไม่สุขสบาย ลดอาการที่ก่อความทุกทรมาน ทั้งนี้การวินิจฉัยและการรักษาโดย
            ให้ยาที่ไม่ตรงอาการโรคในแพทย์แผนไทยเรียกว่า “อชินโรค” ซึ่งมีผลต่อการรักษาและเป็นสาเหตุให้อาการเจ็บป่วย

            ทวีความรุนแรงมากขึ้นได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็น “อติสัยโรค” (โรคที่มีอาการตัด คือหมดทางรักษา) การรักษาจะให้ยา
            ตามอาการแบบประคับประคองเพื่อลดความทุกข์ทรมานในผู้ป่วย โดยจะไม่แทรกแซงอาการด้วยการใช้ยาที่มีความ
            เข็มข้นในการรักษา ที่เป็นการเหนี่ยวรั้งความตายจนเกินกว่าเหตุ ซึ่งผลมักก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยและ
            อาจส่งผลในกระบวนการจากไปอย่างไม่สงบของผู้ป่วยได้
                    อาหาร การรักษาโรคทางแพทย์แผนไทยให้ความส�าคัญกับ “อาหาร” กล่าวคือ อาหารมีทั้งคุณและโทษ
            ในช่วงการรักษาจะให้งดอาหารบางประเภทที่มีผลต่อการรักษา หรือที่เรียกว่า “อาหารแสลง” คือ กลุ่มอาหารที่มี
            ผลต่อการทวีความรุนแรงของโรค ยกตัวอย่าง อาหารจ�าพวกเนื้อสัตว์ ผักผลไม้บางชนิด อาหารของหมักดองต่างๆ
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20